สภาพอากาศร้อนแล้งต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ต่อเดือนเมษายนที่อุณหภูมิทั่วไทยลดลง อากาศแปรปรวน เกิดหนาวเย็นฉับพลันและฝนตกมากในบางพื้นที่ จากอิทธิพลของความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกําลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน
ความแปรปรวนของสภาพอากาศ บางวันร้อนถึงร้อนจัด ซ้ำมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง สลับกับอากาศหนาวเย็นเช่นนี้ ส่งผลโดยตรงต่อสัตว์เลี้ยง ทั้งหมู ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ที่ไม่สามารถปรับตัวกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ จึงกระทบต่อการให้ผลผลิตและอัตราเสียหายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์มากขึ้น
“ไก่ไข่” กระทบร้อน ผลผลิตลด ไข่เล็ก เสียหายหนัก
ไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อช่วยระบายความร้อน และยังมีขนปกคลุมยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการระบายความร้อนออกจากร่างกาย เมื่ออุณหภูมิสูง 26-32 องศาฯ แม่ไก่จะกินอาหารลดลง กินน้ำมากขึ้น เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกาย แม่ไก่เกิดความเครียดสะสม การกินอาหารน้อยทำให้สารอาหารที่ได้ไม่เพียงพอต่อการสร้างฟองไข่ ผลผลิตไข่ไก่จึงลดลง ขนาดฟองไข่ที่ได้เล็กลง
หากอากาศร้อนจัดแม่ไก่จะเริ่มแสดงอาการหอบ อ้าปากหายใจแรงขึ้นเพื่อระบายความร้อน ทำให้ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบ และยังทำให้สูญเสีย CO2 ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการสร้างไข่ ส่งผลให้คุณภาพเปลือกไข่ด้อยลง สีซีด เปลือกบางลง แตกร้าวเสียหายง่ายขึ้น ปริมาณผลผลิตที่ลดลง คุณภาพไข่ไก่ที่ต่ำลง ไข่เสียหายมากขึ้น รวมถึงตัวแม่ไก่ที่เสียหายจากกรณีไข่แตกในท้อง ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนสูงขึ้น เพราะมีตัวหารน้อยลง และไข่ฟองเล็กเกษตรกรจึงขายไข่ได้เฉพาะไข่คละกลางและคละเล็ก ราคาขายที่ได้จะต่ำลง รายได้จึงลดลงตามไปด้วย
ความร้อนที่เพิ่มขึ้นมีผลต่ออัตราการกินน้ำของแม่ไก่ด้วย โดยอุณหภูมิในโรงเรือนที่ 18-25 องศาเซลเซียส สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารของแม่ไก่จะอยู่ที่ 1.8-2.0 เท่าของอาหารที่กินได้ หากอากาศร้อนขึ้น สัดส่วนการกินน้ำอาจเพิ่มขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า 2.6 เท่าของอาหารที่กินได้ เท่ากับต้องใช้น้ำในการเลี้ยงไก่มากขึ้น
อากาศร้อน “ไก่เนื้อ” เครียดกินอาหารน้อย โตช้า ต้นทุนสูง
ไก่เนื้อที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิดมักพบปัญหา การกินอาหารน้อยลงจากความเครียดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ไก่โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานขึ้น มีอัตราป่วยและเปอร์เซ็นต์ตายเพิ่มขึ้น เกษตรกรต้องเน้นการเลี้ยงไม่ให้มีปริมาณหนาแน่นเกินไป มีการจัดการเพื่อลดความร้อนให้กับโรงเรือนเลี้ยง เช่น สเปรย์น้ำบนหลังคา ควบคู่กับการเปิดพัดลมระบายอากาศนานขึ้น ในกรณีร้อนจัดต้องตัดสินใจลงเลี้ยงไก่ให้บางกว่าช่วงปกติ
กรณีเลี้ยงไก่ในโรงเรือน EVAP ที่สามารถลดอุณหภูมิในโรงเรือนได้ดีกว่า แต่ก็จำเป็นต้องปรับสภาพอากาศภายในให้เหมาะสม ทั้งการเปิดน้ำหล่อเลี้ยงระบบความเย็นและเปิดพัดลมระบายอากาศตลอดเวลา และต้องระวังความชื้นและก๊าซแอมโมเนียในโรงเรือน และสิ่งสำคัญที่สุดคือน้ำ ที่ต้องจัดเตรียมไว้อย่างเพียงพอตลอดเวลา น้ำต้องสะอาด เกษตรกรต้องลงทุนปรับคุณภาพน้ำให้เหมาะสม และเพิ่มต้นทุนการเสริมวิตามินอิเล็กโตรไลท์ หรือโปแตสเซียมคลอไรด์ ที่มีรสเค็มเล็กน้อยเพื่อช่วยกระตุ้นการกินน้ำ ช่วยให้ระบายความร้อนจากร่างกายได้ดีขึ้น
“หมู” ร้อนแม่อุ้มท้องเสียหาย หมูขุนโตช้า
หมูเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ จึงระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยการหอบหายใจ อาการนี้หากเกิดในแม่หมูอุ้มท้อง อาจทำให้เกิดการแท้ง หรือลูกตายในท้อง มีลูกมัมมี่มากขึ้น อัตราเข้าคลอดต่ำ ลูกแรกคลอดน้อยลง แม่เครียดจากอากาศส่งผลให้การเลี้ยงลูกได้ต่ำลง อาจเกิดอาการน้ำนมแห้ง ลูกอุจจาระเหลว ส่วนลูกหมูที่รอดจะอ่อนแอ น้ำหนักหย่านมต่ำ เมื่อนำไปเลี้ยงเป็นหมูอนุบาลหรือหมูขุน อัตราการเจริญเติบโต (ADG) จะต่ำ อากาศร้อนจัดทำให้หมูอยู่ไม่สบาย จึงกินอาหารได้น้อยลง ส่งผลให้อัตราแลกเนื้อ (FCR) แย่ลง และอัตราเสียหายมักสูงขึ้นตามไปด้วย
อากาศร้อนรุนแรง ส่งผลให้หมูเนื้อที่เข้าสู่ตลาดมีน้ำหนักลดลงตัวละประมาณ 3-5 กิโลกรัม น้ำหนักที่หายไปกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร และมีผลโดยตรงต่อปริมาณเนื้อหมูที่ขายในท้องตลาด ซึ่งเป็นเหตุผลให้ราคาหมูค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ ตามปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดน้อยลง เมื่อผนวกกับความต้องการบริโภคที่สูงขึ้นในช่วงนี้เทศกาลสงกรานต์ด้วยแล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่ราคาหมูจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด
ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดจากอากาศร้อนแล้ง ที่มีผลต่อต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้น ยังไม่นับต้นทุนอื่นๆ ทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้นทุกวัน ซึ่งเกษตรกรต้องแบกรับอยู่ในขณะนี้ และค่าน้ำใช้ที่จำเป็นต้องซื้อเพิ่มในช่วงวิกฤตแล้ง และต้องมีการลงทุนปรับคุณภาพน้ำด้วย รวมถึงค่าไฟในการทำความเย็นด้วยระบบ EVAP ค่าน้ำมันสำหรับเดินมอเตอร์พัดลมท้ายโรงเรือน การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อเปิดพัดลมในเล้าช่วยระบายอากาศ
วันนี้ผู้บริโภคอย่างเรา รวมถึงภาครัฐ ต้องเห็นความจริงเรื่องต้นทุนและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศ และทำความเข้าใจเรื่องราคาสินค้าเกษตรว่ามีขึ้น-มีลง “ตามกลไกตลาด” ที่มีความต้องการบริโภคและปริมาณผลผลิตเป็นตัวกำหนด และต้องไม่ลืมว่ากว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ให้เราได้รับประทานนั้น ย่อมมีต้นทุน ต้องใช้เวลา มีความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ และเกษตรกรต้องทุ่มเทกับอาชีพ เพื่อสร้างอาหารที่เพียงพอสำหรับผู้บริโภค
บทความโดย : รัฐพล ศรีเจริญ นักวิชาการอิสระ
ความแปรปรวนของสภาพอากาศ บางวันร้อนถึงร้อนจัด ซ้ำมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง สลับกับอากาศหนาวเย็นเช่นนี้ ส่งผลโดยตรงต่อสัตว์เลี้ยง ทั้งหมู ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ที่ไม่สามารถปรับตัวกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ จึงกระทบต่อการให้ผลผลิตและอัตราเสียหายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์มากขึ้น
“ไก่ไข่” กระทบร้อน ผลผลิตลด ไข่เล็ก เสียหายหนัก
ไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อช่วยระบายความร้อน และยังมีขนปกคลุมยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการระบายความร้อนออกจากร่างกาย เมื่ออุณหภูมิสูง 26-32 องศาฯ แม่ไก่จะกินอาหารลดลง กินน้ำมากขึ้น เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกาย แม่ไก่เกิดความเครียดสะสม การกินอาหารน้อยทำให้สารอาหารที่ได้ไม่เพียงพอต่อการสร้างฟองไข่ ผลผลิตไข่ไก่จึงลดลง ขนาดฟองไข่ที่ได้เล็กลง
หากอากาศร้อนจัดแม่ไก่จะเริ่มแสดงอาการหอบ อ้าปากหายใจแรงขึ้นเพื่อระบายความร้อน ทำให้ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบ และยังทำให้สูญเสีย CO2 ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการสร้างไข่ ส่งผลให้คุณภาพเปลือกไข่ด้อยลง สีซีด เปลือกบางลง แตกร้าวเสียหายง่ายขึ้น ปริมาณผลผลิตที่ลดลง คุณภาพไข่ไก่ที่ต่ำลง ไข่เสียหายมากขึ้น รวมถึงตัวแม่ไก่ที่เสียหายจากกรณีไข่แตกในท้อง ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนสูงขึ้น เพราะมีตัวหารน้อยลง และไข่ฟองเล็กเกษตรกรจึงขายไข่ได้เฉพาะไข่คละกลางและคละเล็ก ราคาขายที่ได้จะต่ำลง รายได้จึงลดลงตามไปด้วย
ความร้อนที่เพิ่มขึ้นมีผลต่ออัตราการกินน้ำของแม่ไก่ด้วย โดยอุณหภูมิในโรงเรือนที่ 18-25 องศาเซลเซียส สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารของแม่ไก่จะอยู่ที่ 1.8-2.0 เท่าของอาหารที่กินได้ หากอากาศร้อนขึ้น สัดส่วนการกินน้ำอาจเพิ่มขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า 2.6 เท่าของอาหารที่กินได้ เท่ากับต้องใช้น้ำในการเลี้ยงไก่มากขึ้น
อากาศร้อน “ไก่เนื้อ” เครียดกินอาหารน้อย โตช้า ต้นทุนสูง
ไก่เนื้อที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิดมักพบปัญหา การกินอาหารน้อยลงจากความเครียดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ไก่โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานขึ้น มีอัตราป่วยและเปอร์เซ็นต์ตายเพิ่มขึ้น เกษตรกรต้องเน้นการเลี้ยงไม่ให้มีปริมาณหนาแน่นเกินไป มีการจัดการเพื่อลดความร้อนให้กับโรงเรือนเลี้ยง เช่น สเปรย์น้ำบนหลังคา ควบคู่กับการเปิดพัดลมระบายอากาศนานขึ้น ในกรณีร้อนจัดต้องตัดสินใจลงเลี้ยงไก่ให้บางกว่าช่วงปกติ
กรณีเลี้ยงไก่ในโรงเรือน EVAP ที่สามารถลดอุณหภูมิในโรงเรือนได้ดีกว่า แต่ก็จำเป็นต้องปรับสภาพอากาศภายในให้เหมาะสม ทั้งการเปิดน้ำหล่อเลี้ยงระบบความเย็นและเปิดพัดลมระบายอากาศตลอดเวลา และต้องระวังความชื้นและก๊าซแอมโมเนียในโรงเรือน และสิ่งสำคัญที่สุดคือน้ำ ที่ต้องจัดเตรียมไว้อย่างเพียงพอตลอดเวลา น้ำต้องสะอาด เกษตรกรต้องลงทุนปรับคุณภาพน้ำให้เหมาะสม และเพิ่มต้นทุนการเสริมวิตามินอิเล็กโตรไลท์ หรือโปแตสเซียมคลอไรด์ ที่มีรสเค็มเล็กน้อยเพื่อช่วยกระตุ้นการกินน้ำ ช่วยให้ระบายความร้อนจากร่างกายได้ดีขึ้น
“หมู” ร้อนแม่อุ้มท้องเสียหาย หมูขุนโตช้า
หมูเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ จึงระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยการหอบหายใจ อาการนี้หากเกิดในแม่หมูอุ้มท้อง อาจทำให้เกิดการแท้ง หรือลูกตายในท้อง มีลูกมัมมี่มากขึ้น อัตราเข้าคลอดต่ำ ลูกแรกคลอดน้อยลง แม่เครียดจากอากาศส่งผลให้การเลี้ยงลูกได้ต่ำลง อาจเกิดอาการน้ำนมแห้ง ลูกอุจจาระเหลว ส่วนลูกหมูที่รอดจะอ่อนแอ น้ำหนักหย่านมต่ำ เมื่อนำไปเลี้ยงเป็นหมูอนุบาลหรือหมูขุน อัตราการเจริญเติบโต (ADG) จะต่ำ อากาศร้อนจัดทำให้หมูอยู่ไม่สบาย จึงกินอาหารได้น้อยลง ส่งผลให้อัตราแลกเนื้อ (FCR) แย่ลง และอัตราเสียหายมักสูงขึ้นตามไปด้วย
อากาศร้อนรุนแรง ส่งผลให้หมูเนื้อที่เข้าสู่ตลาดมีน้ำหนักลดลงตัวละประมาณ 3-5 กิโลกรัม น้ำหนักที่หายไปกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร และมีผลโดยตรงต่อปริมาณเนื้อหมูที่ขายในท้องตลาด ซึ่งเป็นเหตุผลให้ราคาหมูค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ ตามปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดน้อยลง เมื่อผนวกกับความต้องการบริโภคที่สูงขึ้นในช่วงนี้เทศกาลสงกรานต์ด้วยแล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่ราคาหมูจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด
ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดจากอากาศร้อนแล้ง ที่มีผลต่อต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้น ยังไม่นับต้นทุนอื่นๆ ทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้นทุกวัน ซึ่งเกษตรกรต้องแบกรับอยู่ในขณะนี้ และค่าน้ำใช้ที่จำเป็นต้องซื้อเพิ่มในช่วงวิกฤตแล้ง และต้องมีการลงทุนปรับคุณภาพน้ำด้วย รวมถึงค่าไฟในการทำความเย็นด้วยระบบ EVAP ค่าน้ำมันสำหรับเดินมอเตอร์พัดลมท้ายโรงเรือน การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อเปิดพัดลมในเล้าช่วยระบายอากาศ
วันนี้ผู้บริโภคอย่างเรา รวมถึงภาครัฐ ต้องเห็นความจริงเรื่องต้นทุนและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศ และทำความเข้าใจเรื่องราคาสินค้าเกษตรว่ามีขึ้น-มีลง “ตามกลไกตลาด” ที่มีความต้องการบริโภคและปริมาณผลผลิตเป็นตัวกำหนด และต้องไม่ลืมว่ากว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ให้เราได้รับประทานนั้น ย่อมมีต้นทุน ต้องใช้เวลา มีความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ และเกษตรกรต้องทุ่มเทกับอาชีพ เพื่อสร้างอาหารที่เพียงพอสำหรับผู้บริโภค
บทความโดย : รัฐพล ศรีเจริญ นักวิชาการอิสระ