xs
xsm
sm
md
lg

BGE รุกพลังงานปลอดคาร์บอน ตอกย้ำผู้นำ 'พลังงานหมุนเวียน' ขยายบทบาทสู่ภาคการศึกษา ช่วยเหลือสังคม ดูแลสิ่งแวดล้อม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากสถานการณ์ "วิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน" อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้อุณหภูมิภายในโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ฤดูกาลทั่วโลกเปลี่ยนไปไม่ตรงตามฤดูกาล และแน่นอนว่าความต้องการใช้ "พลังงานไฟฟ้า" จะขยายตัวตามขนาดของเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ การเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและบริการ จำนวนประชากร และด้วยความวิตกกังวลเกี่ยวกับมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ทุกประเทศมีฉันทามติ ร่วมลงนามพันธสัญญาตามข้อตกลง COP26 จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส

ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ได้เข้ามามีส่วนสำคัญอย่างมาก ในเรื่องของนวัตกรรมเกี่ยวกับการสร้าง "พลังงานหมุนเวียน" ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในการนำเอาพลังงานหมุนเวียนเข้ามาทดแทนในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งให้ผลลัพธ์ของพลังงานสะอาดบริสุทธิ์และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศไทย ผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ได้รวมพลังในการกำหนดนโยบายลดภาวะโลกร้อน เพื่อสร้างความสมดุลของธรรมชาติให้คงอยู่ และทำให้เกิดความคุ้มค่าและสร้างความมั่นคงต่อองค์กร สังคม และต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว


เฉกเช่น BGE (บีจีอี) หรือ บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด ธุรกิจในเครือบริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BG (บีจี) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2560 หนึ่งในผู้นำที่มีความโดดเด่นและเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากความมุ่งหวังนำพลังงานเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงอีกหนึ่งในข้อได้เปรียบของภูมิศาสตร์ประเทศไทย คือ ที่ตั้งที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ตลอดปี นั่นจึงเหมาะกับการสร้างและผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองได้อย่างเต็มที่

และหากมองถึงธุรกิจของ BGE แล้ว แต่ละธุรกิจมุ่งตอบสนองต่อการทดแทนและชดเชยการใช้พลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy), พลังงานลม (Wind Energy), พลังงานน้ำ (Hydro Power), พลังงานชีวภาพ ชีวมวล (Bio Mass Energy) และธุรกิจพลังงานความร้อนจากแหล่งใต้พิภพและพลังงานความร้อนทิ้ง (Geothermal & Waste Heat Recovery) เหล่านี้ล้วนเป็นพลังงานสะอาดทั้งสิ้น

เห็นได้ว่าธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เป็น 1 ใน 5 แกนธุรกิจสำคัญ ที่สามารถตอบสนองต่อแนวทางการสร้างสรรค์พลังงานหมุนเวียนให้กระจาย และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สร้างความเท่าเทียมอย่างทั่วถึง และด้วยวิวัฒนาการของการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ ทำให้ต้นทุนการใช้ไฟฟ้าลดลง ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้และติดตั้งโซล่าเซลล์ขยายเป็นวงกว้าง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม โรงงาน ธุรกิจบริการ ธุรกิจการเกษตร และที่สำคัญเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้รายย่อยและชุมชนที่อยู่ห่างไกล




ไม่เพียงแต่การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม BGE ยังดำเนินตามนโยบายในการช่วยเหลือสังคมและชุมชนอย่างรอบด้านของบริษัทแม่ หรือ BG ในฐานะผู้ประกอบการในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ที่เห็นถึงความสำคัญของพลังงานไฟฟ้า ที่มีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษาของประเทศ จึงได้สนับสนุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบบนหลังคา (Solar Rooftop) ให้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดผ่องพลอยวิริยาราม เพื่อประโยชน์ด้านสาธารณูปโภคสำหรับอาคารที่ใช้เป็นสถานที่ศึกษาทางพระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรมของสามเณร เป็นการสร้างบุญกุศลให้กับทุกฝ่ายที่ร่วมทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ซึ่งการใช้พลังงานสะอาด ถือเป็นส่วนช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ การติดตั้ง Solar Rooftop ดังกล่าว มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 30.15 kWp ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง เฉลี่ย 15-20% ต่อเดือน ทำให้ทางโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 15,000 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 177,400 บาทต่อปี

และเหนืออื่นใด ถึงแม้ในปัจจุบันตัวเลือกด้านการผลิตไฟฟ้าจะมีมากขึ้น แต่ภายใต้การดำเนินธุรกิจของ BGE ยังคงยึดมั่นในการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และช่วยเหลือสังคม ในการร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนตลอดไป




กำลังโหลดความคิดเห็น