กางผลสำรวจบิ๊ก ส.อ.ท. 70.7% หนุนไทยก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero ปี ค.ศ. 2065 รับเป็นประเด็นท้าทายการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ลดฟอสซิลและการจัดหาพลังงานสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยภาคพลังงานและขนส่งเป็นภาคสำคัญสุด กังวลมาตรการดังกล่าวดันต้นทุนพุ่ง
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 13 ในเดือนธันวาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “พร้อมหรือไม่? กับเป้าหมาย Net Zero” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท.เห็นด้วยกับเป้าหมายของประเทศไทยในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) โดยมองว่าการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและการจัดหาพลังงานสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล จะเป็นประเด็นท้าทายของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ซึ่งภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้ระเบียบวิธีการที่มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ เพื่อให้เกิดการใช้กลไกตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับรายละเอียดจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 160 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 13 จำนวน 7 คำถาม ดังนี้ 1. ภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นอย่างไรกับเป้าหมายของประเทศ ในการเป็น Carbon Neutrality ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) และ Net Zero ภายในปี 2065 (พ.ศ. 2608) อันดับที่ 1 : เห็นด้วย 70.7% อันดับที่ 2 : ควรขยายเป้าหมายออกไปอีก 5-10 ปี 16.2%อันดับที่ 3 : ควรปรับเป้าหมายให้เร็วขึ้น 13.1% 2. ภาคอุตสาหกรรมมีความพร้อมในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตหรือไม่ เพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่ Carbon Neutrality อันดับที่ 1 : อยู่ระหว่างศึกษา คิดเป็น72.5% อันดับที่ 2 : มีความพร้อมดำเนินการได้ทันที 17.5%อันดับที่ 3 : ยังไม่มีความพร้อม10.0%
3. ปัจจัยใดจะช่วยส่งเสริมให้กลไกตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตและแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการเป็น Carbon Neutrality อันดับที่ 1 : ระเบียบวิธีการที่มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ 73% และไม่ซับซ้อน อันดับที่ 2 : มาตรการหรือสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต72.5% เช่น มาตรการด้านการเงิน อันดับที่ 3 : การพัฒนากลไกตลาดและมาตรฐานการซื้อขายคาร์บอนเครดิต 68.1% ของประเทศให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล อันดับที่ 4 : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอยู่ในระดับที่เหมาะสม 66.9%
4. ประเด็นท้าทายของไทยในการบรรลุเป้าหมาย Net Zero อันดับที่ 1 : การปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และการจัดหา 75.0% พลังงานสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล อันดับที่ 2 : นโยบาย กฎระเบียบ และมาตรการจูงใจที่สนับสนุน 72.5% การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) อันดับที่ 3 : เทคโนโลยี/นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ รวมทั้งเทคโนโลยีกักเก็บ66.9% และการนำคาร์บอนไปใช้ประโยชน์ (CCUS) ที่มีราคาเหมาะสมอันดับที่ 4 : การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักของผู้บริโภคเพื่อให้ความสำคัญ62.5% กับผลิตภัณฑ์/บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5.ภาคส่วนใดที่มีส่วนสำคัญที่สุดในการทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย Net Zero อันดับที่ 1 : ภาคพลังงานและขนส่ง50.0% อันดับที่ 2 : ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ 29.4% อันดับที่ 3 : ภาคการจัดการของเสีย 11.3% อันดับที่ 4 : ภาคเกษตรกรรม 9.3% 6. ภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัวมากน้อยเพียงใดจากเป้าหมาย Net Zero อันดับที่ 1 : ต้องปรับตัวเพราะเป็นโอกาสทางธุรกิจ 55.0% อันดับที่ 2 : ต้องปรับตัวบ้าง 24.4% อันดับที่ 3 : ต้องปรับตัวอย่างมากเพราะได้รับผลกระทบโดยตรง 20.6%
7. ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อการปฏิบัติตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเรื่องใด อันดับที่ 1 : กฎระเบียบใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ 68.8% อันดับที่ 2 : ต้นทุนทางการเงินในการปรับปรุงกระบวนการผลิต 68.8% เพื่อลดการปล่อย GHG และราคาพลังงานทดแทนอาจสูงขึ้น อันดับที่ 3 : มาตรการและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ59.4% เช่น CBAM, การติดฉลากคาร์บอน อันดับที่ 4 : มาตรฐานการคำนวณและรับรองคาร์บอนเครดิตที่มีความแตกต่างกัน51.2%