xs
xsm
sm
md
lg

เดอะมอลล์แก้แบบ “บางแค-บางกะปิ”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการรายวัน 360 - เดอะมอลล์เดินหน้าตามแผนเดิม 5 ปีปรับใหญ่สู่ไลฟ์สโตร์ด้วยงบ 2 หมื่นล้านบาท แต่ต้องปรับรูปแบบและโมเดลของสาขาที่เหลือ คือบางแค และบางกะปิ ใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์โรคโควิดที่เกิดขึ้น

นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องทำการปรับรุูปแบบและปรับโมเดลของสาขาบางกะปิ และบางแค ที่จะปรับโฉมใหญ่ครั้งใหม่ เนื่องจากรูปแบบเดิมได้ออกแบบและวางแผนเมื่อช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่เกิดโควิด แต่เมื่อเกิดโควิดแล้วทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้ชีวิต พฤติกรรมการลงทุนของร้านค้า รวมทั้งสถานการณ์ต่างๆ ที่รายล้อม เราคงต้องทำการศึกษาในรายละเอียดใหม่อีก เพื่อให้ทุกอย่างมีความสอดคล้องและสอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

อย่างไรก็ตาม นายจักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานห้างสรรพสินค้า กล่าวว่า เดอะมอลล์ยังคงเดินหน้าไปตามแผนงาน 5 ปีที่เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว 2563 ที่ตั้งงบประมาณรวมไว้กว่า 20,000 ล้านบาทในการปรับปรุงพลิกโฉมครั้งใหญ่เพื่อให้เป็นเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ซึ่งเริ่มไปแล้ว
2 สาขา คือ งามวงศ์วาน ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท และล่าสุดสาขาท่าพระ ใช้งบกว่า 3,000
ล้านบาท ซึ่งยังเหลืออีกประมาณ 11,000 ล้านบาทโดยประมาณเพื่อใช้ในการปรับใหม่อีกตามแผน คือ
อีก 3 สาขาที่เหลือ บางแค บางกะปิ และนครราชสีมา ที่จะเริ่มได้ปีหน้า ส่วนงบดังกล่าวนี้ไม่นับรวมสาขาอื่น เช่นที่รามคำแหง หัวหมาก เป็นต้น

“คอนเซ็ปต์การปรับโฉมครั้งใหม่ให้เป็นไลฟ์สโตร์ที่มากกว่าศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า เพราะจะเป็นสถานที่ที่ผู้บริโภคจะมาใช้ชีวิตในศูนย์ฯ ของเรา ช่วงแรกนี้ยังไม่โฟกัสที่ยอดรายได้มากนัก แต่จะทำอย่างไรที่จะดึงคนเข้าศูนย์ฯ เราให้มากที่สุด และใช้เวลาในศูนย์ฯ เราได้นานขึ้น จากเดิมประมาณ 1
ชั่วโมง 8 นาทีโดยเฉลี่ย โดยสาขางามวงศ์วานตั้งเป้าทราฟฟิกเป็น 60,000 คนต่อวัน ส่วนท่าพระที่เพิ่งเปิดก็เป็น 40,000 คนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ซึ่งที่ท่าพระนี้ประมาณ 1.2 ล้านคนต่อเดือน หรือประมาณ 15 ล้านคนต่อปี”

นางสาวอัญชลี พัฒนอนันต์สุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการขายและบริหารงานศูนย์การค้า กล่าวว่า บริษัทยังคงดูแลและช่วยเหลือร้านค้าเช่าอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีบ้างที่ร้านค้าต้องปิดตัวลงไปเหมือนกับร้านในศูนย์การค้าอื่นเป็นเรื่องปกติ แต่ก็เริ่มมีการกลับมาเปิดบริการกันแล้ว มีรายใหม่เข้ามาเปิดด้วย อัตราการใช้พื้นที่อยู่ที่ประมาณ 85% ในขณะนี้

ช่วงนี้ร้านค้าก็ต้องปรับตัวศึกษารูปแบบการลงทุนว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้พื้นที่ใหญ่ๆ เหมือนในอดีตแล้ว

สำหรับ “เดอะมอลล์ ท่าพระ” ปรับสู่ “เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ท่าพระ” เป็นสาขาที่ 2 ภายใต้แนวคิด “A
HAPPY PLACE TO LIVE LIFE : ชีวิตที่มีความสุขทุกครอบครัว” ซึ่งเป็น Success รีเทลโมเดลใหม่
“NEW HYBRID RETAIL FOR URBAN LIVING” สำหรับการปรับโฉมของเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์
ท่าพระ ครั้งนี้ถือเป็นการรีโนเวตครั้งใหญ่ในรอบ 32 ปี หลังจากที่เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2532 โดยทุ่มงบประมาณ 3,000 ล้านบาทพลิกโฉมใหม่ทั้งหมดทุกพื้นที่ ทุกองค์ประกอบ ทุกแนวคิดการออกแบบ
เพื่อเป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตของทุกคนในที่เดียว บนพื้นที่รวมกว่า 150,000 ตารางเมตร ชูการออกแบบตกแต่งภายใต้คอนเซ็ปต์ “URBAN PLAYGROUND” สร้างพื้นที่แห่งความสนุก สุขทุกการใช้ชีวิตสำหรับทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะกิน ชอป ชิล หรือเอนเตอร์เทนเมนต์ครบจบที่เดียว เพื่อคุณภาพชีวิตที่สุข สนุกกว่าเดิม โดยตั้ง Positioning ว่า “LIVE A PLAYFUL LIFE ท่าพระ ท่าใหม่ ไลฟ์สไตล์สนุก”

“เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ท่าพระ” มีจุดแข็งของทำเลที่มีเสน่ห์ของย่านเมืองเก่า วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคน
ในชุมชนย่านฝั่งธนฯ ผสมผสานกับการขยายตัวของเส้นทางคมนาคมรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ 2 ฝั่งเมือง ไม่ว่าจะเป็นย่านรัชดาภิเษก พระราม 3-ราชพฤกษ์ สาทร ถือเป็นทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพสูง มีประชากรกว่า 1,200,000 คน 600,000 ครัวเรือน กว่า 120 โครงการคอนโดมิเนียม ทั้งคนรุ่นใหม่ คนทำงาน ครอบครัวที่มีไลฟ์สไตล์ทันสมัยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ท่าพระถือเป็นแลนด์มาร์กศูนย์การค้าที่สำคัญและอยู่คู่กับชาวฝั่งธนฯ มานานกว่า 32 ปี 

จากข้อมูลความแข็งแกร่งของ Big Data จาก Customer Platform และการใช้เทคโนโลยี AI- Analytics ขั้นสูง ทำให้เราได้ข้อมูลจากลูกค้าที่มาเดินในห้างฯ รวมทั้งฐานข้อมูลจากสมาชิกบัตร
M Card กว่า 4.7 ล้านคน สมาชิกบัตร SCB M กว่า 1 ล้านคน ตลอดจนฐานข้อมูลลูกค้าจากพันธมิตรบัตรเครดิต ทำให้เราเข้าใจ CUSTOMER SHOPPING JOURNEY ของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง สามารถนำข้อมูลที่ได้นั้นมาวางคอนเซ็ปต์การออกแบบศูนย์การค้า ตลอดจนการคัดสรรสินค้า สร้างสรรค์บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลโดยเฉพาะเปลี่ยนแปลงไปหมด ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้ชีวิต พฤติกรรมการลงทุนของร้านค้า รวมทั้งสถานการณ์ต่างๆ ที่รายล้อม เราคงต้องทำการศึกษาในรายละเอียดใหม่อีก เพื่อให้ทุกอย่างมีความสอดคล้องและสอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่


กำลังโหลดความคิดเห็น