ผู้จัดการรายวัน 360 - GFC เผยนักวิทยาศาสตร์สังกัดคลินิกและนักวิทยาศาสตร์ไทยสอบผ่านจำนวน 42 คน สอบผ่านรับรองด้าน CLINICAL EMBRYOLOGY CERTIFICATION จากสมาคมด้านการเจริญพันธุ์และการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแห่งยุโรป เดินหน้าลงทุนเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ ขยายสาขาเพิ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าจากลาว และเวียดนาม
รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศิริราชและประธานกรรมการบริหาร เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (GFC) เปิดเผยว่า GFC ในฐานะที่ปรึกษาและศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่เปิดดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 5 ซึ่งมีบริการของ GFC ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อการมีบุตร การให้คำปรึกษาไปจนถึงบริการทำบุตรจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ เช่น ไอวีเอฟ ผสมเทียม การทำเด็กหลอดแก้ว โดย GFC มีกลุ่มแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ เข้าถึงง่าย
ล่าสุด GFC มุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญระดับสากล นับเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจที่ นางสาวนัทธ์ชนก ชัยกิตติ์พิภัทร์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (GFC) สามารถสอบผ่านและได้รับการรับรองจากสมาคมด้านการเจริญพันธุ์และการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแห่งยุโรป (ESHRE)
ในปี 2564 นี้มีผู้เข้าสอบรับรองด้าน CLINICAL EMBRYOLOGY CERTIFICATION จากสมาคมด้านการเจริญพันธุ์และการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแห่งยุโรปจากทั่วโลกจำนวน 318 คน และมีผู้สอบผ่าน 153 คน หรือคิดเป็น 48% ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 จนถึง ค.ศ. 2021 มีนักวิทยาศาสตร์คนไทยสอบผ่านจำนวน 42 คนเท่านั้น
สำหรับบทบาทของสมาคมด้านการเจริญพันธุ์และการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแห่งยุโรป (ESHRE : European Society of Human Reproduction and Embryology) ซึ่งเป็นสมาพันธ์เกี่ยวกับด้านการเจริญพันธุ์หรือการมีบุตรยากของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก
นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (GFC) ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทช่วยด้านการเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีศักยภาพที่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งกลุ่มลูกค้าของ GFC เป็นคนไทยประมาณ 90% ส่วนอีก 10% เป็นกลุ่มที่สามีหรือภรรยาเป็นคนไทยกับคนต่างชาติ
ทั้งนี้ GFC เล็งเห็นความสำคัญทั้งด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการนำเทคโนโลยีเข้ามาให้บริการ โดยใช้งบประมาณ 7-8 ล้านบาทในการนำเข้าเทคโนโลยีการเลือกตัวอ่อน (automated embryo evaluation) สำหรับการเลี้ยงและดูแลตัวอ่อนเพื่อรองรับความต้องการและบริการที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนฯ นี้มีการนำ AI มาใช้ในการตรวจจับการเติบโตของตัวอ่อนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดในการนำมาฝังตัว ซึ่งเมื่อทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการตรวจ NGS จะสามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์สูงถึง 73% เมื่อเทียบกับมาตรฐานที่อื่นซึ่งมีอัตราตั้งครรภ์อยู่ที่ประมาณ 30-50%
สำหรับจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนแยกของแต่ละเคส โดยตู้เลี้ยง 1 ตู้สำหรับ 1 คนไข้ ไม่ใส่รวมปะปนกันเพื่อลดการรบกวน พร้อมควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม เพราะให้ความสำคัญต่อความสำเร็จของคนไข้เป็นอันดับแรก
นอกจากนี้ ยังมีแผนจะลงทุนขยายสาขาเพิ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าจากลาว และเวียดนาม ทั้งนี้ ทิศทางการดำเนินธุรกิจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทาง GFC มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2561 มีรายได้ 129 ล้านบาท ปี 2562 มีรายได้ 250 ล้านบาท ส่วนปี 2563 ตัวเลขลดลงประมาณ 10% เหลือ 218 ล้านบาท โดยในปี 64 ครึ่งปีแรกยังเติบโตได้ดีราว 30% แต่หลังจากการระบาดอย่างหนักของโควิดสายพันธุ์ Delta ทำให้คาดการณ์ว่าตัวเลขปี 64 ของเราจะเติบโตเหลือแค่ 10%
หากเปรียบเทียบในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกันก็ยังถือว่าเติบโตขึ้นได้ดีในสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงขณะนี้ และในไตรมาสที่สามของปี 64 มีแผนที่จะขยายในส่วนของห้องแล็บเลี้ยงตัวอ่อน และห้องตรวจเพิ่มเติม เพื่อรองรับปริมาณคนไข้ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับจุดเด่นด้านการให้บริการของ GFC อีกด้านก็คือ ที่ตั้งให้บริการแบบสแตนด์อะโลนสามารถนัดเพื่อเข้ารับการปรึกษาและใช้บริการได้สะดวก ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มผู้มีลูกยากทั้งในไทยและต่างประเทศสนใจเข้าใช้บริการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศจีน ลาว อินเดีย เวียดนาม สำหรับคนไข้ที่ไม่สะดวกเดินทางเข้ามารับบริการในช่วงนี้ ทาง GFC ได้มีการให้บริการปรึกษาผ่านทางระบบประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่านแพลตฟอร์ม zoom meeting ซึ่งคนไข้สามารถติดต่อทาง call center ได้ที่ 09-7484-5335 เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมกันนี้ ทา งGFC ยังมีการจัดให้มี FB Live เพื่อที่คนไข้สามารถเข้ามาสอบถามปัญหากับแพทย์ได้โดยตรง ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดได้จาก Facebook GFC.Bangkok