กว่า 3 ปีที่ผ่านมา “เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์” เดินหน้าไม่หยุดยั้ง เพื่อร่วมเป็นพลังในการดูแลโลกและสิ่งแวดล้อม กับ 3 โครงการที่ได้รับการยอมรับจากโครงการ LESS ว่าสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 29,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ต่อปี จำนวน 3,222 ต้น
ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลาย ๆ บริษัทพยายามรับมือและปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ หรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยหนึ่งในนั้นก็คือ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด (HMC Polymers) ที่ปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
“สิริเดช คุ้มวงศ์ดี” ประธานบริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด ระบุว่า นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ด้วยการพัฒนาชุดคลุมป้องกัน ซึ่งทำมาจากผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท นั่นก็คือเม็ดพลาสติกประเภท PP และได้พัฒนาชุดต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 2 โดยปรับปรุงชุดให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานต่อบุคลากรทางแพทย์ ซึ่งเป็นด่านหน้าในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ให้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการร่วมเป็นพลังช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤต สิ่งที่บริษัทดำเนินการมาโดยตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม และถือเป็นหนึ่งในสี่กลยุทธ์หลักขององค์กรที่บริษัทให้ความสำคัญ นั่นก็คือความยั่งยืนขององค์กร (Sustainability) ครอบคลุมในเรื่องของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมชุมชน
“ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เราได้ริเริ่มโครงการที่ช่วยลดโลกร้อนตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่นานาประเทศได้ช่วยกันหาทางออกไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ข้อที่ 13 Climate Action”
ประธานบริษัทแห่งเอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการที่ริเริ่มดำเนินการมาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์การคัดแยกขยะของพนักงานในบริษัท การร่วมกับชุมชนเกาะกก จ.ระยอง, จัดทำโครงการปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน และนำผลผลิตที่ได้จากโครงการกลับมาใช้กับแปลงปลูกผักภายในบริษัท ทำให้เกิดหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม (Circular Economy) รวมทั้งการส่งเสริมให้ชุมชนและโรงเรียนรู้จักหลัก 3Rs คือ ลดการใช้ ใช้ซ้ำ และใช้หมุนเวียน ทำให้สามารถคัดแยกขยะเพื่อเตรียมส่งกลับเข้ากระบวนรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
“ในปีนี้เป็นที่น่ายินดีที่บริษัทได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งโครงการต่าง ๆ ข้างต้นสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 29,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าปริมาณคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ที่ลดได้หรือเทียบเท่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ต่อปี จำนวน 3,222 ต้น”
สิริเดช คุ้มวงศ์ดี บอกเล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจในผลลัพธ์ดี ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยันถึงปณิธานความเชื่อของบริษัทที่ว่า รากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ภาคีเครือข่าย และบริษัทเองก็ตามเป็นแรงขับเคลื่อนไปพร้อมกันที่จะทำให้โครงการทุกโครงการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน และเอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ ก็พร้อมเดินหน้าในการพัฒนาโครงการเพื่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
รู้จัก.. 3 โครงการรักษ์โลก มุ่งสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก
จากการให้ข้อมูลของ “ธพัศ แสงนุภา” ผู้ประสานงานอาวุโสด้านความยั่งยืนและการจัดทำรายงาน บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด ระบุถึงรายละเอียดของโครงการทั้ง 3 ที่ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ซึ่งสามารถช่วยลดโลกร้อน โดยโครงการแรกนั้นมีชื่อว่า “แยกช่วยโลก” ซึ่งเริ่มต้นจากคนในองค์กร
“เนื่องด้วยบริษัทของเรามี 2 สำนักงาน คือตึกออฟฟิศที่กรุงเทพฯ กับส่วนโรงงานที่จังหวัดระยอง โดยก่อนหน้านี้ เราก็มีการจัดกิจกรรมกับพนักงาน 2-3 เดือนครั้ง โดยเชิญชวนทั้งผู้บริหารและพนักงานให้มีส่วนร่วมด้วยการนำขยะมาร่วมในโครงการที่บริษัท พร้อมทั้งคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ออกจากกัน ซึ่งครั้งหนึ่ง ก็จะได้ประมาณ 400 – 500 กิโลกรัม แต่พอมีสถานการณ์โควิดขึ้นมา ก็มีการปรับรูปแบบด้วยการเปิดจุดรับขยะไว้ชั่วคราว โดยให้พนักงานสามารถนำขยะมาไว้ที่จุดคัดแยกขยะในระยะเวลาที่เรากำหนด โดยทยอยนำมาดร็อปไว้ได้เลย แล้วแต่สะดวกว่าจะนำขยะมาช่วงไหนของวันทำงาน เพื่อลดความแออัด”
ธพัศ แสงนุภา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงโควิด พนักงานส่วนใหญ่จะ Work From Home ก็จะใช้วิธีการว่าถ้าวันไหนเขาเข้าออฟฟิศ ก็ให้เอาขยะมาไว้ แล้วรวบรวมไปสักระยะหนึ่ง ก่อนส่งขายเพื่อนำไปรีไซเคิลต่อไป
จากโครงการแยกช่วยโลก ซึ่งเริ่มต้นจากคนในองค์กร ได้มีการต่อยอดขยายไปสู่อีกหนึ่งโครงการที่ชื่อว่า “ธนาคารทิ้ง-ไซเคิล” (Think Cycle) ซึ่งมุ่งเน้นในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง คือครัวเรือนและโรงเรียน พร้อมทั้งร่วมรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้น เสริมความรู้ความเข้าใจกระบวนการบริหารจัดการขยะ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“โครงการ Think Cycle เราได้เริ่มทำร่วมกับโรงเรียนวัดห้วยโป่ง จังหวัดระยอง รวมทั้งชุมชนรอบโรงเรียน หลัก ๆ ก็คือส่งเสริมในเรื่องของการคัดแยกประเภทขยะ พร้อมทั้งใช้หลัก 3Rs คือ Reduce, Reuse และ Recycle เข้าไปกับพนักงาน ทำกิจกรรมร่วมกับน้อง ๆ ในโรงเรียนด้วยการคัดแยกขยะแต่ละประเภท ซึ่งจริง ๆ น้อง ๆ นักเรียนเขาก็คัดแยกขยะจากที่บ้านมาแล้วด้วยส่วนหนึ่ง ก็เอามารวมกันกับที่ทำในโรงเรียน
“ที่สำคัญ คือน้อง ๆ นักเรียนจะได้รับเงินจากการขายขยะเหล่านั้นแล้วนำเงินฝากเข้าโครงการธนาคาร Think Cycle เหมือนฝากเงินเข้าธนาคารทั่วไป แล้วพอสิ้นปีการศึกษา นักเรียนก็จะสามารถเบิกถอนเงินส่วนนี้ไปใช้ในการเรียนได้ นี่คือคอนเซปต์ที่ไม่เพียงจะช่วยปลูกฝังเรื่องของการจัดการกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังทำให้น้อง ๆ มีรายได้เพื่อใช้จ่ายในการศึกษาด้วย”
ทั้งนี้ นอกจากทั้งสองโครงการดังกล่าวมา ยังมีอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “โครงการปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร” โดยทำร่วมกับชุมชนเกาะกก จ.ระยอง ซึ่งชุมชนดังกล่าวจะมีเครื่องทำปุ๋ยขนาดใหญ่ประมาณ 100 ลิตร ที่สามารถผลิตได้ทั้ง “ปุ๋ยน้ำ” และ “ก๊าซชีวภาพ” ที่สามารถนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้มได้
“กิจกรรมของเราก็คือ ที่โรงอาหารในโรงงานของเรา จะมีพวกเศษอาหารเหลืออยู่บ้าง ทีนี้เมื่อพนักงานรับประทานเรียบร้อยแล้วเขาก็จะเทใส่ในหลุมสำหรับใส่เศษอาหาร หลังจากนั้นเราก็ทำการรวบรวมส่งให้กับทางชุมชนทุกวัน ชุมชนก็นำเศษอาหารเหล่านั้นไปเทใส่ในเครื่องทำปุ๋ย ซึ่งชุมชนเขาก็ยินดีมาก เนื่องจากทำให้เขาได้มีปุ๋ยใช้ในการเกษตร หรือเศษอาหารบางอย่างก็นำไปให้หมูที่ชาวบ้านเลี้ยงกิน หรือแม้แต่ถ้าเราจะขอแบ่งปุ๋ยจากเขามาเพื่อใช้ปลูกผักในโรงงานของเราหรือให้พนักงานของเรานำกลับไปใช้ที่บ้าน ทางชุมชนเขายินดีแบ่งให้”
ธพัศ แสงนุภา กล่าวสรุปด้วยรอยยิ้มว่า ทั้งหมดนี้ที่ทำมา เป็นการช่วยลดและกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถเปลี่ยนขยะที่ดูไร้ค่าให้มีค่าขึ้นมาด้วย ถือเป็นการเดินตามแนวความคิดแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และที่สำคัญคือกิจกรรมโครงการทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการยืนยันความสำเร็จเป็นตัวเลขจากการลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
เริ่มต้นที่ตัวเราเอง ฟันเฟืองเล็ก ๆ ขยายสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่
ทุกความสำเร็จย่อมมีที่มา... “บุปผาพรรณ พานทอง” ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด เปิดเผยถึงเบื้องหลังความสำเร็จจากโครงการทั้งหมด 3 โครงการ ว่าหัวใจสำคัญนั้นเริ่มต้นจากทุก ๆ คน และไม่จำเป็นต้องเริ่มแบบ Volume ใหญ่ ๆ แต่สามารถทำจากจุดเล็ก ๆ ได้แบบสะสมความสำเร็จไปเรื่อย ๆ
“สำหรับพนักงานของเรา ซึ่งถือว่าเป็นคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว โดยพื้นฐานเขาก็จะมีความเข้าใจในเรื่องการลดโลกร้อนอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว ทีนี้พอเราให้การเรียนรู้แบบ Direct กับเขา ให้เขาได้เห็นว่า การจัดการของเสียทั้งเศษอาหาร หรือขยะรีไซเคิล มันเกิดประโยชน์ต่อสังคมและตัวเราเอง แล้วเขาก็เพิ่มความตระหนักมากขึ้นด้วยว่าการที่จะลดโลกร้อนได้ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทำเป็นเรื่องใหญ่โต แค่เขาคิดว่าแยกขยะให้ถูกต้อง แล้วก็ใช้ซ้ำ ใช้อย่างมีคุณค่า มันก็ทำให้ลดการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นกัน”
บุปผาพรรณ เล่าเพิ่มเติมว่า เมื่อเกิดโครงการเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ใช่แค่เพียงคนในองค์กร แต่คนข้างนอก เช่น ชุมชน โรงเรียน ก็มีความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นเกี่ยวกับการลดโลกร้อนที่ทุกคนทำได้ง่าย ๆ
“ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Think Cycle เราก็จะมีการให้ความรู้แก่น้อง ๆ นักเรียนว่าการสะสมขยะ คัดแยกขยะ มันช่วยลดโลกร้อนได้นะ แล้วก็ค่อย ๆ อธิบายให้น้อง ๆ ฟังว่า ถ้าเขาสามารถที่จะจัดการขยะได้ โดยใช้หลัก 3Rs ที่เป็นหลักง่ายๆ เลย คือ Reduce, Reuse และ Recycle เขาก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้บ้านเขาสะอาด ชุมชนเขาสะอาด โรงเรียนของเขาสะอาด แล้วสุดท้าย ภาพรวมในสังคมที่สะอาด คาร์บอนเครดิตที่เขาสามารถลดได้ มันจะช่วยลดอุณหภูมิลงได้หรือลดโลกร้อนได้ จากฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่เกิดในตัวเขาเอง”
อีกหนึ่งความสำเร็จที่ถือว่าเป็นความสมบูรณ์แบบของการมีส่วนร่วม ก็คือ ชุมชน ซึ่งโครงการปุ๋ยหมักจากเศษอาหารนั้นถือเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จที่ดียิ่ง โดยบุปผาพรรณ พานทอง บอกว่า ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะความต้องการร่วมของทางชุมชนเองด้วย เนื่องจากโครงการที่ทำมันเกิดประโยชน์โดยตรงต่อชุมชนในการมีปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหารเพื่อนำไปใช้ในการเกษตร ชุมชนก็พร้อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
สำหรับหัวใจของความสำเร็จ บุปผาพรรณ พานทอง ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด กล่าวย้ำด้วยน้ำเสียงหนักแน่นในตอนท้ายว่า การเริ่มทำอะไรก็ตาม ต้องเริ่มจากที่ตัวเอง แล้วขยายต่อออกไปที่สังคม รวมทั้งต้องรู้จักหามูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งที่ไม่มีมูลค่า และนำมาพัฒนาต่ออย่างไม่หยุดยั้ง
“สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อไหร่ที่เราให้ความรู้ เราไม่เพียงแต่ให้ความรู้ เราต้องกระตุ้นให้เขานำความรู้ที่ได้รับนั้น แปรไปเป็นพฤติกรรม เพื่อที่จะทำให้เกิดความเคยชินในการทำ และก็ทำซ้ำทำบ่อย จนเกิดเป็นลักษณะนิสัยของตัวเองได้ ซึ่งถ้าทำแบบนี้ได้ สังคมก็จะไม่ต้องมีขยะเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกคนสามารถกำจัดขยะได้ด้วยตัวเอง ทุกคนสามารถจะใช้ซ้ำได้ด้วยตัวเอง ก็จะทำให้ขยะที่ปลายทางลดน้อยลง เกิดคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง ก๊าซเรือนกระจกก็น้อยลง สุดท้ายผลดีก็เกิดกับโลกของเราที่อุณหภูมิจะลดลง ตามความตั้งใจของทุกคนที่ต้องการช่วยกันลดโลกร้อน” บุปผาพรรณ พานทอง กล่าวทิ้งท้ายด้วยน้ำเสียงเชื่อมั่น
ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลาย ๆ บริษัทพยายามรับมือและปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ หรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยหนึ่งในนั้นก็คือ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด (HMC Polymers) ที่ปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
“สิริเดช คุ้มวงศ์ดี” ประธานบริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด ระบุว่า นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ด้วยการพัฒนาชุดคลุมป้องกัน ซึ่งทำมาจากผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท นั่นก็คือเม็ดพลาสติกประเภท PP และได้พัฒนาชุดต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 2 โดยปรับปรุงชุดให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานต่อบุคลากรทางแพทย์ ซึ่งเป็นด่านหน้าในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ให้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการร่วมเป็นพลังช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤต สิ่งที่บริษัทดำเนินการมาโดยตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม และถือเป็นหนึ่งในสี่กลยุทธ์หลักขององค์กรที่บริษัทให้ความสำคัญ นั่นก็คือความยั่งยืนขององค์กร (Sustainability) ครอบคลุมในเรื่องของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมชุมชน
“ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เราได้ริเริ่มโครงการที่ช่วยลดโลกร้อนตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่นานาประเทศได้ช่วยกันหาทางออกไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ข้อที่ 13 Climate Action”
ประธานบริษัทแห่งเอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการที่ริเริ่มดำเนินการมาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์การคัดแยกขยะของพนักงานในบริษัท การร่วมกับชุมชนเกาะกก จ.ระยอง, จัดทำโครงการปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน และนำผลผลิตที่ได้จากโครงการกลับมาใช้กับแปลงปลูกผักภายในบริษัท ทำให้เกิดหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม (Circular Economy) รวมทั้งการส่งเสริมให้ชุมชนและโรงเรียนรู้จักหลัก 3Rs คือ ลดการใช้ ใช้ซ้ำ และใช้หมุนเวียน ทำให้สามารถคัดแยกขยะเพื่อเตรียมส่งกลับเข้ากระบวนรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
“ในปีนี้เป็นที่น่ายินดีที่บริษัทได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งโครงการต่าง ๆ ข้างต้นสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 29,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าปริมาณคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ที่ลดได้หรือเทียบเท่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ต่อปี จำนวน 3,222 ต้น”
สิริเดช คุ้มวงศ์ดี บอกเล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจในผลลัพธ์ดี ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยันถึงปณิธานความเชื่อของบริษัทที่ว่า รากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ภาคีเครือข่าย และบริษัทเองก็ตามเป็นแรงขับเคลื่อนไปพร้อมกันที่จะทำให้โครงการทุกโครงการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน และเอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ ก็พร้อมเดินหน้าในการพัฒนาโครงการเพื่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
รู้จัก.. 3 โครงการรักษ์โลก มุ่งสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก
จากการให้ข้อมูลของ “ธพัศ แสงนุภา” ผู้ประสานงานอาวุโสด้านความยั่งยืนและการจัดทำรายงาน บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด ระบุถึงรายละเอียดของโครงการทั้ง 3 ที่ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ซึ่งสามารถช่วยลดโลกร้อน โดยโครงการแรกนั้นมีชื่อว่า “แยกช่วยโลก” ซึ่งเริ่มต้นจากคนในองค์กร
“เนื่องด้วยบริษัทของเรามี 2 สำนักงาน คือตึกออฟฟิศที่กรุงเทพฯ กับส่วนโรงงานที่จังหวัดระยอง โดยก่อนหน้านี้ เราก็มีการจัดกิจกรรมกับพนักงาน 2-3 เดือนครั้ง โดยเชิญชวนทั้งผู้บริหารและพนักงานให้มีส่วนร่วมด้วยการนำขยะมาร่วมในโครงการที่บริษัท พร้อมทั้งคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ออกจากกัน ซึ่งครั้งหนึ่ง ก็จะได้ประมาณ 400 – 500 กิโลกรัม แต่พอมีสถานการณ์โควิดขึ้นมา ก็มีการปรับรูปแบบด้วยการเปิดจุดรับขยะไว้ชั่วคราว โดยให้พนักงานสามารถนำขยะมาไว้ที่จุดคัดแยกขยะในระยะเวลาที่เรากำหนด โดยทยอยนำมาดร็อปไว้ได้เลย แล้วแต่สะดวกว่าจะนำขยะมาช่วงไหนของวันทำงาน เพื่อลดความแออัด”
ธพัศ แสงนุภา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงโควิด พนักงานส่วนใหญ่จะ Work From Home ก็จะใช้วิธีการว่าถ้าวันไหนเขาเข้าออฟฟิศ ก็ให้เอาขยะมาไว้ แล้วรวบรวมไปสักระยะหนึ่ง ก่อนส่งขายเพื่อนำไปรีไซเคิลต่อไป
จากโครงการแยกช่วยโลก ซึ่งเริ่มต้นจากคนในองค์กร ได้มีการต่อยอดขยายไปสู่อีกหนึ่งโครงการที่ชื่อว่า “ธนาคารทิ้ง-ไซเคิล” (Think Cycle) ซึ่งมุ่งเน้นในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง คือครัวเรือนและโรงเรียน พร้อมทั้งร่วมรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้น เสริมความรู้ความเข้าใจกระบวนการบริหารจัดการขยะ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“โครงการ Think Cycle เราได้เริ่มทำร่วมกับโรงเรียนวัดห้วยโป่ง จังหวัดระยอง รวมทั้งชุมชนรอบโรงเรียน หลัก ๆ ก็คือส่งเสริมในเรื่องของการคัดแยกประเภทขยะ พร้อมทั้งใช้หลัก 3Rs คือ Reduce, Reuse และ Recycle เข้าไปกับพนักงาน ทำกิจกรรมร่วมกับน้อง ๆ ในโรงเรียนด้วยการคัดแยกขยะแต่ละประเภท ซึ่งจริง ๆ น้อง ๆ นักเรียนเขาก็คัดแยกขยะจากที่บ้านมาแล้วด้วยส่วนหนึ่ง ก็เอามารวมกันกับที่ทำในโรงเรียน
“ที่สำคัญ คือน้อง ๆ นักเรียนจะได้รับเงินจากการขายขยะเหล่านั้นแล้วนำเงินฝากเข้าโครงการธนาคาร Think Cycle เหมือนฝากเงินเข้าธนาคารทั่วไป แล้วพอสิ้นปีการศึกษา นักเรียนก็จะสามารถเบิกถอนเงินส่วนนี้ไปใช้ในการเรียนได้ นี่คือคอนเซปต์ที่ไม่เพียงจะช่วยปลูกฝังเรื่องของการจัดการกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังทำให้น้อง ๆ มีรายได้เพื่อใช้จ่ายในการศึกษาด้วย”
ทั้งนี้ นอกจากทั้งสองโครงการดังกล่าวมา ยังมีอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “โครงการปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร” โดยทำร่วมกับชุมชนเกาะกก จ.ระยอง ซึ่งชุมชนดังกล่าวจะมีเครื่องทำปุ๋ยขนาดใหญ่ประมาณ 100 ลิตร ที่สามารถผลิตได้ทั้ง “ปุ๋ยน้ำ” และ “ก๊าซชีวภาพ” ที่สามารถนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้มได้
“กิจกรรมของเราก็คือ ที่โรงอาหารในโรงงานของเรา จะมีพวกเศษอาหารเหลืออยู่บ้าง ทีนี้เมื่อพนักงานรับประทานเรียบร้อยแล้วเขาก็จะเทใส่ในหลุมสำหรับใส่เศษอาหาร หลังจากนั้นเราก็ทำการรวบรวมส่งให้กับทางชุมชนทุกวัน ชุมชนก็นำเศษอาหารเหล่านั้นไปเทใส่ในเครื่องทำปุ๋ย ซึ่งชุมชนเขาก็ยินดีมาก เนื่องจากทำให้เขาได้มีปุ๋ยใช้ในการเกษตร หรือเศษอาหารบางอย่างก็นำไปให้หมูที่ชาวบ้านเลี้ยงกิน หรือแม้แต่ถ้าเราจะขอแบ่งปุ๋ยจากเขามาเพื่อใช้ปลูกผักในโรงงานของเราหรือให้พนักงานของเรานำกลับไปใช้ที่บ้าน ทางชุมชนเขายินดีแบ่งให้”
ธพัศ แสงนุภา กล่าวสรุปด้วยรอยยิ้มว่า ทั้งหมดนี้ที่ทำมา เป็นการช่วยลดและกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถเปลี่ยนขยะที่ดูไร้ค่าให้มีค่าขึ้นมาด้วย ถือเป็นการเดินตามแนวความคิดแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และที่สำคัญคือกิจกรรมโครงการทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการยืนยันความสำเร็จเป็นตัวเลขจากการลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
เริ่มต้นที่ตัวเราเอง ฟันเฟืองเล็ก ๆ ขยายสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่
ทุกความสำเร็จย่อมมีที่มา... “บุปผาพรรณ พานทอง” ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด เปิดเผยถึงเบื้องหลังความสำเร็จจากโครงการทั้งหมด 3 โครงการ ว่าหัวใจสำคัญนั้นเริ่มต้นจากทุก ๆ คน และไม่จำเป็นต้องเริ่มแบบ Volume ใหญ่ ๆ แต่สามารถทำจากจุดเล็ก ๆ ได้แบบสะสมความสำเร็จไปเรื่อย ๆ
“สำหรับพนักงานของเรา ซึ่งถือว่าเป็นคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว โดยพื้นฐานเขาก็จะมีความเข้าใจในเรื่องการลดโลกร้อนอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว ทีนี้พอเราให้การเรียนรู้แบบ Direct กับเขา ให้เขาได้เห็นว่า การจัดการของเสียทั้งเศษอาหาร หรือขยะรีไซเคิล มันเกิดประโยชน์ต่อสังคมและตัวเราเอง แล้วเขาก็เพิ่มความตระหนักมากขึ้นด้วยว่าการที่จะลดโลกร้อนได้ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทำเป็นเรื่องใหญ่โต แค่เขาคิดว่าแยกขยะให้ถูกต้อง แล้วก็ใช้ซ้ำ ใช้อย่างมีคุณค่า มันก็ทำให้ลดการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นกัน”
บุปผาพรรณ เล่าเพิ่มเติมว่า เมื่อเกิดโครงการเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ใช่แค่เพียงคนในองค์กร แต่คนข้างนอก เช่น ชุมชน โรงเรียน ก็มีความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นเกี่ยวกับการลดโลกร้อนที่ทุกคนทำได้ง่าย ๆ
“ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Think Cycle เราก็จะมีการให้ความรู้แก่น้อง ๆ นักเรียนว่าการสะสมขยะ คัดแยกขยะ มันช่วยลดโลกร้อนได้นะ แล้วก็ค่อย ๆ อธิบายให้น้อง ๆ ฟังว่า ถ้าเขาสามารถที่จะจัดการขยะได้ โดยใช้หลัก 3Rs ที่เป็นหลักง่ายๆ เลย คือ Reduce, Reuse และ Recycle เขาก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้บ้านเขาสะอาด ชุมชนเขาสะอาด โรงเรียนของเขาสะอาด แล้วสุดท้าย ภาพรวมในสังคมที่สะอาด คาร์บอนเครดิตที่เขาสามารถลดได้ มันจะช่วยลดอุณหภูมิลงได้หรือลดโลกร้อนได้ จากฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่เกิดในตัวเขาเอง”
อีกหนึ่งความสำเร็จที่ถือว่าเป็นความสมบูรณ์แบบของการมีส่วนร่วม ก็คือ ชุมชน ซึ่งโครงการปุ๋ยหมักจากเศษอาหารนั้นถือเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จที่ดียิ่ง โดยบุปผาพรรณ พานทอง บอกว่า ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะความต้องการร่วมของทางชุมชนเองด้วย เนื่องจากโครงการที่ทำมันเกิดประโยชน์โดยตรงต่อชุมชนในการมีปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหารเพื่อนำไปใช้ในการเกษตร ชุมชนก็พร้อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
สำหรับหัวใจของความสำเร็จ บุปผาพรรณ พานทอง ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด กล่าวย้ำด้วยน้ำเสียงหนักแน่นในตอนท้ายว่า การเริ่มทำอะไรก็ตาม ต้องเริ่มจากที่ตัวเอง แล้วขยายต่อออกไปที่สังคม รวมทั้งต้องรู้จักหามูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งที่ไม่มีมูลค่า และนำมาพัฒนาต่ออย่างไม่หยุดยั้ง
“สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อไหร่ที่เราให้ความรู้ เราไม่เพียงแต่ให้ความรู้ เราต้องกระตุ้นให้เขานำความรู้ที่ได้รับนั้น แปรไปเป็นพฤติกรรม เพื่อที่จะทำให้เกิดความเคยชินในการทำ และก็ทำซ้ำทำบ่อย จนเกิดเป็นลักษณะนิสัยของตัวเองได้ ซึ่งถ้าทำแบบนี้ได้ สังคมก็จะไม่ต้องมีขยะเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกคนสามารถกำจัดขยะได้ด้วยตัวเอง ทุกคนสามารถจะใช้ซ้ำได้ด้วยตัวเอง ก็จะทำให้ขยะที่ปลายทางลดน้อยลง เกิดคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง ก๊าซเรือนกระจกก็น้อยลง สุดท้ายผลดีก็เกิดกับโลกของเราที่อุณหภูมิจะลดลง ตามความตั้งใจของทุกคนที่ต้องการช่วยกันลดโลกร้อน” บุปผาพรรณ พานทอง กล่าวทิ้งท้ายด้วยน้ำเสียงเชื่อมั่น