เปิดตัวผู้ช่วยคนใหม่ “Nong Pim” นวัตกรรมล้ำ ๆ ตรวจเช็กค่าฝุ่นจิ๋วได้แม่นยำ ฝีมือนักวิจัยรุ่นใหม่ไฟแรงแห่งสถาบันนวัตกรรม ปตท. พร้อมเดินหน้าจำหน่าย ขยายสู่หน่วยงานองค์กร และส่วนบุคคล
เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีคุณค่าและน่าสนใจเลยทีเดียว สำหรับ Nong Pim Air Detector อุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ แต่ตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการทำงานด้วยระบบ Smart Censor ซึ่งส่งข้อมูลผ่านเทคโนโลยี Laser Scattering และแสดงผลผ่านแอปพลิเคชั่น สะดวกสบายต่อผู้ใช้งานที่เพียงแค่คลิก ก็รู้ได้ว่า สภาพอากาศหรือสภาพฝุ่น ณ ตอนนี้ อยู่ในระดับไหนแล้ว
จากจุดเริ่มต้นที่เข้าใจถึงความกังวลของพนักงานที่ทำงานอยู่ที่สถาบันนวัตกรรม ปตท. อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากจุดตรวจวัดค่าฝุ่นที่อยู่ใกล้สำนักงานที่สุด อยู่ห่างออกไปราว 20 กิโลเมตร นั่นจึงเป็นเหตุผลและแรงบันดาลใจให้นักวิจัยคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ มุ่งมั่นประดิษฐ์คิดค้น Nong Pim (น้องพิม) นี้ขึ้นมา
“โก้-เกียรติสกุล วัชรินยานนท์” หนุ่มนักวิจัยฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีพลังงานใหม่ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ให้ข้อมูลว่า เครื่องวัดค่าฝุ่นตัวนี้เริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา ที่สถาบันนวัตกรรม ปตท. วังน้อย อยุธยา ก่อนจะนำเสนอสู่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ ซึ่งตอนนี้มีการติดตั้งการใช้งานไปแล้วกว่า 60 จุด และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก
“แต่เดิม ที่สถาบันนวัตกรรม ปตท. วังน้อย หน่วยงานความปลอดภัยของที่นั่นเขาจะส่งคนถือเครื่องวัดไปตรวจวัดตามอาคาร ตามจุดต่าง ๆ แล้วก็ส่งเข้าไลน์กรุ๊ปที่เราใช้ส่งข่าวสารกัน ทางทีมเราก็เลยเห็นว่า เรามี Data Platform ที่ยังพัฒนาได้ โดย Platform นี้ก็คือสิ่งที่เชื่อมต่อ IoT ที่อยู่ตามจุดต่าง ๆ ในแล็ปบ้าง ตึกบ้าง และเราก็มีความรู้เรื่องระบบการตรวจวัด มีความรู้เรื่อง Instrument อยู่ เราก็เลยคิดว่าเราจะวัดฝุ่นตัวนี้ด้วยเซ็นเซอร์แล้วก็ส่งค่ากลับมาที่ Platform ของเราซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล สามารถส่งข้อมูลไปหาผู้รับได้ในหลาย ๆ ช่องทาง ทั้งเว็บไซต์และ Direct Message ในไลน์กรุ๊ป พูดง่าย ๆ ก็คือ ตัวของ Nong Pim นี้ได้ทำหน้าที่แทนคนซึ่งออกไปตรวจวัดตามจุดต่าง ๆ”
โดยศักยภาพของเครื่องตรวจวัดนี้ แต่ละเครื่องจะมีความสามารถในการตรวจวัดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ถ้าเป็นพื้นที่เปิดโล่ง และถ้าเป็นพื้นที่ปิด เครื่องตรวจวัดหนึ่งเครื่องก็จะเป็นตัวแทนของทั้งห้อง
“ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจน อย่างเช่นที่ ปตท.สำนักงานใหญ่ แต่เดิม เขาต้องใช้คนไปตรวจวัด วันละ 3-4 รอบ คนก็ต้องเดินไปตรวจทีละชั้น ตั้งแต่ชั้นใต้ดินไปถึงชั้น 24 ทุกชั้นทุกวัน เมื่อเรานำอุปกรณ์ตัวนี้มาติดตั้ง ก็สามารถลดการทำงานตรงนี้ได้ และสามารถทำให้คนเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นด้วย”
ในส่วนกลไกการทำงานของ Nong Pim “อาร์ม-ศิระ นิธิยานนทกิจ” หนุ่มนักวิจัยฝ่ายเทคโนโลยีพลังงานใหม่ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ซึ่งเป็นผู้ดูแลด้านเทคนิค อธิบายว่า เป็นการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Laser Light Source Scattering ซึ่งมีประตรวจวัดได้เร็ว ความแม่นยำสูง
“รูปแบบการใช้งาน คือหลังจากตัวเซ็นเซอร์ของเครื่องวัดค่าได้แล้ว ก็จะดึงข้อมูลเข้าไปไว้ในระบบ Cloud แล้วนำไปวิเคราะห์และสรุปก่อนส่งต่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้งานก็สามารถเรียกดูได้จากทุกที่ผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยเบื้องต้นก็จะมีการส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ทุก 15 นาที หรือชั่วโมงละ 4 รอบ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานด้วยว่าเขาต้องการข้อมูลถี่แค่ไหน ซึ่งตัวเครื่องก็สามารถเซอร์วิสได้”
ทั้งนี้ “โก้-เกียรติสกุล วัชรินยานนท์” กล่าวเสริมว่า ความพิเศษของ Nong Pim ที่แตกต่างไปจากเครื่องวัดค่าฝุ่นที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป คือเครื่องวัดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Offline คือเป็นของใครของมัน ใครอยากรู้ค่าฝุ่น ก็ต้องพกไปทุกที่ แต่สำหรับ Nong Pim จะเป็นแบบ Online โดยติดตั้งไว้เป็นตัวแทนของพื้นที่นั้น คนไม่ต้องพกพาเครื่อง ขอเพียงมีสมาร์ทโฟนพกอย่างเดียวก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
“ในด้านอายุการใช้งาน ตัวเซ็นเซอร์จะมีอายุประมาณ 2 ปี แต่ก็อยู่ใน Service Term ของเรา ซึ่งคิดเป็นรายเดือน และเมื่อครบอายุการใช้งาน ถ้าต้องการต่อสัญญา เราก็จะมาเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้”
โดยตอนนี้ นอกเหนือไปจากที่สำนักงานสถาบันนวัตกรรม ปตท. วังน้อย, สำนักงานใหญ่ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ซึ่งมีการติดตั้งใช้งานแล้ว โก้-เกียรติสกุล บอกว่า สเต็ปต่อไปคือการขยายสู่ผู้ใช้ที่เป็นองค์กรในลักษณะ B2B และแน่นอนว่า ในอนาคต ก็จะขยายไปสู่ประชาชนทั่วไปให้สามารถนำไปติดตั้งตามบ้านเรือนของตัวเองได้
ในฐานะคนที่ดูแลด้านกลไกการทำงานของ Nong Pim “อาร์ม-ศิระ”บอกถึงความพึงพอใจจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นว่า นี่คือแอปพลิเคชั่นที่ดีมาก ๆ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนได้ดี ยิ่งในยุคนี้ที่คนเป็นกังวลกับเรื่องปัญหาฝุ่นในอากาศ การมี Nong Pim มาเป็นผู้ช่วยเป็นหูเป็นตา ตรวจวัดค่าให้กับเรา ก็จะช่วยให้เราสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ และรับมือกับสภาพอากาศได้อย่างปลอดภัยต่อสุขภาพ
ขณะที่ “โก้-เกียรติสกุล”ก็กล่าวทิ้งท้ายในทำนองเดียวกันว่า แม้ว่าเรื่องรายได้ อาจจะเป็นผลพลอยได้ แต่นั่นไม่ใช่เนื้อหาสำคัญของการคิดค้นอุปกรณ์ตัวนี้ขึ้นมา เพราะสำหรับเขาแล้ว เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“เหตุผลที่แท้จริงในการที่เราทำเครื่องนี้คือ อยากจะให้คนมีชีวิตที่ดีขึ้น โดย Data Platform ตัวนี้จะทำให้คนเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นกับการใช้ชีวิตของเขาจริง ๆ ทำให้เขามีชีวิตดีขึ้น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมได้มากขึ้น จนมีสุขภาพที่ดีครับ”
***สนใจโซลูชัน Nong Pim ติดต่อที่คุณวิชย์กรณ์ สถาบันนวัตกรรม ปตท. โทร.03-524-8385 เวลาทำการวันจันทร์-ศุกร์ 08.00-17.00 น.***
เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีคุณค่าและน่าสนใจเลยทีเดียว สำหรับ Nong Pim Air Detector อุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ แต่ตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการทำงานด้วยระบบ Smart Censor ซึ่งส่งข้อมูลผ่านเทคโนโลยี Laser Scattering และแสดงผลผ่านแอปพลิเคชั่น สะดวกสบายต่อผู้ใช้งานที่เพียงแค่คลิก ก็รู้ได้ว่า สภาพอากาศหรือสภาพฝุ่น ณ ตอนนี้ อยู่ในระดับไหนแล้ว
จากจุดเริ่มต้นที่เข้าใจถึงความกังวลของพนักงานที่ทำงานอยู่ที่สถาบันนวัตกรรม ปตท. อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากจุดตรวจวัดค่าฝุ่นที่อยู่ใกล้สำนักงานที่สุด อยู่ห่างออกไปราว 20 กิโลเมตร นั่นจึงเป็นเหตุผลและแรงบันดาลใจให้นักวิจัยคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ มุ่งมั่นประดิษฐ์คิดค้น Nong Pim (น้องพิม) นี้ขึ้นมา
“โก้-เกียรติสกุล วัชรินยานนท์” หนุ่มนักวิจัยฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีพลังงานใหม่ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ให้ข้อมูลว่า เครื่องวัดค่าฝุ่นตัวนี้เริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา ที่สถาบันนวัตกรรม ปตท. วังน้อย อยุธยา ก่อนจะนำเสนอสู่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ ซึ่งตอนนี้มีการติดตั้งการใช้งานไปแล้วกว่า 60 จุด และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก
“แต่เดิม ที่สถาบันนวัตกรรม ปตท. วังน้อย หน่วยงานความปลอดภัยของที่นั่นเขาจะส่งคนถือเครื่องวัดไปตรวจวัดตามอาคาร ตามจุดต่าง ๆ แล้วก็ส่งเข้าไลน์กรุ๊ปที่เราใช้ส่งข่าวสารกัน ทางทีมเราก็เลยเห็นว่า เรามี Data Platform ที่ยังพัฒนาได้ โดย Platform นี้ก็คือสิ่งที่เชื่อมต่อ IoT ที่อยู่ตามจุดต่าง ๆ ในแล็ปบ้าง ตึกบ้าง และเราก็มีความรู้เรื่องระบบการตรวจวัด มีความรู้เรื่อง Instrument อยู่ เราก็เลยคิดว่าเราจะวัดฝุ่นตัวนี้ด้วยเซ็นเซอร์แล้วก็ส่งค่ากลับมาที่ Platform ของเราซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล สามารถส่งข้อมูลไปหาผู้รับได้ในหลาย ๆ ช่องทาง ทั้งเว็บไซต์และ Direct Message ในไลน์กรุ๊ป พูดง่าย ๆ ก็คือ ตัวของ Nong Pim นี้ได้ทำหน้าที่แทนคนซึ่งออกไปตรวจวัดตามจุดต่าง ๆ”
โดยศักยภาพของเครื่องตรวจวัดนี้ แต่ละเครื่องจะมีความสามารถในการตรวจวัดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ถ้าเป็นพื้นที่เปิดโล่ง และถ้าเป็นพื้นที่ปิด เครื่องตรวจวัดหนึ่งเครื่องก็จะเป็นตัวแทนของทั้งห้อง
“ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจน อย่างเช่นที่ ปตท.สำนักงานใหญ่ แต่เดิม เขาต้องใช้คนไปตรวจวัด วันละ 3-4 รอบ คนก็ต้องเดินไปตรวจทีละชั้น ตั้งแต่ชั้นใต้ดินไปถึงชั้น 24 ทุกชั้นทุกวัน เมื่อเรานำอุปกรณ์ตัวนี้มาติดตั้ง ก็สามารถลดการทำงานตรงนี้ได้ และสามารถทำให้คนเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นด้วย”
ในส่วนกลไกการทำงานของ Nong Pim “อาร์ม-ศิระ นิธิยานนทกิจ” หนุ่มนักวิจัยฝ่ายเทคโนโลยีพลังงานใหม่ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ซึ่งเป็นผู้ดูแลด้านเทคนิค อธิบายว่า เป็นการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Laser Light Source Scattering ซึ่งมีประตรวจวัดได้เร็ว ความแม่นยำสูง
“รูปแบบการใช้งาน คือหลังจากตัวเซ็นเซอร์ของเครื่องวัดค่าได้แล้ว ก็จะดึงข้อมูลเข้าไปไว้ในระบบ Cloud แล้วนำไปวิเคราะห์และสรุปก่อนส่งต่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้งานก็สามารถเรียกดูได้จากทุกที่ผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยเบื้องต้นก็จะมีการส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ทุก 15 นาที หรือชั่วโมงละ 4 รอบ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานด้วยว่าเขาต้องการข้อมูลถี่แค่ไหน ซึ่งตัวเครื่องก็สามารถเซอร์วิสได้”
ทั้งนี้ “โก้-เกียรติสกุล วัชรินยานนท์” กล่าวเสริมว่า ความพิเศษของ Nong Pim ที่แตกต่างไปจากเครื่องวัดค่าฝุ่นที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป คือเครื่องวัดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Offline คือเป็นของใครของมัน ใครอยากรู้ค่าฝุ่น ก็ต้องพกไปทุกที่ แต่สำหรับ Nong Pim จะเป็นแบบ Online โดยติดตั้งไว้เป็นตัวแทนของพื้นที่นั้น คนไม่ต้องพกพาเครื่อง ขอเพียงมีสมาร์ทโฟนพกอย่างเดียวก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
“ในด้านอายุการใช้งาน ตัวเซ็นเซอร์จะมีอายุประมาณ 2 ปี แต่ก็อยู่ใน Service Term ของเรา ซึ่งคิดเป็นรายเดือน และเมื่อครบอายุการใช้งาน ถ้าต้องการต่อสัญญา เราก็จะมาเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้”
โดยตอนนี้ นอกเหนือไปจากที่สำนักงานสถาบันนวัตกรรม ปตท. วังน้อย, สำนักงานใหญ่ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ซึ่งมีการติดตั้งใช้งานแล้ว โก้-เกียรติสกุล บอกว่า สเต็ปต่อไปคือการขยายสู่ผู้ใช้ที่เป็นองค์กรในลักษณะ B2B และแน่นอนว่า ในอนาคต ก็จะขยายไปสู่ประชาชนทั่วไปให้สามารถนำไปติดตั้งตามบ้านเรือนของตัวเองได้
ในฐานะคนที่ดูแลด้านกลไกการทำงานของ Nong Pim “อาร์ม-ศิระ”บอกถึงความพึงพอใจจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นว่า นี่คือแอปพลิเคชั่นที่ดีมาก ๆ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนได้ดี ยิ่งในยุคนี้ที่คนเป็นกังวลกับเรื่องปัญหาฝุ่นในอากาศ การมี Nong Pim มาเป็นผู้ช่วยเป็นหูเป็นตา ตรวจวัดค่าให้กับเรา ก็จะช่วยให้เราสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ และรับมือกับสภาพอากาศได้อย่างปลอดภัยต่อสุขภาพ
ขณะที่ “โก้-เกียรติสกุล”ก็กล่าวทิ้งท้ายในทำนองเดียวกันว่า แม้ว่าเรื่องรายได้ อาจจะเป็นผลพลอยได้ แต่นั่นไม่ใช่เนื้อหาสำคัญของการคิดค้นอุปกรณ์ตัวนี้ขึ้นมา เพราะสำหรับเขาแล้ว เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“เหตุผลที่แท้จริงในการที่เราทำเครื่องนี้คือ อยากจะให้คนมีชีวิตที่ดีขึ้น โดย Data Platform ตัวนี้จะทำให้คนเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นกับการใช้ชีวิตของเขาจริง ๆ ทำให้เขามีชีวิตดีขึ้น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมได้มากขึ้น จนมีสุขภาพที่ดีครับ”
***สนใจโซลูชัน Nong Pim ติดต่อที่คุณวิชย์กรณ์ สถาบันนวัตกรรม ปตท. โทร.03-524-8385 เวลาทำการวันจันทร์-ศุกร์ 08.00-17.00 น.***