โควิด-19 ฟาดหางผลผลิตลดลง
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ทำแบบสำรวจเกี่ยวกับความเสี่ยงในปี 2564 พบว่า ระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานองค์กรทั่วโลกแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี
การคาดการณ์นี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการทำแบบสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “แนวโน้มความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ” ไปยังผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพจำนวน 1,400 คน จาก 99 ประเทศทั่วโลก ดำเนินการแบบสำรวจโดยบริษัท อิพซอส โมริ (Ipsos MORI) เป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากสภาความยืดหยุ่นของแรงงาน (Workforce Resilience Council) และจากการรวบรวมข้อมูลของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส
*** อันดับความเสี่ยง คาดการณ์โดยอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอสประจำปี 2564 ได้แก่
•ความปั่นป่วนทางการเมืองจะทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบสุขและอาชญากรรม
•ทีมบริหารจัดการภาวะวิกฤตโรคระบาดจะปรับแนวทางใหม่ ๆ ในการดูแลพนักงาน
•ความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาดจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
•การเพิ่มขึ้นของข้อมูลข่าวสารที่ผิด ๆ ทำให้เกิดความต้องการข้อมูลด้านสูขภาพและความปลอดภัยจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
•ปัญหาสุขภาพจิตจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ
•การมุ่งความสนใจไปที่โควิด 19 เพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดจุดบอด ไม่เห็นความเสี่ยงด้านอื่น ๆ
*** ข้อมูลหลักที่ค้นพบจากการสำรวจความคิดเห็น
ความเสี่ยงของพนักงานแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีและคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในปี 2564
ความเสี่ยงในที่ทำงานแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2564 ผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพประมาณ 8 ใน 10 คนเชื่อว่าความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่พนักงานต้องเผชิญเพิ่มขึ้นในปี 2563 (โดยเฉพาะ พนักงานในประเทศ 85%, พนักงานที่ทำงานในต่างประเทศ 81%, นักเรียน นักศึกษาและเจ้าหน้าที่สถานศึกษา 80%, นักธุรกิจที่เดินทาง 79% และพนักงานที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกล 77%)
เกือบ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2564 ซึ่งเป็นความกังวลที่เกิดขึ้นมากที่สุดในเอเชียโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานที่ทำงานในต่างประเทศ (60%) และผู้ที่เดินทาง (60%)
ผู้ตอบแบบสอบถามจากสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ (91%) รายงานความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นควบคู่กับการลดทอนความไว้วางใจในรัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงานด้านสุขภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามสายอาชีพความเสี่ยงจำนวน 1 ใน 3 มองว่านี่เป็นความท้าทายหลัก (31%) ส่วนใหญ่รู้สึกถึงความรุนแรงในอเมริกาจำนวน 40%
สำหรับจำนวนพนักงานที่เดินทางมีสถิติที่ลดลงในปี 2561 เป็นจำนวน 47% เทียบกับตัวเลขที่สูงในปี 2559 เป็นอัตรา ร้อยละ72 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์โจมตีหรือการก่อการร้ายในพื้นที่ทิ่คิดว่าปลอดภัย ทำให้องค์กรจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับต้น ๆ
นพ. นีล เนอร์วิช ผู้อำนวยการกลุ่ม ฝ่ายการแพทย์ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ให้ความเห็นว่า “การแพร่ระบาดของโควิด -19 ก่อให้เกิดวิกฤต 3 ด้านได้แก่ วิกฤตด้านสาธารณสุข การเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานและธุรกิจในระดับโลก สิ่งนี้ทวีความรุนแรงของการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ มากขึ้น ในขณะที่มีข่าวการพัฒนาวัคซีนและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ของอินเตอร์เนชั่นแนลเอสโอเอสที่ให้คำแนะนำและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ นับจากนี้องค์กรจำเป็นต้องปรับและพัฒนานโยบายดูแลพนักงานให้มากขึ้น เฉกเช่นเหตุการณ์ 9/11 ที่นายจ้างหันมาดูแลด้านความปลอดภัยของพนักงานมากขึ้น โรคระบาดนี้ก็เช่นกัน ส่งผลให้ห้องค์กรจำเป็นต้องหันมาปรับปรุงแนวทางการดูแลความเสี่ยงด้านสุขภาพของพนักงาน”
“การระบาดของโควิด 19 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจปัญหาด้านสุขภาพในระดับผู้บริหาร เกิดความต้องการคำแนะนำที่ทันต่อเหตุการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสร้างความรับผิดชอบในกลุ่มองค์กรด้านสุขภาพของพนักงานและผู้ที่ทำงานจากที่บ้าน เนื่องจากองค์กรพยายามให้ธุรกิจกลับมาดำเนินได้ตามปกติโดยเร็ว โควิด 19 จะเป็นปรึซึ่มที่ทำให้มองทะลุไปเห็นความเสี่ยงด้านอื่น ๆ มุมมองความรับผิดชอบในการดูแลพนักงานในแบบดั้งเดิมจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากล เช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาติ แนวคิดนี้จะได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากการเดินทางจะกลับมาอีกครั้งเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งสิ่งนี้จำเป็นต้องดำเนินการอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ให้มีการจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เดินทาง”
*** ช่องว่างของผลผลิตในปี 2564
ผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รู้สึกว่า โรคติดเชื้อ (รวมถึง โควิด 19 มาลาเรีย ไข้เลือดออก อีโบลา ซิก้าและอื่น ๆ) ทำให้ผลผลิตของพนักงานลดลงในปี 2564 และ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (ไม่รวมผู้ดูแลนักเรียนและเจ้าหน้าที่สถานศึกษา) คาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียน นักศึกษาและเจ้าหน้าที่สถานศึกษามองว่าปัญหาด้านสุขภาพจิต จะเพิ่มขึ้น 43% อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญของสภาแรงงาน มองว่าความปัญหาด้านสุขภาพจิตจะแซงหน้าปัญหาโควิด-19 ในปีหน้า
นอกจานี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลต่อความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ลดลงอย่างมาก ได้แก่ การจัดอันดับความเสี่ยงของประเทศ ความกังวลด้านการขนส่ง ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยต่าง ๆ สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้ดูแลพนักงานที่เดินทางมองว่า ภัยด้านภูมิศาสตร์ทางการเมืองมีจำนวน 30% ความไม่สงบสุข 25% ภัยด้านความปลอดภัย 32% ซึ่งทั้งหมดมีอัตราความเสี่ยงที่น้อยกว่าปีที่แล้ว (52%, 52% และ 68% ตามลำดับ)
มร.มิค ชาร์พ ผู้อำนวยการบริการด้านความมั่นคงปลอดภัยของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า การศึกษาค้นพบความไม่เชื่อมโยงและไม่เห็นระดับความเสี่ยงที่มีผลต่อธุรกิจ โดยรวมแล้วปัญหาด้านความปลอดภัยมีสัดส่วนสูงขึ้นเนื่องจากโควิด -19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ความไม่สงบและการประท้วงทางการเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับแรงหนุนจากการแพร่ระบาดของโควิด ในทำนองเดียวกัน ระดับของอาชญากรรมก็เพิ่มขึ้นตามแต่ละพื้นที่ และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความตกต่ำทางด้านเศรษฐกิจสังคมและด้านจิตวิทยาเนื่องจากภาวะวิฤกตโควิด
ประชากรทั่วไปและธุรกิจต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่ความต้องการและการใช้มาตรการป้องกันเกี่ยวกับโควิด-19 อย่างไรก็ตามปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยก็ยังเกิดขึ้นตลอด เห็นได้จากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในกรุงเวียนนาเมื่อไม่นานมานี้ ในทำนองเดียวกันการตอบสนองต่อภัยที่มีผลกระทบสูง เช่น ภัยจากธรรมชาติก็มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเนื่องจากข้อกำหนดทางการแพทย์และข้อจำกัดในการเดินทางที่ไม่แน่นอน
*** ความเสี่ยงในการอพยพเคลื่อนย้าย
มร. มิค ชาร์ป กล่าวต่อว่า “ความจำเป็นในการอพยพเคลื่อนย้ายผู้ที่จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน ล้วนเกี่ยวข้องกับมาตรการความปลอดภัยที่ยุ่งยากซับซ้อนนั้นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ความยุ่งยากในด้านโลจิสติกส์ที่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญและการคำนึงผลกระทบต่อผลประกอบการขององค์กร เราพบว่าองค์กรที่ไม่มีแผนรองรับด้านโลจิสติกส์ทำให้องค์กรและพนักงานต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ
เกือบ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามหรือจำนวน 28% ระบุว่าความสามารถในการอพยพเคลื่อนย้ายพนักงานเป็นความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ข้อนี้ถูกเลือกมากสุดในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ดูแลพนักงานในต่างประเทศจำนวน 39% และผู้ที่ประจำอยู่ที่แอฟริกา ตะวันออกกลางและญี่ปุ่น จำนวน 37% ตามลำดับ
73% ของผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพคาดการณ์ว่าในปี2564 การอพยพเคลื่อนย้ายมักเกิดจากเหตุผลทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับโควิด -19
•ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียมองว่าจะเพิ่มขึ้น 80%
•1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้อ้างถึงการปิดพรมแดนประเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามในออสเตรเลียมองว่าจะเพิ่มขึ้น 40% และผู้ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์มองว่าจะเพิ่มขึ้น 50%
•ในขณะที่ 1 ใน 5 หรือ 21% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด คิดว่าภัยธรรมชาติเป็นสาเหตุหลักในการเคลื่อนย้ายมากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามในอเมริกามองว่าจะเพิ่มขึ้น 34% ผู้ตอบแบบสอบถามในญี่ปุ่นมองว่าเพิ่มขึ้น 36%
•ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งสำคัญในแอฟริกาและตะวันออกกลาง ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 37% คิดว่านี่เป็นเหตุผลในการอพยพเคลื่อนย้ายในปีหน้า ซึ่งสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ (โดยรวม 25%) ดังแสดงให้เห็นในแผนที่ Risk Map ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ร้อยละ 55 ของประเทศในแอฟริกาบางส่วนหรือทั้งหมดมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระดับที่สูงหรือรุนแรง จากการเพิ่มขึ้นของความรุนแรงและการจลาจล
สำหรับ 5 อันดับความท้าทายสำหรับองค์กรในการดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน การสำรวจความคิดเห็นนี้ค้นพบว่า องค์กรยังคงมีช่องโหว่ที่ยังไม่สามารถให้การดูแลด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยแก่พนักงานทั้งหมด
ความท้าทายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด
1. ความพอเพียงของทรัพยากรที่จะจัดการกับโควิด-19 54%
2. การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยที่ถูกต้องและทันสมัย40%
3. การให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับความเสี่ยง 35%
4. การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพจิต 33%
5. การสื่อสารในช่วงภาวะวิกฤต33%
ทั้งนี้อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอสได้มอบหมายให้บริษัท Ipsos MORI ทำแบบสำรวจทางออนไลน์กับผู้บริหารความเสี่ยงจำนวน 1,425 คนจาก 99 ประเทศที่เลือกเข้าร่วมการสำรวจ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้มอบกลุ่มตัวอย่างให้แก่บริษัท Ipsos MORI ซึ่งได้แก่ ลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ และการทำแบบสอบถามภาคสนามจัดทำในระหว่างวันที่ 22 กันยายนถึง 19 ตุลาคม 2563 ได้แก่ กลุ่มต่อไปนี้
1.ผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานในประเทศ จำนวน 968 คน
2.ผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานในต่างประเทศ จำนวน 442 คน
3.ผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานในพื้นที่ห่างไกล จำนวน 545 คน
4. ผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานที่เดินทางเพื่อธุรกิจ จำนวน 918 คน
5.ผู้ที่รับผิดชอบดูแลนักเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษา จำนวน 176 คน
6. เอเชีย จำนวน 515 คน
7.โอเชียเนีย จำนวน 151 คน
8. ยุโรป รวมรัสเซีย จำนวน 286 คน
9. แอฟริกาและตะวันออกกลาง จำนวน 143 คน
10. อเมริกา จำนวน 321 คน
11. ออสเตรเลีย จำนวน 115 คน
12. อินเดีย จำนวน 134 คน
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ทำแบบสำรวจเกี่ยวกับความเสี่ยงในปี 2564 พบว่า ระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานองค์กรทั่วโลกแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี
การคาดการณ์นี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการทำแบบสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “แนวโน้มความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ” ไปยังผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพจำนวน 1,400 คน จาก 99 ประเทศทั่วโลก ดำเนินการแบบสำรวจโดยบริษัท อิพซอส โมริ (Ipsos MORI) เป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากสภาความยืดหยุ่นของแรงงาน (Workforce Resilience Council) และจากการรวบรวมข้อมูลของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส
*** อันดับความเสี่ยง คาดการณ์โดยอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอสประจำปี 2564 ได้แก่
•ความปั่นป่วนทางการเมืองจะทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบสุขและอาชญากรรม
•ทีมบริหารจัดการภาวะวิกฤตโรคระบาดจะปรับแนวทางใหม่ ๆ ในการดูแลพนักงาน
•ความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาดจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
•การเพิ่มขึ้นของข้อมูลข่าวสารที่ผิด ๆ ทำให้เกิดความต้องการข้อมูลด้านสูขภาพและความปลอดภัยจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
•ปัญหาสุขภาพจิตจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ
•การมุ่งความสนใจไปที่โควิด 19 เพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดจุดบอด ไม่เห็นความเสี่ยงด้านอื่น ๆ
*** ข้อมูลหลักที่ค้นพบจากการสำรวจความคิดเห็น
ความเสี่ยงของพนักงานแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีและคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในปี 2564
ความเสี่ยงในที่ทำงานแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2564 ผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพประมาณ 8 ใน 10 คนเชื่อว่าความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่พนักงานต้องเผชิญเพิ่มขึ้นในปี 2563 (โดยเฉพาะ พนักงานในประเทศ 85%, พนักงานที่ทำงานในต่างประเทศ 81%, นักเรียน นักศึกษาและเจ้าหน้าที่สถานศึกษา 80%, นักธุรกิจที่เดินทาง 79% และพนักงานที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกล 77%)
เกือบ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2564 ซึ่งเป็นความกังวลที่เกิดขึ้นมากที่สุดในเอเชียโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานที่ทำงานในต่างประเทศ (60%) และผู้ที่เดินทาง (60%)
ผู้ตอบแบบสอบถามจากสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ (91%) รายงานความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นควบคู่กับการลดทอนความไว้วางใจในรัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงานด้านสุขภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามสายอาชีพความเสี่ยงจำนวน 1 ใน 3 มองว่านี่เป็นความท้าทายหลัก (31%) ส่วนใหญ่รู้สึกถึงความรุนแรงในอเมริกาจำนวน 40%
สำหรับจำนวนพนักงานที่เดินทางมีสถิติที่ลดลงในปี 2561 เป็นจำนวน 47% เทียบกับตัวเลขที่สูงในปี 2559 เป็นอัตรา ร้อยละ72 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์โจมตีหรือการก่อการร้ายในพื้นที่ทิ่คิดว่าปลอดภัย ทำให้องค์กรจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับต้น ๆ
นพ. นีล เนอร์วิช ผู้อำนวยการกลุ่ม ฝ่ายการแพทย์ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ให้ความเห็นว่า “การแพร่ระบาดของโควิด -19 ก่อให้เกิดวิกฤต 3 ด้านได้แก่ วิกฤตด้านสาธารณสุข การเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานและธุรกิจในระดับโลก สิ่งนี้ทวีความรุนแรงของการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ มากขึ้น ในขณะที่มีข่าวการพัฒนาวัคซีนและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ของอินเตอร์เนชั่นแนลเอสโอเอสที่ให้คำแนะนำและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ นับจากนี้องค์กรจำเป็นต้องปรับและพัฒนานโยบายดูแลพนักงานให้มากขึ้น เฉกเช่นเหตุการณ์ 9/11 ที่นายจ้างหันมาดูแลด้านความปลอดภัยของพนักงานมากขึ้น โรคระบาดนี้ก็เช่นกัน ส่งผลให้ห้องค์กรจำเป็นต้องหันมาปรับปรุงแนวทางการดูแลความเสี่ยงด้านสุขภาพของพนักงาน”
“การระบาดของโควิด 19 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจปัญหาด้านสุขภาพในระดับผู้บริหาร เกิดความต้องการคำแนะนำที่ทันต่อเหตุการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสร้างความรับผิดชอบในกลุ่มองค์กรด้านสุขภาพของพนักงานและผู้ที่ทำงานจากที่บ้าน เนื่องจากองค์กรพยายามให้ธุรกิจกลับมาดำเนินได้ตามปกติโดยเร็ว โควิด 19 จะเป็นปรึซึ่มที่ทำให้มองทะลุไปเห็นความเสี่ยงด้านอื่น ๆ มุมมองความรับผิดชอบในการดูแลพนักงานในแบบดั้งเดิมจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากล เช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาติ แนวคิดนี้จะได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากการเดินทางจะกลับมาอีกครั้งเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งสิ่งนี้จำเป็นต้องดำเนินการอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ให้มีการจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เดินทาง”
*** ช่องว่างของผลผลิตในปี 2564
ผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รู้สึกว่า โรคติดเชื้อ (รวมถึง โควิด 19 มาลาเรีย ไข้เลือดออก อีโบลา ซิก้าและอื่น ๆ) ทำให้ผลผลิตของพนักงานลดลงในปี 2564 และ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (ไม่รวมผู้ดูแลนักเรียนและเจ้าหน้าที่สถานศึกษา) คาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียน นักศึกษาและเจ้าหน้าที่สถานศึกษามองว่าปัญหาด้านสุขภาพจิต จะเพิ่มขึ้น 43% อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญของสภาแรงงาน มองว่าความปัญหาด้านสุขภาพจิตจะแซงหน้าปัญหาโควิด-19 ในปีหน้า
นอกจานี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลต่อความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ลดลงอย่างมาก ได้แก่ การจัดอันดับความเสี่ยงของประเทศ ความกังวลด้านการขนส่ง ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยต่าง ๆ สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้ดูแลพนักงานที่เดินทางมองว่า ภัยด้านภูมิศาสตร์ทางการเมืองมีจำนวน 30% ความไม่สงบสุข 25% ภัยด้านความปลอดภัย 32% ซึ่งทั้งหมดมีอัตราความเสี่ยงที่น้อยกว่าปีที่แล้ว (52%, 52% และ 68% ตามลำดับ)
มร.มิค ชาร์พ ผู้อำนวยการบริการด้านความมั่นคงปลอดภัยของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า การศึกษาค้นพบความไม่เชื่อมโยงและไม่เห็นระดับความเสี่ยงที่มีผลต่อธุรกิจ โดยรวมแล้วปัญหาด้านความปลอดภัยมีสัดส่วนสูงขึ้นเนื่องจากโควิด -19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ความไม่สงบและการประท้วงทางการเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับแรงหนุนจากการแพร่ระบาดของโควิด ในทำนองเดียวกัน ระดับของอาชญากรรมก็เพิ่มขึ้นตามแต่ละพื้นที่ และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความตกต่ำทางด้านเศรษฐกิจสังคมและด้านจิตวิทยาเนื่องจากภาวะวิฤกตโควิด
ประชากรทั่วไปและธุรกิจต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่ความต้องการและการใช้มาตรการป้องกันเกี่ยวกับโควิด-19 อย่างไรก็ตามปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยก็ยังเกิดขึ้นตลอด เห็นได้จากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในกรุงเวียนนาเมื่อไม่นานมานี้ ในทำนองเดียวกันการตอบสนองต่อภัยที่มีผลกระทบสูง เช่น ภัยจากธรรมชาติก็มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเนื่องจากข้อกำหนดทางการแพทย์และข้อจำกัดในการเดินทางที่ไม่แน่นอน
*** ความเสี่ยงในการอพยพเคลื่อนย้าย
มร. มิค ชาร์ป กล่าวต่อว่า “ความจำเป็นในการอพยพเคลื่อนย้ายผู้ที่จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน ล้วนเกี่ยวข้องกับมาตรการความปลอดภัยที่ยุ่งยากซับซ้อนนั้นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ความยุ่งยากในด้านโลจิสติกส์ที่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญและการคำนึงผลกระทบต่อผลประกอบการขององค์กร เราพบว่าองค์กรที่ไม่มีแผนรองรับด้านโลจิสติกส์ทำให้องค์กรและพนักงานต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ
เกือบ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามหรือจำนวน 28% ระบุว่าความสามารถในการอพยพเคลื่อนย้ายพนักงานเป็นความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ข้อนี้ถูกเลือกมากสุดในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ดูแลพนักงานในต่างประเทศจำนวน 39% และผู้ที่ประจำอยู่ที่แอฟริกา ตะวันออกกลางและญี่ปุ่น จำนวน 37% ตามลำดับ
73% ของผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพคาดการณ์ว่าในปี2564 การอพยพเคลื่อนย้ายมักเกิดจากเหตุผลทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับโควิด -19
•ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียมองว่าจะเพิ่มขึ้น 80%
•1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้อ้างถึงการปิดพรมแดนประเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามในออสเตรเลียมองว่าจะเพิ่มขึ้น 40% และผู้ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์มองว่าจะเพิ่มขึ้น 50%
•ในขณะที่ 1 ใน 5 หรือ 21% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด คิดว่าภัยธรรมชาติเป็นสาเหตุหลักในการเคลื่อนย้ายมากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามในอเมริกามองว่าจะเพิ่มขึ้น 34% ผู้ตอบแบบสอบถามในญี่ปุ่นมองว่าเพิ่มขึ้น 36%
•ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งสำคัญในแอฟริกาและตะวันออกกลาง ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 37% คิดว่านี่เป็นเหตุผลในการอพยพเคลื่อนย้ายในปีหน้า ซึ่งสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ (โดยรวม 25%) ดังแสดงให้เห็นในแผนที่ Risk Map ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ร้อยละ 55 ของประเทศในแอฟริกาบางส่วนหรือทั้งหมดมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระดับที่สูงหรือรุนแรง จากการเพิ่มขึ้นของความรุนแรงและการจลาจล
สำหรับ 5 อันดับความท้าทายสำหรับองค์กรในการดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน การสำรวจความคิดเห็นนี้ค้นพบว่า องค์กรยังคงมีช่องโหว่ที่ยังไม่สามารถให้การดูแลด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยแก่พนักงานทั้งหมด
ความท้าทายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด
1. ความพอเพียงของทรัพยากรที่จะจัดการกับโควิด-19 54%
2. การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยที่ถูกต้องและทันสมัย40%
3. การให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับความเสี่ยง 35%
4. การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพจิต 33%
5. การสื่อสารในช่วงภาวะวิกฤต33%
ทั้งนี้อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอสได้มอบหมายให้บริษัท Ipsos MORI ทำแบบสำรวจทางออนไลน์กับผู้บริหารความเสี่ยงจำนวน 1,425 คนจาก 99 ประเทศที่เลือกเข้าร่วมการสำรวจ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้มอบกลุ่มตัวอย่างให้แก่บริษัท Ipsos MORI ซึ่งได้แก่ ลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ และการทำแบบสอบถามภาคสนามจัดทำในระหว่างวันที่ 22 กันยายนถึง 19 ตุลาคม 2563 ได้แก่ กลุ่มต่อไปนี้
1.ผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานในประเทศ จำนวน 968 คน
2.ผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานในต่างประเทศ จำนวน 442 คน
3.ผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานในพื้นที่ห่างไกล จำนวน 545 คน
4. ผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานที่เดินทางเพื่อธุรกิจ จำนวน 918 คน
5.ผู้ที่รับผิดชอบดูแลนักเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษา จำนวน 176 คน
6. เอเชีย จำนวน 515 คน
7.โอเชียเนีย จำนวน 151 คน
8. ยุโรป รวมรัสเซีย จำนวน 286 คน
9. แอฟริกาและตะวันออกกลาง จำนวน 143 คน
10. อเมริกา จำนวน 321 คน
11. ออสเตรเลีย จำนวน 115 คน
12. อินเดีย จำนวน 134 คน