สนข. คาดหยุดยาว 24-28 ก.ค. ประชาชนเดินทาง ด้วยระบบขนส่งสาธารณะทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ รวม 230,000 เที่ยว หรือประมาณ 9 ล้านคน ถอดบทเรียนเดินทางช่วงหยุดยาวเข้าพรรษาเตรียมพร้อมอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 กำหนดให้วันจันทร์ที่ 27 ก.ค. 2563 เป็นวันหยุดราชการชดเชยวันสงกรานต์ ประจำปี 2563 ประกอบกับวันที่ 28 ก.ค.2563 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ 10 จึงทำให้มีวันหยุดยาวต่อเนื่องรวม 4 วัน ระหว่างวันที่ 24 – 28 ก.ค. 2563 ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ สนข. เป็นหน่วยงานหลักเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินมาตรการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงวันหยุดยาวดังกล่าว โดยให้ถอดบทเรียนเมื่อช่วงวันหยุดอาสาฬหบูชา – เข้าพรรษา (3 – 7 ก.ค.) ที่ผ่านมา
โดยคาดการณ์ปริมาณการเดินทางของประชาชนด้วยระบบขนส่งสาธารณะในช่วง 5 วัน ระหว่างวันที่ 24- 28 ก.ค. 2563 โดยคาดว่าจะมีการจัดบริการขนส่งสาธารณะทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ รวมประมาณ 230,000 เที่ยว บริการรองรับผู้โดยสาร รวมประมาณ 9 ล้านคน
อีกทั้งคาดว่าจะมีผู้เดินทางระหว่างจังหวัดมากขึ้นกว่าช่วงวันหยุดอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ดังนี้
การเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 5 วันสะสม จำนวน 6.9 ล้าน (คน - เที่ยว) ได้แก่ 1. รถประจำทาง จำนวน 3.88 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 56% 2.รถไฟฟ้า จำนวน 2.67 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 43% และ 3. เรือด่วนเจ้าพระยา/คลองแสนแสบ จำนวน 0.07 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 1%
ในส่วนของการเดินทางระหว่างจังหวัดและในจังหวัด รวม 5 วันสะสม จำนวน 2.1 ล้าน (คน - เที่ยว) ได้แก่ 1. รถ บขส./รถหมวด 3 – 4 จำนวน 0.93 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 44% 2. เรือ จำนวน 0.55 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 26% 3. เครื่องบิน จำนวน 0.55 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 16% และ 4. รถไฟระหว่างเมือง จำนวน 0.28 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 14%
โดย สนข. ได้บูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงาน พบว่า ภาพรวมสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนบนโครงข่ายของกระทรวง คมนาคม (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ก.ค. 2563) มีการเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น จำนวนรวม 369 ครั้ง โดยการขับรถเร็วเกินกำหนดถือเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุสูง ถึง 71 % สาเหตุรองลงมามาจากตัดหน้ากระชั้นชิดและหลับใน ซึ่งลักษณะของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น 3 ลำดับแรก ได้แก่ รถพลิกคว่ำ รถชนท้าย และรถชนกันหรือเฉี่ยวชน ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังพบว่า ถนนทางตรงมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงที่สุด ถึง 67% เมื่อเทียบกับลักษณะทางประเภทอื่นๆ สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ชลบุรี 34 ครั้ง สุพรรณบุรี 23 ครั้ง และกรุงเทพมหานคร 21 ครั้ง
สำหรับมาตรการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยฯ ในช่วงวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 24 – 28 ก.ค. 2563 จะยังคงดำเนินมาตรการต่างๆ ตามแนวทางหลักของช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา ประกอบด้วย 2 แผนหลัก ได้แก่ แผนรองรับการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและแผนรองรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนเกิดความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง อาทิ การบริการระบบขนส่งสาธารณะต้องเข้าถึงง่าย เพียงพอไม่ล่าช้า ไม่มีผู้โดยสารตกค้าง ไม่โก่งราคา ไม่ทิ้งผู้โดยสาร และทันกับเหตุการณ์
สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในคุณภาพของการให้บริการขนส่งสาธารณะ ด้วยการดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณสถานีโดยสาร ภายในรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ เรือโดยสาร และเครื่องบิน อย่างเข้มข้นและจริงจัง กำกับและควบคุม เพื่อป้องกันจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากการเดินทาง บริหารจัดการจราจรทางถนนให้มีความคล่องตัวและไม่ติดขัดอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในขนส่งสาธารณะรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ พ.ศ. 2563
สนข. คาดหยุดยาว 24-28 ก.ค. ประชาชนเดินทาง ด้วยระบบขนส่งสาธารณะทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ รวม 230,000 เที่ยว หรือประมาณ 9 ล้านคน ถอดบทเรียนเดินทางช่วงหยุดยาวเข้าพรรษาเตรียมพร้อมอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 กำหนดให้วันจันทร์ที่ 27 ก.ค. 2563 เป็นวันหยุดราชการชดเชยวันสงกรานต์ ประจำปี 2563 ประกอบกับวันที่ 28 ก.ค.2563 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ 10 จึงทำให้มีวันหยุดยาวต่อเนื่องรวม 4 วัน ระหว่างวันที่ 24 – 28 ก.ค. 2563 ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ สนข. เป็นหน่วยงานหลักเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินมาตรการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงวันหยุดยาวดังกล่าว โดยให้ถอดบทเรียนเมื่อช่วงวันหยุดอาสาฬหบูชา – เข้าพรรษา (3 – 7 ก.ค.) ที่ผ่านมา
โดยคาดการณ์ปริมาณการเดินทางของประชาชนด้วยระบบขนส่งสาธารณะในช่วง 5 วัน ระหว่างวันที่ 24- 28 ก.ค. 2563 โดยคาดว่าจะมีการจัดบริการขนส่งสาธารณะทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ รวมประมาณ 230,000 เที่ยว บริการรองรับผู้โดยสาร รวมประมาณ 9 ล้านคน
อีกทั้งคาดว่าจะมีผู้เดินทางระหว่างจังหวัดมากขึ้นกว่าช่วงวันหยุดอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ดังนี้
การเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 5 วันสะสม จำนวน 6.9 ล้าน (คน - เที่ยว) ได้แก่ 1. รถประจำทาง จำนวน 3.88 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 56% 2.รถไฟฟ้า จำนวน 2.67 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 43% และ 3. เรือด่วนเจ้าพระยา/คลองแสนแสบ จำนวน 0.07 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 1%
ในส่วนของการเดินทางระหว่างจังหวัดและในจังหวัด รวม 5 วันสะสม จำนวน 2.1 ล้าน (คน - เที่ยว) ได้แก่ 1. รถ บขส./รถหมวด 3 – 4 จำนวน 0.93 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 44% 2. เรือ จำนวน 0.55 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 26% 3. เครื่องบิน จำนวน 0.55 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 16% และ 4. รถไฟระหว่างเมือง จำนวน 0.28 ล้าน (คน - เที่ยว) คิดเป็น 14%
โดย สนข. ได้บูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงาน พบว่า ภาพรวมสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนบนโครงข่ายของกระทรวง คมนาคม (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ก.ค. 2563) มีการเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น จำนวนรวม 369 ครั้ง โดยการขับรถเร็วเกินกำหนดถือเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุสูง ถึง 71 % สาเหตุรองลงมามาจากตัดหน้ากระชั้นชิดและหลับใน ซึ่งลักษณะของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น 3 ลำดับแรก ได้แก่ รถพลิกคว่ำ รถชนท้าย และรถชนกันหรือเฉี่ยวชน ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังพบว่า ถนนทางตรงมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงที่สุด ถึง 67% เมื่อเทียบกับลักษณะทางประเภทอื่นๆ สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ชลบุรี 34 ครั้ง สุพรรณบุรี 23 ครั้ง และกรุงเทพมหานคร 21 ครั้ง
สำหรับมาตรการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยฯ ในช่วงวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 24 – 28 ก.ค. 2563 จะยังคงดำเนินมาตรการต่างๆ ตามแนวทางหลักของช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา ประกอบด้วย 2 แผนหลัก ได้แก่ แผนรองรับการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและแผนรองรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนเกิดความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง อาทิ การบริการระบบขนส่งสาธารณะต้องเข้าถึงง่าย เพียงพอไม่ล่าช้า ไม่มีผู้โดยสารตกค้าง ไม่โก่งราคา ไม่ทิ้งผู้โดยสาร และทันกับเหตุการณ์
สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในคุณภาพของการให้บริการขนส่งสาธารณะ ด้วยการดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณสถานีโดยสาร ภายในรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ เรือโดยสาร และเครื่องบิน อย่างเข้มข้นและจริงจัง กำกับและควบคุม เพื่อป้องกันจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากการเดินทาง บริหารจัดการจราจรทางถนนให้มีความคล่องตัวและไม่ติดขัดอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในขนส่งสาธารณะรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ พ.ศ. 2563