“ศักดิ์สยาม” ชี้แผนฟื้นฟูการบินไทยตามกรอบ คนร.เห็นชอบยังมีความเสี่ยง 23 ข้อ ขีดเส้น พ.ค.การบินไทยต้องทำรายละเอียดให้ชัด Action Plan ต้องน่าเชื่อถือ หากทำไม่ได้อาจต้องใช้แนวทางอื่น รวมถึงยื่นศาลตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟู
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงแผนฟื้นฟู บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า แผนฟื้นฟูที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) นั้น เป็นกรอบใหญ่ที่ยังไม่มีรายละเอียด เช่น แผนบริหารหนี้ แผนรายได้ แผนรายจ่าย และต้องมีเงื่อนไข ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เข้ามาพิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากแผนฟื้นฟูเดิมยังไม่มีเรื่องโควิด-19 ซึ่งได้ให้การบินไทยไปจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาแผนที่การบินไทยจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม
ทั้งนี้ กรอบแผนฟื้นฟูที่ คนร.อนุมัติเป็นหลักการกว้างๆ ประมาณ 7-9 เรื่อง ซึ่งเป็นหลักการปกติของการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจสายการบินที่ต้องทำ แต่การนำกรอบไปสู่การปฏิบัติจะต้องมีแผนละเอียด ว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร และมีผลเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ในแผนฟื้นฟูยังระบุว่ามีความเสี่ยง 23 เรื่อง ซึ่งตนเห็นว่าหากยังมีความเสี่ยงอยู่ แม้เพียงเรื่องเดียวก็ไม่ได้ ดังนั้นการบินไทยต้องไปคิดให้รอบคอบ
“ตั้งแต่ก่อตั้ง การบินไทยถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จ มีกำไร แต่ในช่วงหลังมีปัญหา ซึ่งในปี 2558 เคยมีการดำเนินการฟื้นฟูใกล้เคียงในลักษณะนี้ ดังนั้นต้องนำข้อมูลมาประมวลทั้งหมด หากทุกอย่างชัดเจนก็เดินหน้าต่อไปได้ แต่ถ้าไม่ชัดเจน แล้วต้องตัดสินใจสิ่งที่ทำแล้วจะเป็นภาระต่อรัฐบาลและประชาชนก็ไม่ทำ นั่นคือเหตุผลที่ยังไม่สามารถเสนอคณะรัฐมนตรีได้” รมว.คมนาคมกล่าว
วันนี้ต้องพิจารณาปัญหาของการบินไทยด้วยใจที่ปราศจากอคติ และดูว่าอะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้การบินไทยกลับมาแข็งแรง และเปรียบเทียบกับสายการบินอื่นๆ ที่มีปัญหาเหมือนการบินไทยว่ามีการดำเนินงานอย่างไร เพราะหากในอดีตเคยดำเนินการไปแล้วแต่ไม่ได้ผล แล้วจะทำแบบเดิมๆ อีกคงไม่ได้ แผนฟื้นฟูนี้ต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจน คือ Action Plan ต้องชัดเจน who what When Where Why KPI ต้องมีอย่างละเอียดทั้งหมด แผนรายได้ต้องมี เช่นนั้นจะใส่เงินไปให้ได้อย่างไร แผนบริหารหนี้จะเจรจาเจ้าหนี้อย่างไร แฮร์คัตกันอย่างไร รายจ่ายจะลดอย่างไร ซึ่งหลายเรื่องเคยพูดหมดไปแล้ว เครื่องไม่ได้บินเลย ทำไมค่าน้ำมันไม่ลด เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาการบินไทยจะถึงล้มละลายหรือไม่ นายศักดิ์สยามกล่าวว่า หากการบินไทยไม่สามารถทำรายละเอียดของแผนฟื้นฟูได้ หรือแผนยังมีความเสี่ยงอยู่ ก็จำเป็นที่ต้องหาแนวทางแบบอื่น ซึ่งไม่อยากให้ไปถึงขั้นยื่นศาลเข้ามากำกับกิจการ ทั้งนี้การไปสู่ศาลนั้นอาจไม่ถึงขั้นยื่นล้มละลาย แต่สามารถยื่นเรื่องตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟู กรณีที่มีภาระหนี้สูงกว่าทรัพย์สิน ซึ่งต้องรอให้การบินไทยได้เร่งทำรายละเอียดของ Action Plan มาก่อน โดยจะต้องทำให้เสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ เพราะหาก Action Plan ไม่เสร็จ แสดงว่าการบินไทยไม่สามารถเดินต่อไปได้ ภายใต้การฟื้นฟูที่ คนร.ได้อนุมัติกรอบไว้
อย่างไรก็ตาม การนำเงินภาษีอากรไปใช้จำนวนมากๆ ไปใช้กับบริษัทการบินไทย ในขณะที่ประเทศมีความจำเป็นในการใช้งบประมาณในการป้องกัน เยียวยา ฟื้นฟู จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เรื่องไหนสำคัญกว่ากัน
ดังนั้น หากการบินไทยแก้ความเสี่ยงไม่ได้ก็คงอนุมัติไม่ได้ เพราะจะให้นำเงินใส่เข้าไปในขณะที่บริษัทยังมีความเสี่ยงอยู่ก็ไม่สมควร เราคงไม่อยากเป็นเหมือนมาเลเซียแอร์ไลน์ ซึ่งการบินไทยต้องไปทำมา จะให้รมต.คมนาคมลงไปทำแผนให้คงไม่ใช่ ส่วนจะเสร็จเร็วแค่ไหนอยู่ที่การบินไทย และหากทำแผนแล้วไม่สมบูรณ์ ยังมีความเสี่ยงอยู่ จะให้อนุมัติได้อย่างไร
“หากการบินไทยทำด้วยความเข้าใจในกรอบ คนร.อนุมัติที่ต้องการให้การบินไทยกลับมาแข็งแรง และทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากันก็เดินหน้าไปได้ แต่หากยังเห็นแก่ตัวเอง การบินไทยก็คงกลับมายาก” นายศักดิ์สยามกล่าว
“ศักดิ์สยาม” ชี้แผนฟื้นฟูการบินไทยตามกรอบ คนร.เห็นชอบยังมีความเสี่ยง 23 ข้อ ขีดเส้น พ.ค.การบินไทยต้องทำรายละเอียดให้ชัด Action Plan ต้องน่าเชื่อถือ หากทำไม่ได้อาจต้องใช้แนวทางอื่น รวมถึงยื่นศาลตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟู
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงแผนฟื้นฟู บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า แผนฟื้นฟูที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) นั้น เป็นกรอบใหญ่ที่ยังไม่มีรายละเอียด เช่น แผนบริหารหนี้ แผนรายได้ แผนรายจ่าย และต้องมีเงื่อนไข ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เข้ามาพิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากแผนฟื้นฟูเดิมยังไม่มีเรื่องโควิด-19 ซึ่งได้ให้การบินไทยไปจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาแผนที่การบินไทยจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม
ทั้งนี้ กรอบแผนฟื้นฟูที่ คนร.อนุมัติเป็นหลักการกว้างๆ ประมาณ 7-9 เรื่อง ซึ่งเป็นหลักการปกติของการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจสายการบินที่ต้องทำ แต่การนำกรอบไปสู่การปฏิบัติจะต้องมีแผนละเอียด ว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร และมีผลเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ในแผนฟื้นฟูยังระบุว่ามีความเสี่ยง 23 เรื่อง ซึ่งตนเห็นว่าหากยังมีความเสี่ยงอยู่ แม้เพียงเรื่องเดียวก็ไม่ได้ ดังนั้นการบินไทยต้องไปคิดให้รอบคอบ
“ตั้งแต่ก่อตั้ง การบินไทยถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จ มีกำไร แต่ในช่วงหลังมีปัญหา ซึ่งในปี 2558 เคยมีการดำเนินการฟื้นฟูใกล้เคียงในลักษณะนี้ ดังนั้นต้องนำข้อมูลมาประมวลทั้งหมด หากทุกอย่างชัดเจนก็เดินหน้าต่อไปได้ แต่ถ้าไม่ชัดเจน แล้วต้องตัดสินใจสิ่งที่ทำแล้วจะเป็นภาระต่อรัฐบาลและประชาชนก็ไม่ทำ นั่นคือเหตุผลที่ยังไม่สามารถเสนอคณะรัฐมนตรีได้” รมว.คมนาคมกล่าว
วันนี้ต้องพิจารณาปัญหาของการบินไทยด้วยใจที่ปราศจากอคติ และดูว่าอะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้การบินไทยกลับมาแข็งแรง และเปรียบเทียบกับสายการบินอื่นๆ ที่มีปัญหาเหมือนการบินไทยว่ามีการดำเนินงานอย่างไร เพราะหากในอดีตเคยดำเนินการไปแล้วแต่ไม่ได้ผล แล้วจะทำแบบเดิมๆ อีกคงไม่ได้ แผนฟื้นฟูนี้ต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจน คือ Action Plan ต้องชัดเจน who what When Where Why KPI ต้องมีอย่างละเอียดทั้งหมด แผนรายได้ต้องมี เช่นนั้นจะใส่เงินไปให้ได้อย่างไร แผนบริหารหนี้จะเจรจาเจ้าหนี้อย่างไร แฮร์คัตกันอย่างไร รายจ่ายจะลดอย่างไร ซึ่งหลายเรื่องเคยพูดหมดไปแล้ว เครื่องไม่ได้บินเลย ทำไมค่าน้ำมันไม่ลด เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาการบินไทยจะถึงล้มละลายหรือไม่ นายศักดิ์สยามกล่าวว่า หากการบินไทยไม่สามารถทำรายละเอียดของแผนฟื้นฟูได้ หรือแผนยังมีความเสี่ยงอยู่ ก็จำเป็นที่ต้องหาแนวทางแบบอื่น ซึ่งไม่อยากให้ไปถึงขั้นยื่นศาลเข้ามากำกับกิจการ ทั้งนี้การไปสู่ศาลนั้นอาจไม่ถึงขั้นยื่นล้มละลาย แต่สามารถยื่นเรื่องตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟู กรณีที่มีภาระหนี้สูงกว่าทรัพย์สิน ซึ่งต้องรอให้การบินไทยได้เร่งทำรายละเอียดของ Action Plan มาก่อน โดยจะต้องทำให้เสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ เพราะหาก Action Plan ไม่เสร็จ แสดงว่าการบินไทยไม่สามารถเดินต่อไปได้ ภายใต้การฟื้นฟูที่ คนร.ได้อนุมัติกรอบไว้
อย่างไรก็ตาม การนำเงินภาษีอากรไปใช้จำนวนมากๆ ไปใช้กับบริษัทการบินไทย ในขณะที่ประเทศมีความจำเป็นในการใช้งบประมาณในการป้องกัน เยียวยา ฟื้นฟู จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เรื่องไหนสำคัญกว่ากัน
ดังนั้น หากการบินไทยแก้ความเสี่ยงไม่ได้ก็คงอนุมัติไม่ได้ เพราะจะให้นำเงินใส่เข้าไปในขณะที่บริษัทยังมีความเสี่ยงอยู่ก็ไม่สมควร เราคงไม่อยากเป็นเหมือนมาเลเซียแอร์ไลน์ ซึ่งการบินไทยต้องไปทำมา จะให้รมต.คมนาคมลงไปทำแผนให้คงไม่ใช่ ส่วนจะเสร็จเร็วแค่ไหนอยู่ที่การบินไทย และหากทำแผนแล้วไม่สมบูรณ์ ยังมีความเสี่ยงอยู่ จะให้อนุมัติได้อย่างไร
“หากการบินไทยทำด้วยความเข้าใจในกรอบ คนร.อนุมัติที่ต้องการให้การบินไทยกลับมาแข็งแรง และทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากันก็เดินหน้าไปได้ แต่หากยังเห็นแก่ตัวเอง การบินไทยก็คงกลับมายาก” นายศักดิ์สยามกล่าว