“ชาญศิลป์” เปิดใจก่อนพ้นซีอีโอ ปตท. 12 พ.ค.นี้ เผยการทำงานในองค์กร ปตท. 38 ปีเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจที่สุด แต่เสียใจที่สุดคือต้องแก้ปัญหาการทุจริตทั้งคดีปาล์มน้ำมันอินโดรามา-โรลส์-รอยซ์ ชี้เป็นบทเรียนที่ต้องพึงระวัง พร้อมส่งไม้ต่อให้ “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” ซีอีโอคนใหม่
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดใจก่อนอำลาตำแหน่งในวันที่ 12 พ.ค.ว่า มีเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยความภูมิใจมากที่สุด คือการเป็นพนักงานปตท.มา 38 ปี ทำสิ่งต่างๆ ให้ ปตท.แข็งแกร่ง ได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่รู้สึกเสียใจที่สุด คือต้องแก้ปัญหาการทุจริต ที่มีอดีตพนักงานร่วมกับนักการเมืองบางคน, คนภายนอกนำสมบัติสาธารณะมาเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นคดีปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซีย, การจ่ายสินบนบริษัทโรลส์-รอยซ์ ซึ่งขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือสำนักงาน ป.ป.ช. แม้ยังไม่มีการพิพากษา และมีผลที่ชัดเจน ก็เป็นบทเรียนที่ต้องระวังต่อไป
ที่ผ่านมาตนให้ความสำคัญในการสร้างคนทุกรุ่นให้ทำงานร่วมกัน รองรับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งวางแนวทางป้องกันการทุจริต และอื่นๆ
"ส่วนการส่งไม้ต่อให้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซีอีโอ ปตท.คนใหม่ เรื่องนี้ ปตท.ทำงานกันเป็นทีมเวิร์กอยู่แล้ว เชื่อว่าจะช่วยขับเคลื่อนสานต่อกลยุทธ์การลงทุนที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันอยู่แล้ว โดยนับจากนี้ไป เทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะหลังโควิด-19" นายชาญศิลป์กล่าว
นายชาญศิลป์กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ (New Normal) สำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าในอนาคต ซึ่งกลุ่ม ปตท.ต้องติดตามและปรับแผนให้เหมาะสมในอนาคต โดยพฤติกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นคือ การใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้นทั้งการทำงานที่บ้าน การสั่งซื้อสินค้า ประชาชนจะให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพ, เวชศาสตร์แห่งการชะลอวัย, สินค้าอาหาร, การค้าปลีก ซึ่งสินค้าด้านสุขภาพ เช่นหน้ากากอนามัย ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดใจก่อนอำลาตำแหน่งในวันที่ 12 พ.ค.ว่า มีเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยความภูมิใจมากที่สุด คือการเป็นพนักงานปตท.มา 38 ปี ทำสิ่งต่างๆ ให้ ปตท.แข็งแกร่ง ได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่รู้สึกเสียใจที่สุด คือต้องแก้ปัญหาการทุจริต ที่มีอดีตพนักงานร่วมกับนักการเมืองบางคน, คนภายนอกนำสมบัติสาธารณะมาเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นคดีปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซีย, การจ่ายสินบนบริษัทโรลส์-รอยซ์ ซึ่งขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือสำนักงาน ป.ป.ช. แม้ยังไม่มีการพิพากษา และมีผลที่ชัดเจน ก็เป็นบทเรียนที่ต้องระวังต่อไป
ที่ผ่านมาตนให้ความสำคัญในการสร้างคนทุกรุ่นให้ทำงานร่วมกัน รองรับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งวางแนวทางป้องกันการทุจริต และอื่นๆ
"ส่วนการส่งไม้ต่อให้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซีอีโอ ปตท.คนใหม่ เรื่องนี้ ปตท.ทำงานกันเป็นทีมเวิร์กอยู่แล้ว เชื่อว่าจะช่วยขับเคลื่อนสานต่อกลยุทธ์การลงทุนที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันอยู่แล้ว โดยนับจากนี้ไป เทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะหลังโควิด-19" นายชาญศิลป์กล่าว
นายชาญศิลป์กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ (New Normal) สำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าในอนาคต ซึ่งกลุ่ม ปตท.ต้องติดตามและปรับแผนให้เหมาะสมในอนาคต โดยพฤติกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นคือ การใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้นทั้งการทำงานที่บ้าน การสั่งซื้อสินค้า ประชาชนจะให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพ, เวชศาสตร์แห่งการชะลอวัย, สินค้าอาหาร, การค้าปลีก ซึ่งสินค้าด้านสุขภาพ เช่นหน้ากากอนามัย ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิต