บี.กริม เพาเวอร์ยันโควิด-19 ไม่ส่งผลต่อการแสวงหาโอกาสลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มเติม ลั่นมีเงินในมือเพียงพอ 2 หมื่นล้านบาท
นายนพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนการลงทุนและขยายธุรกิจในช่วงนี้แม้ว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการแสวงหาโอกาสการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ โดยเจรจาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลงทุน ทั้งในรูปแบบซื้อกิจการ (M&A) และศึกษาขยายการลงทุนโครงการใหม่ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีเงินสดในมือราว 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอต่อการขยายการลงทุนในปีนี้
ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อกิจการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ขนาดกำลังการผลิต 200-250 เมกะวัตต์ในประเทศมาเลเซีย และศึกษาการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มในเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ขนาดกำลังการผลิตรวมกว่า 300 เมกะวัตต์ ก็ยังดำเนินการเจรจาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ในมือราว 3,424 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ การดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 63 ยังคงเดินหน้า COD ได้ตามเป้าหมาย มีกำลังการผลิตรวมกว่า 104 เมกะวัตต์ที่จะ COD ในปี 63 ประกอบไปด้วย โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมบ่อทอง ขนาดกำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์ ที่ จ.มุกดาหาร โครงการโซลาร์ฟาร์ม ขนาดกำลังการผลิต 39 เมกะวัตต์ ที่ประเทศกัมพูชา
พร้อมกันนี้ยังมีโครงการโซลาร์รูฟท็อปรูปแบบ Private PPA รวมกำลังการผลิต 49 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการโซลาร์รูฟท็อปในนิคมอุตสาหกรรมหลักชัย จ.ระยอง 13 เมกะวัตต์ โซลาร์รูฟท็อปที่ฟิลิปปินส์ 6 เมกะวัตต์ และโซลาร์รูฟท็อป AL Madina ประเทศโอมาน 30 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนต่อผลประกอบการในปีนี้ รวมทั้งการซื้อหุ้นบริษัท อ่างทอง เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าอ่างทอง เพาเวอร์ เชื้อเพลิงพลังงานความร้อนร่วม ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 123 เมกะวัตต์
นายนพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนการลงทุนและขยายธุรกิจในช่วงนี้แม้ว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการแสวงหาโอกาสการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ โดยเจรจาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลงทุน ทั้งในรูปแบบซื้อกิจการ (M&A) และศึกษาขยายการลงทุนโครงการใหม่ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีเงินสดในมือราว 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอต่อการขยายการลงทุนในปีนี้
ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อกิจการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ขนาดกำลังการผลิต 200-250 เมกะวัตต์ในประเทศมาเลเซีย และศึกษาการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มในเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ขนาดกำลังการผลิตรวมกว่า 300 เมกะวัตต์ ก็ยังดำเนินการเจรจาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ในมือราว 3,424 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ การดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 63 ยังคงเดินหน้า COD ได้ตามเป้าหมาย มีกำลังการผลิตรวมกว่า 104 เมกะวัตต์ที่จะ COD ในปี 63 ประกอบไปด้วย โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมบ่อทอง ขนาดกำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์ ที่ จ.มุกดาหาร โครงการโซลาร์ฟาร์ม ขนาดกำลังการผลิต 39 เมกะวัตต์ ที่ประเทศกัมพูชา
พร้อมกันนี้ยังมีโครงการโซลาร์รูฟท็อปรูปแบบ Private PPA รวมกำลังการผลิต 49 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการโซลาร์รูฟท็อปในนิคมอุตสาหกรรมหลักชัย จ.ระยอง 13 เมกะวัตต์ โซลาร์รูฟท็อปที่ฟิลิปปินส์ 6 เมกะวัตต์ และโซลาร์รูฟท็อป AL Madina ประเทศโอมาน 30 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนต่อผลประกอบการในปีนี้ รวมทั้งการซื้อหุ้นบริษัท อ่างทอง เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าอ่างทอง เพาเวอร์ เชื้อเพลิงพลังงานความร้อนร่วม ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 123 เมกะวัตต์