xs
xsm
sm
md
lg

ไม่ฝืน! กกร.หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ 2.7-3% ส่งออกติดลบ 2%-0%

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


กกร.ถอย ยอมหั่นประมาณการณ์การเติบโตของจีดีพีปีนี้ลงเป็นโต 2.7-3% ส่งออกติดลบ 2%-0% หลังไร้ปัจจัยบวก รับแม้รัฐจะมีมาตรการกระตุ้นออกมาหลายเรื่องแต่ยังชดเชยไม่ได้ทั้งหมดแนะออกมาตรการเสริมอีก

นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ได้เห็นชอบที่ประชุม กกร.มีมติปรับลดประมาณการณ์อัตราการ เติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ปี 2562 ลงอยู่ที่ 2.7-3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9-3.3% การส่งออกคาดติดลบ 2-0% จากเดิมคาดติดลบ 1-1% และเงินเฟ้อคงอยู่ท่ 0.8-1.2% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยืดเยื้อ รวมถึงกรณี Brexit และทิศทางเงินบาทที่แข็งค่า

“เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม บ่งชี้ว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/2562 ยังอยู่ในภาวะที่อ่อนแรงอย่างต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรก โดยมีปัจจัยถ่วงหลักจากความเสี่ยงในภาคต่างประเทศ ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และการแข็งค่าของเงินบาทฉุดให้การส่งออกยังคงหดตัวเป็นวงกว้างทั้งในรายการสินค้าและตลาดส่งออกหลัก กระทบต่อภาคการผลิต ขณะเดียวกัน แรงขับเคลื่อนภายในประเทศแผ่วตัวลงทั้งการบริโภคและการลงทุนมีเพียงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวดีขึ้น” นายกลินทร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ทาง กกร.คาดหวังที่จะเห็นมาตรการเสริมจากภาครัฐเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการเร่งผลักดันกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2563 ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อรับมือกับความท้าทายโดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ แม้ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้าน เช่น มาตรการประกันรายได้สินค้าเกษตร มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และชิมช้อปใช้ ที่ประเมินว่าจะเม็ดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาท สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประมาณ 0.1-0.2% ซึ่งคาดว่าแรงบวกจะชดเชยผลกระทบจากปัจจัยภายนอกหลายด้านได้บ้าง แต่คงไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด

“ภาคเอกชนคาดหวังที่จะเห็นมาตรการเสริมจากภาครัฐเพิ่มเติม โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศที่ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยควรมีการเสนอราคาเป็นสกุลเงินบาทรือสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนผลกระทบจากอุทกภัยหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสาน ที่คาดว่าจะสร้างความเสียหายและกระทบต่อเศรษฐกิจประมาณ 20,000-25,000 ล้านบาท” นายกลินทร์กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น