xs
xsm
sm
md
lg

ซีพีร่วมเวทีระดับโลกตอกย้ำการดำเนินธุรกิจบนเส้นทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 มีการประชุม Responsible Business Forum on Food and Agriculture ซึ่งเป็นการประชุมของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ จากทั่วโลก โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และปีนี้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย

ในงานมีการเสวนาหลัก (Plenary Panel) ในหัวข้อ Innovation in Value Chains for Food and Nutrition Security โดยผู้ร่วมเสวนาเป็นผู้แทนระดับสูงของภาคธุรกิจและองค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม เช่น FrieslandCampina (ผู้ผลิตนมและไอศกรีมโฟร์โมส), World Business Council on Sustainable Development (WBCSD), Grow Asia, CropLife Asia

เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี เป็นหนึ่งในองค์กรธุรกิจของประเทศไทยที่เข้าร่วมการประชุม โดยคุณนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้หยิบยกประเด็นสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น

(1) การให้ความสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเครือซีพี โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร และหัวใจของการทำธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันเป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
(2) ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในสายการผลิตอาหารแบบครบวงจร โดยซีพีสามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้อย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งในแง่ความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร
(3) โครงการเลี้ยงไก่ไข่ที่เมืองผิงกู่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นตัวอย่างที่ดีของนวัตกรรม 3 ด้าน ได้แก่ การเงิน สังคม และการผลิต รวมทั้งตัวอย่างของการขยายผล (Scale) ของการใช้นวัตกรรมในธุรกิจอีกด้วย

ที่ประชุมยังได้หารือในประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น

(1) ความสำคัญของนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านอาหารที่โลกเผชิญอยู่ เพราะขณะที่ประชากรในหลายประเทศไม่มีอาหารพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ แต่อีกส่วนหนึ่งของประชากรประสบปัญหาจากน้ำหนักเกินขนาด (Obesity) และมีอาหารเหลือทิ้ง
(2) ความยั่งยืนของโลก ส่วนหนึ่งขึ้นกับการที่ประเทศต่างๆ สามารถผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรของตน โดยเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและวิธีการผลิตหรือการปลูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความเป็นธรรมทางสังคม ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
(3) ข้าวถือเป็นอาหารสำคัญของเกือบทุกภูมิภาคท้่วโลก แต่วิธีการปลูกข้าว รวมทั้งความเป็นอยู่ของชาวนา โดยเฉพาะชาวนาที่มีที่นาขนาดเล็ก ซึ่งจัดเป็นเกษตรกรรายย่อย (Smallholder Farmers) ยังประสบปัญหานานัปการ ดังนั้น การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องกระจายผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเท่าเทียมกันจนถึงเกษตรกรรายย่อย

ทั้งนี้ ที่ประชุมจะรวบรวมความคิดเห็นไปกำหนดทิศทางในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป



กำลังโหลดความคิดเห็น