xs
xsm
sm
md
lg

“เคเอฟซีไทย” ทุบสถิติขึ้นที่ 8 ของโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผู้จัดการรายวัน360 – “ยัม” เปิดกลยุทธ์เคเอฟซี หลังปรับเปลี่ยนเป็นโมเดลแฟรนไชส์ 100% ผนึก 3 แฟรนไชส์ซี ดันเคเอฟซีไทยโต 9% เปิดสาขาใหม่ถึง 75 แห่ง ทุบสถิติ ย้ำ ปีนี้จะครบ 701 สาขา ขึ้นแท่นที่ 8 ของโลก พร้อมเป้าหมาย ครบ 1,000 แห่งในปี 2563

นางแววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล ผู้จัดการทั่วไป เคเอฟซีประเทศไทย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปี2561ที่จะจบนี้ เคเอฟซีประเทศไทย มีผลประกอบการโดยรวมเติบโตถึง 9% ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และที่สำคัญคือ เป็นการเติบโตมากกว่าเป้าหมายรวมของเคเอฟซีโกลบอลที่ตั้งไว้ต้องเติบโต 7% และมีสาขาใหม่เพิ่มขึ้น 75 แห่ง ทะลุจากเป้าหมายเดิม 54 แห่ง หรือสูงกว่าเป้าหมายถึง 39% ทำสถิติเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เปิดธุรกิจมาในไทย

ความสำเร็จดังกล่าวมาจากนโยบายที่เคเอฟซีมอบสิทธิ์ให้แฟรนไชส์ซีทั้ง 3 รายในไทยเป็นผู้ดำเนินการบริหารและขยายสาขา ประกอบด้วย 1. เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) ซึ่งเป็นรายแรก 2.
บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ (RD) จำกัด และ 3. บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QOA)




โดยสาขาใหม่ล่าสุดที่ 700 เปิดในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. บนถนนสวนหลวง-พุทธสาคร อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินการ โดย บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD เป็นร้านแบบนั่งรับประทานและไดร์ฟทรู

ในสิ้นปี 2561 นี้ เคเอฟซีในไทยจะมีสาขาครบ 701 สาขา ขณะที่สิ้นปีที่แล้วมี 638 สาขา โดยในจำนวนทั้งหมดจะมีเป็นร้านแบบไดรฟ์ทรู 65 แห่ง


ทั้งนี้ แยกจำนวนสาขาที่ชัดเจนแต่ละรายได้ดังนี้ 1. CRG มี 258 แห่ง ซึ่งในปีนี้เปิดร้านใหม่ 23 แห่ง 2. QSA มีร้านเคเอฟซีอีก 273 แห่ง และได้ปรับปรุงใหม่ถึง 47 แห่ง 3. RD ซึ่งเป็นแฟรนไชส์รายที่สองที่มีการเติบโตเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์จาก 130 สาขาในปี 2559 เป็น 170 สาขาในปี 2561 นี้ โดยอาร์ดีได้ฉลองครบรอบ 2 ปีในฐานะพันธมิตรแฟรนไชส์ของเคเอฟซีไปเมื่อเร็วๆ นี้อีกด้วย

“ผลงานในไทยดีกว่าหลายประเทศ เดิมเราตลาดเล็ก แต่ปีนี้เราเปิดร้านเยอะมาก 75 สาขา ทำลายสถิติที่เคยเปิดมากทั้งหมดต่อปีรวม 34 ปี ทำให้อันดับของเรา ใหญ่เป็นเบอร์ 8 ในแง่ของจำนวนสาขา และมีสาขาใหม่เพิ่มขึ้น 75 แห่ง ทะลุจากเป้าหมายเดิม 54 แห่ง หรือสูงกว่าเป้าหมายถึง 39% ซึ่งถือเป็นการสร้างสถิติใหม่ที่เติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เคเอฟซีเปิดธุรกิจในไทยมา” นางแววคนีย์ กล่าว



ด้วยการขยายตัวของเมืองทำให้เราสามารถเปิดร้านได้มากขึ้น โดยเฉพาะในรูปแบบไดรฟ์ทรูในพื้นที่อื่นๆ นอกเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะตอบสนองความต้องการของคนในละแวกนั้นๆ และผู้สัญจรไปมา เรามีเป้าหมายที่จะขยายเครือข่ายให้ได้มากถึง 1,000 แห่ง และเป็นร้านแบบไดรฟ์ทรูอย่างน้อย 100 แห่งในปี 2563 ซึ่งเคเอฟซียังเปิดสาขาได้อีกมาก โดยเฉพาะการไปควบคู่กับค้าปลีกทั้งเทสโก้โลตัสและ บิ๊กซี หรือผู้ประกอบการศูนย์การค้าต่างๆที่ขยายตัวตามต่างจังหวัด เราก็ไปด้วยกัน เวลาไปอำเภอรองก็ไปด้วยกัน เราขยายสาขาได้ และเปิดไดร์ฟทรูด้วย คู่แข่งน้อย ซึ่งในห้างเช่นเมกาบางนามีร้านอาหาร 200 กว่าแบรนด์เป็นคู่แข่ง แต่เปิดไดร์ฟทรูคู่แข่งน้อยลง และลูกค้าก็สะดวกมากขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ความสำเร็จของเราไม่ได้มาจากเพียงแค่การบริหารงานที่ประสบความสำเร็จของยัม แต่มาจากพันธมิตรแฟรนไชส์ทั้งหมดซึ่งร่วมสร้างนวัตกรรมและทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของแบรนด์ในประเทศไทย

ในเมื่อการขยายสาขาประสบควาวสำร็จแบบนี้ ย่อมส่งผลดีต่อการจัดการบริการของยัมฯเอง ที่ไม่ต้องพะวงเรือืงการลงทุนขยายาสาขา การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ การหาทำเลดีๆ เพราะทำให้บุคลากรของยัมฯสามารถทุ่มเทให้กับ การทำตลาด การพัฒนาเมนูใหม่ การบริหารจัดการ การสร้างนวัตกรรมต่อเนื่องเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไปมาก ด้วยการเสิร์ฟไก่ทอดได้มากถึงราว 800,000 ชิ้นต่อวัน หรือ 292 ล้านชิ้นต่อปี



“ที่เห็นชัดๆ เช่น การพัฒนาเมนู ที่จะสังเกตุได้ว่า พอเราไม่ต้องลงทุนสาขาเอง เราก็มีเวลาในการคิดเมนูใหม่ๆและได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค เช่น แซ่บออนไอซ์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมเมนูไอศกรีมรสเผ็ด หรือแม้แต่การออกโปรโมชันที่แรงกว่าเดิมมาก และโดนใจผู้บริโภคด้วย เช่น ปีนี้ที่ทำคือ ไก่ 199 บาท จำนวน 9 ชิ้น ขายวันเดียวคือวันอังคาร ช่วงเดือนมิถุนายน และช่วงพฤศจิกายน จากปกติ 9 ชิ้น ก็คูณชิ้นละ 37 บาท ก็เกือบ 300 กว่าบาท ตอนทำครั้งแรกบางสาขาลูกค้าเข้าแถวยาวมาก” นางแววคนีย์ กล่าว

นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องของการปรับกลยุทธ์ทางด้านการสื่อสาร การใช้มีเดียอีกด้วย

“ที่ผ่านมาเราไม่มีการวัดผลอย่างจริงจัง และจุดประสงค์การใช้สื่อไม่ชัดเจนเท่าใด แต่ตอนนี้เรามีทีมงานที่ดูมีเดียทั้งหมด โฆษณาทั้งหมด แบรนด์ทั้งหมด แยกตั้งแต่ต้นปีนี้เลย ทำให้แต่ละทีมเก่งขึ้น รู้ขอบเขตงานของตัวเองชัดเจจขึ้น ไม่ใช่มาทำรวมเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งการตั้งทีมแบบนี้ แล้วแต่ละประเทศก็ทำกันทั่วโลก เช่น เคเอฟซีที่แคนาดาก็ปรับเป็นแบบนี้ เคเอฟซีที่อังกฤษก็ปรับเป็นแบบนี้


สำคัญที่สุดคือสื่อดิจิทัลต้องไปข้างหน้าคู่แข่ง ต้องมีคนมาดูเฉพาะ
เมื่อก่อนนี้เรามีทีมเดียวกันหมดเลย เช่น คนนี้ทีมนี้ทำเรื่องบัคเก็ต ก็ทำตั้งแต่เมนูโฆษณา มีเดีย อีกทีมทำเบอร์เกอร์ ก็ต้องดูทั้งเมนู มีเดีย โฆษณา ที่เป็นของเบอร์เกอร์ มันแลยแตกกระจาย โฆษณาวัยรุ่นก็แบบนึง โฆษณาเด็กแบบนึงต่างกัน


การแก้โจทยแบรนด์หลัก คือ เรื่องการใช้สื่อในไทย สื่อทีวียังคงเป็นสื่อหลัก และขณะนี้สื่อดิจิทัลก็สำคัญขึ้นมาก เราพัฒนาเคล็ดลับเราเปลี่ยนวิธีมีทีมดูแลมีเดียเฉพาะ ทำให้เราเข้าถึงลูกค้าได้มากถึง 48 ล้านคน


กำลังโหลดความคิดเห็น