xs
xsm
sm
md
lg

40 ปี ปตท. ตอน "ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง"

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง" ถ.สุขาภิบาล 2 เป็นความตั้งใจในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในที่ดินของ ปตท. จำนวน 12 ไร่ ภายใต้แนวทาง "PTT Green in the City"

ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง มีการออกแบบอาคารที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแบบนวัตกรรมอาคารเขียว ซึ่งได้แบ่งสัดส่วนเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติทั้งหมด 75% ซึ่งในอนาคตป่านี้จะเติบโตและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ เป็นรูปแบบการศึกษาและเรียนรู้ป่าในเมือง เชื่อมโยงและสร้างความใกล้ชิดระหว่างคนกับป่า



โดยมีวัตถุประสงค์ ในการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับคนเมือง / ปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืน เพื่อให้เกิดป่าทีใกล้เคียงธรรมชาติดังเดิมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร / เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกป่าตามวิถี ปตท. ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ ของ ปตท. นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ให้แก่ประชาชน นิสิต นักศึกษา และนักเรียน ที่สนใจ

การสร้างป่านิเวศ ใช้ทฤษฏีการฟื้นฟูป่าธรรมชาติของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ โดยพันธุ์ไม้ที่ปลูกต้องเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นดั้งเดิมของพื้นที่ เตรียมกล้าไม้ที่ระบบรากแข็งแรง ระยะห่างของการปลูก 3-4 ต้นต่อตารางเมตร ปลูกพันธุ์ไม้ หลากหลายชนิดปะปนกัน รูปแบบการปลูกแบบสุ่ม ไม่เป็นแถวเป็นแนว เลียนแบบธรรมชาติ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายระดับ ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้พื้นล่าง

พื้นที่ป่าของศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง พื้นที่มีการจัดสรรให้มีพันธุ์ไม้ตามลักษณะป่าชนิดต่างๆ เช่น ป่าดิบที่ลุ่ม ป่าเบญจพรรณ ป่าน้ำกร่อย ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์ไม้ที่ใช้ปลูกมีทั้งพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้พื้นเดิมของกรุงเทพมหานคร และพันธุ์ไม้ป่าตามประเภทป่าชนิดต่างๆ มีจำนวนกว่า 270 ชนิด

นอกจากนั้นยังมีการบริหารจัดการระบบน้ำสำหรับใช้ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ โดยเป็นสัดส่วนพื้นที่ของน้ำ 10% เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝน และเกิดระบบนิเวศอย่างครบวงจรของสิ่งมีชีวิต และสัดส่วนสุดท้ายสำหรับพื้นที่อาคารนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ อีก 15% ที่นำเสนอความรู้และเรื่องราวที่สะท้อนคุณค่าความสำคัญของป่าไม้และระบบนิเวศ

โดย ปตท. เชื่อว่า ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง จะเป็นประสบการณ์ใหม่ที่สร้างความสุข และความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือน สำหรับคนกรุง รวมถึงเด็กรุ่นใหม่ ที่เติบโต อาศัยอยู่ท่ามกลางภูมิทัศน์ที่แออัดของเมืองใหญ่ และไม่มีโอกาสสัมผัสป่าธรรมชาติ ให้เค้าเหล่านั้น ได้สามารถเข้ามาสัมผัส และเห็นมุมมองป่าที่สมบูรณ์ ที่อยู่ใกล้ชิดคนเมืองหลวงมากที่สุด และปตท.ยังมุ่งหวังว่า ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง จะทำหน้าที่เป็นสื่อสร้างความตระหนักรู้ให้คนไทยทั่วประเทศได้เกิดความสำนึกรักทรัพยากรป่าไม้และต่อยอดการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตามแนวทางการดำเนินงานของปตท. ในการ “ปลูกป่า ในใจคน”


กำลังโหลดความคิดเห็น