xs
xsm
sm
md
lg

“ศุภชัย” มาเอง ยื่นซองประมูลไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ศุภชัย เจียรวนนท์ “นำทีมพันธมิตร ยื่นซองประมูลรถไฟเชื่อม3สนามบิน ช่วง เวลา 14.03 น. จับมือ ช.การช่าง-BEM-ITD-ส่วน CRCC พร้อมเปิดทางเจรจาพันธมิตรร่วมทุนเพิ่ม เผยพร้อมเปิดทางท้องถิ่นร่วมพัฒนาให้คนพิการใช้บริการฟรี

วันนี้ (12พ.ย) เวลา 14.03 น.ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้เดินทางมายื่นเอกสารการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน”ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ในนาม กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร โดยในกลุ่มประกอบด้วย เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บมจ. ช.การช่าง (ประเทศไทย) บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ITD) และ China Railway Construction Corporation Limited หรือ CRCC (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่า ซีพีและพันธมิตรรวม5 บริษัท เข้าเข้ายื่ซอง โดยซีพี ถือหุ้น 70% บริษัท ช.การช่างและ BEM ถือหุ้น15% ส่วน ITD ถือหุ้น 5% ส่วน CRCC ถือหุ้น10% ทั้งนี้ ทาง CRCC เป็นผู้ก่อสร้างด้านรางและรถไฟทั้งหมดของ จีน ส่วน ITD และช.การช่าง ซึ่งเป็นผู้รับเหมา รายใหญ่ของไทย ตอนนี้ยังไม่ได้มองว่าจะแบ่งกันอย่างไร

นอกจากนี้ ทางจีนยังมีกลุ่ม CITIC Group Corporation และChina Resources ที่สนใจเข้าร่วมลงทุน ทางด้านประเทศญี่ปุ่น มีธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC ประสงค์ให้เงินกู้ ส่วนกลุ่ม ) Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development หรือ JOIN ซึ่งเป็นกองทุนประสงค์ในการร่วมลงทุน

ส่วนอิตาลี มีFerrovie dello Stato Italiane ซึ่งจะเป็นในด้านการเดินรถและบำรุงรักษา สำหรับตัวรถไฟนั้น มีพาร์ทเนอร์หลายยี่ห้อ ทั้งซีเมนส์ ฮุนได และจีน

ทั้งนี้ พันธมิตร มีการแสดงความความตั้งใจและประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในโครงการกับกลุ่มเรา ซึ่งเป็นทั้งการเข้ามาร่วมลงทุน และเข้ามารับงานตอนนี้ยังไม่ได้มองว่าจะแบ่งกันอย่างไร ต้องรอหลังจากผลออกมาก่อน ซึ่งบริษัทได้ยื่น ข้อเสนอซองที่4 ซึ่งเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจแน่นอน

กลุ่มซีพี เป็นบริษัท คนไทยการยื่นข้อเสนอครั้งนี้เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นยุทธศาสาตร์ของประเทศ และเป็นนโยบายที่เชื่อมโยงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor :EEC) และช่วยดึงพันธมิตรต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย

นายศุภชัยกล่าวว่า หากเป็นผู้ชนะโครงการ พร้อมเปิดกว้างในการเจรจากับเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุน ซึ่งรวมถึง ปตท.ด้วย รวมไปถึงองค์กรรัฐและเอกชนของไทย ซึ่งตามเงื่อนไขประมูล เมื่อซีพีเป็นแกนนำ หากมีพันธมิตรเข้ามาลงทุนเพิ่ม สุดท้ายจะถือหุ้นต่ำกว่า 26% ไม่ได้ ดังนั้นคงต้องรอหลังจากนี้ ผลจะเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในการร่วมพัฒนาโครงการแล้ว ทางซีพียังข้อเสนอซองที่4 ซึ่งรถไฟจะช่วยกระจายความเจริญไปยังชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งในทางคู่ขนานจะร่วมมือกับท้องถิ่นในการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ จะให้ผู้พิการใช้บริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย

“ผลตอบแทนโครงสร้างพื้นฐานไม่สูง แต่ระยะยาวจะเกิดความต่อเนื่อง โครงการลงทุน PPP ที่ร่วมกัน รัฐสนับสนุนและนโยบายภาพรวม มีอู่ตะเภา EEC มีการเชื่อมโยงเส้นทางไปภาคอีสาน ภาคเหนือ จะช่วยให้โครงการนี้ เกิดความมั่นคงไปด้วย “นายศุภชัยกล่าว




กำลังโหลดความคิดเห็น