เวียดนามนำเข้าเครื่องสำอางและบำรุงผิว 198,000ล้านบาท โอกาสทองผู้ประกอบการไทย "โกลบอล เอ็กซิบิชั่นฯ" สบช่อง ผุดงาน 'Inter Beauty Vietnam 2019' คาดผู้ประกอบการทั่วโลก สนใจเข้าร่วมชมงานกว่า 7,000 ราย และผู้ประกอบการไทยร่วมแสดงสินค้าไม่ต่ำกว่า 230 แบรนด์
นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด หรือ เก็คส์ บริษัทชั้นนำระดับนานาชาติในการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการกลุ่ม CLMV เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมความงามของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หรือ เวียดนาม เติบโตก้าวกระโดด มีอัตราเติบโตสูงถึงร้อยละ 30 โดยเฉพาะในกลุ่มมีผู้รายได้ระดับปานกลาง ซึ่งจะมีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 33 ล้านคนในปี 2565 ปัจจุบัน เวียดนาม มีประชากรสูงกว่า 95 ล้านราย ร้อยละ 30 เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ millennials มีความรู้ สนใจใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รักการดูแลรักษาสุขภาพ ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และชอบผลิตภัณฑ์หรือบริการนำเข้าจากต่างประเทศ
ในปี2560 ชาวเวียดนามซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิวนำเข้าจากต่างประเทศรวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (198,000 ล้านบาท) สูงกว่าปี 2559 ถึง 3 เท่า ปัจจัยสนับสนุนสำคัญเกิดจากการเติบโตของศูนย์การค้าของต่างชาติและท้องถิ่น รวมถึงร้านค้าสาขาที่จำหน่ายเครื่องสำอาง เช่น Medicare, Guardian, and Pharmacity ที่มีการขยายสาขาเป็นจำนวนมาก ส่วนแบ่งตลาด ตลาดธุรกิจความงามนำเข้าจากต่างประเทศมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 90 และครองตลาดบนทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็น ตลาดธุรกิจความงามภายในประเทศ จับตลาดล่างเป็นหลัก เนื่องจากสินค้าและบริการภายในประเทศไม่มีเงินทุนในการพัฒนาและวิจัยสินค้าบริการ ขาดแคลนนวัตกรรม การโฆษณาและการตลาด
สำหรับตลาดออนไลน์ร้อยละ 50 ของสินค้าอุปโภคและบริโภคที่คนนิยมซื้อบนโลกออนไลน์คือ สินค้าความงาม โดยเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิวหน้าเป็นที่นิยมมากที่สุด โดยสินค้ากลุ่มความงาม เป็นตลาดที่กำลังหอมหวนมากในเวียดนาม ใครที่สามารถเข้าไปตลาดได้ก่อน ย่อมสร้างการรับรู้และความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ได้ก่อน นำเทรนด์ตลาดได้
ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคเวียดนามในกลุ่มธุรกิจความงาม มีความเชื่อว่าหากรูปลักษณ์ดี จะส่งผลต่ออาชีพ และรายได้ที่ดีขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มบล็อกเกอร์ และศิลปินดารา ทั้งนี้ กลุ่มที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ สุภาพสตรีที่มีอายุระหว่าง 15-39 ปี รักการแต่งหน้า บำรุงผิวพรรณ ซึ่งมีประชากรประมาณ 20 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรหญิงทั้งหมดของเวียดนามเลยทีเดียว ผลการสำรวจล่าสุดปี 2559 การยอมรับสินค้าประเภทความงามเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ต้องการแค่เพียงพื้นฐาน เริ่มสนใจในสินค้าปลีกย่อยมากขึ้น ได้แก่ แป้งรองพื้น ครีมล้างเครื่องสำอาง โทนเนอร์ล้างหน้า ครีมกันแดด
ขณะเดียวกัน สินค้าระดับพรีเมียมด้านความงามก็เข้าตลาดเวียดนามเพิ่มขึ้นในกลุ่ม ครีมบำรุงผม ครีมบำรุงผิว ตลอดจนธุรกิจบริการด้านความงามอย่าง สปา ซาลอน และคลินิกความงาม กลุ่มสินค้าความงามที่เพิ่งเข้าตลาดใหม่ มักจะได้รับความนิยมซื้อและใช้จากกลุ่มเป้าหมายเพศหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี สินค้าที่เลือกซื้อชิ้นแรกของกลุ่มนี้คือ โฟมหรือครีมล้างหน้า ช่องทางการสื่อสารหลักได้แก่ การแจกตัวอย่างสินค้า การส่งเสริมการขายในโรงเรียน, โรงภาพยนตร์, โรงอาหาร หรือ ศูนย์อาหาร และการเป็นสปอนเซอร์ในกิจกรรมต่างๆ
การพิชิตใจกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุมากขึ้น จำเป็นต้องสร้างเทรนด์ใหม่ ปลุกกระแสความต้องการ สร้างการรับรู้ในกลุ่มเป้าหมายก่อน จึงจะสามารถเข้าตลาดได้ง่าย สำหรับแบรนด์ขนาดเล็ก จะสามารถแข่งขันกับแบรนด์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดได้ จำเป็นต้องสื่อสารหรือสร้างจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ เน้นส่วนผสมหรือสูตรที่พิเศษ หรือข้อเสนอพิเศษเฉพาะบุคคล เพื่อเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากในเวียดนาม
ทัศนคติของผู้บริโภคเวียดนาม สินค้าความงามนำเข้าจากต่างประเทศเป็นที่ชื่นชอบมากกว่าสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ เนื่องจากมีความหลากหลายและราคาที่มากกว่า ต่างจากสินค้าท้องถิ่นที่เน้นการลดราคาเยอะๆ อ้างผลลัพธ์ที่เห็นได้รวดเร็ว และใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ
ทั้งนี้ บริษัทฯเล็งเห็นโอกาสกาสในการเติบโตของตลาดนี้จึงได้จัดงานแสดงสินค้าและบริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีความงาม หรือ Inter Beauty Vietnam ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการฮานอย หรือ Hanoi International Center for Exhibition (HICE) ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2562 โดยคาดว่าจะได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ประกอบการทั่วโลก สนใจเข้าร่วมชมงานกว่า 7,000 ราย ร่วมแสดงงานกว่า 230 แบรนด์ สำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจเปิดตลาดที่เวียดนาม