xs
xsm
sm
md
lg

โฆษณา 2 เดือนแรกปี 61 ร่วง 7% “ทีวีไดเร็ค” แชมป์โหมงบสูงสุด “กระทะโคเรียคิง” หั่นงบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ผู้จัดการรายวัน 360 - ตลาดงบโฆษณารวมกุมภาพันธ์ 61 ตกลง 5% ทำได้แค่ 7,747 ล้านบาท เผยยูนิลีเวอร์ลดงบลง ส่งผล 2 เดือนแรกปีนี้ตลาดรวมยังติดลบถึง 7% มูลค่า 15,186 ล้านบาท เผยสื่อนิตยสารร่วงหนักสุด 38% ด้านทีวีไดเร็คไดเรกต์เซลส์โหมงบหนัก มากสุดเป็นแชมป์

รายงานข่าวจาก นีลเส็น ประเทศไทย ระบุถึงมูลค่าตลาดงบโฆษณาเดือนกุมภาพันธ์ ปี2560 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2560 พบว่ากุมภาพันธ์ ปี 61 นี้มีมูลค่าประมาณ 7,747 ล้านบาท จากเดิมมี 8,236 ล้านบาท ตกลง 5% ขณะที่แยกเป็นสื่อจะพบว่า สื่อทีวีแอนะล็อกมีมูลค่า 2,805 ล้านบาท ตกลง 19% จากเดิมมีมูลค่า 3,480 ล้านบาท, สื่อเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มูลค่า 180 ล้านบาท ตกลง 26% จากเดิมมี 245 ล้านบาท, สื่อทีวีดิจิตอล มูลค่า 2,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากเดิมมี 1,734 ล้านบาท

สื่อวิทยุ มูลค่า 331 ล้านบาท เพิ่ม 2% จากเดิมมูลค่า 324 ล้านบาท, สื่อหนังสือพิมพ์ มูลค่า 462 ล้านบาท ตกลง 25% จากเดิมมูลค่า 619 ล้านบาท, สื่อนิตยสาร มูลค่า 102 ล้านบาท ตกลง 37% จากเดิมมูลค่า 163 ล้านบาท, สื่อโรงหนัง มูลค่า 572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากเดิมมูลค่า 469 ล้านบาท

สื่อกลางแจ้ง มูลค่า 550 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากเดิมมูลค่า 489 ล้านบาท, สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 502 ล้านบาท ตกลง 3% จากเดิมมูลค่า 518 ล้านบาท, สื่ออินสโตร์ มูลค่า 84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากเดิมมูลค่า 80 ล้านบาท และสื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 111 ล้านบาท ตกลง 3% จากเดิมมูลค่า 115 ล้านบาท

สำหรับงบโฆษณางวด 2 เดือนแรกปี 2561 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2561) เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2560 พบว่า 2 เดือนแรกปี 61 มีมูลค่า 15,186 ล้านบาท ตกลง 7% จากเดิมมีมูลค่า 16,356 ล้านบาท โดยแยกเป็น สื่อทีวีแอนะล็อกมีมูลค่า 5,531 ล้านบาท ตกลง 20% จากเดิมมูลค่า 6,958 ล้านบาท, สื่อเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มูลค่า 377 ล้านบาท ตกลง 24% จากเดิมมูลค่า 500 ล้านบาท, สื่อทีวีดิจิตอล มูลค่า 3,871 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากเดิมมูลค่า 3,316 ล้านบาท

สื่อวิทยุมูลค่า 650 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.31% จากเดิมมูลค่า 648 ล้านบาท, สื่อหนังสือพิมพ์ มูลค่า 909 ล้านบาท ตกลง 28% จากเดิมมูลค่า 1,275 ล้านบาท, สื่อนิตยสาร มูลค่า 199 ล้านบาท ตกลง 38% จากเดิมมูลค่า 322 ล้านบาท, สื่อโรงหนัง มูลค่า 1,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากเดิมมูลค่า 942 ล้านบาท

สื่อกลางแจ้ง มูลค่า 1,066 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากเดิมมูลค่า 967 ล้านบาท, สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 1,009 ล้านบาท ตกลง 4% จากเดิมมูลค่า 1,053 ล้านบาท, สื่ออินสโตร์ มูลค่า 142 ล้านบาท ตกลง 10% จากเดิมมูลค่า 158 ล้านบาท และสื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 230 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากเดิมมูลค่า 217 ล้านบาท

สำหรับ 5 อันดับแรก บริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปี 61 เทียบปี 60 คือ 1. ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 286 ล้านบาท ตกลงจากเดิมใช้ 314 ล้านบาท ซึ่งใช้งบโฆษณาลดเพียงบริษัทเดียวใน 5 อันดับแรกนี้, 2. ทีวีไดเร็ค ใช้งบ 226 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 18 ล้านบาท, 3. พีแอนด์จี ใช้งบ 167 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 154 ล้านบาท, 4. สำนักนายกรัฐมนตรี ใช้งบ 135 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 70 ล้านบาท และ 5. เนสท์เล่ ใช้งบ 120 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 90 ล้านบาท

ส่วน 5 อันดับแรกบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดช่วง 2 เดือนแรกปี 61 เทียบปี 60 คือ 1. ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 573 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 554 ล้านบาท, 2. ทีวีไดเร็ค ใช้งบ 520 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 50 ล้านบาท, 3. พีแอนด์จี ใช้งบ 335 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 397 ล้านบาท, 4. สำนักนายกรัฐมนตรี ใช้งบ 254 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 102 ล้านบาท และ 5. ตรีเพชรอีซูซุ ใช้งบ 230 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 213 ล้านบาท

โดยแบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 5 อันดับแรก เดือนกุมภาพันธ์ 61 เทียบกุมภาพันธ์ 60 คือ 1. ทีวีไดเร็ค ไดเรกต์เซลส์ใช้งบ 226 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 18 ล้านบาท, 2. รถเก๋งซูซูกิ ใช้งบ 80 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 8 ล้านบาท, 3. โค้ก ใช้งบ 79 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 66 ล้านบาท, 4. ธนาคารออมสิน ใช้งบ 79 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 25 ล้านบาท และ 5. กระทะโคเรียคิง ใช้งบ 73 ล้านบาท ลดลงอย่างมากจากเดิมที่ใช้งบมากถึง 183 ล้านบาท

ขณะที่แบรนด์สินค้า 5 อันดับแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในช่วง 2 เดือนแรกปี 61 เทียบ 2 เดือนแรกปี 60 คือ 1. ทีวีไดเร็ค ไดเรกต์เซลส์ ใช้งบ 520 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้แค่ 50 ล้านบาท, 2. ธนาคารออมสิน ใช้งบ 159 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 55 ล้านบาท, 3. กระทะโคเรียคิง ใช้งบ 142 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 388 ล้านบาท, 4. โค้ก ใช้งบ 134 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 131 ล้านบาท และ 5. ดีแทค ใช้งบ 128 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 16 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น