xs
xsm
sm
md
lg

ผอ.พัฒนาสุขภาพ เมืองผู้ดี ย้ำผลศึกษาบุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายจอห์น นิวตัน ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาสุขภาพ ของ Public Health England
ผอ.ด้านการพัฒนาสุขภาพ สาธารณสุขอังกฤษ ยกผลศึกษา คนอังกฤษเลิกบุหรี่ได้มากขึ้นเป็นประวัติการณ์ หลังเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า ด้านเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในไทย แนะรัฐสนับสนุนการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ให้มากขึ้น เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่

นายจอห์น นิวตัน ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาสุขภาพของ PHE ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า จากรายงานหัวข้อ การศึกษาหลักฐานและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน จัดทำโดยสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England) ระบุ เมื่อต้นปี 2560 อัตราผู้เลิกบุหรี่สำเร็จของคนอังกฤษสูงสุดเป็นประวัติการณ์เพราะการเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าใจถูกต้องว่านิโคตินไม่ใช่สาเหตุหลักของอันตรายจากการสูบบุหรี่มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น

นอกจากนี้ หลักฐานทั้งหมดที่มีไม่สนับสนุนความกังวลที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นประตูไปสู่การสูบบุหรี่มวนในเยาวชน ซึ่งรายงานนี้เป็นฉบับที่สี่ของสำนักงานฯ ที่ศึกษาเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าและได้ขยายขอบเขตการศึกษาให้ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยสนับสนุนข้อสรุปเดิมของเราที่ระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป 95% และลดความเสี่ยงต่อการได้รับควันบุหรี่มือสองของคนรอบข้าง ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่จึงควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับศักยภาพของบุหรี่ไฟฟ้าและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเพื่อช่วยให้การเลิกบุหรี่มวนมีอัตราความสำเร็จมากขึ้น”

ด้านนายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่าย ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ End Cigarette Smoke Thailand (ECST)” และเฟซบุ๊กเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ให้ความเห็นว่า “ก่อนหน้านี้เอ็นจีโอต่อต้านบุหรี่ของไทยเคยออกมาตั้งข้อสังเกตว่ารายงานของ PHE ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งทาง PHE ได้เคยส่งอีเมล์มาชี้แจงถึงข้อสรุปในการศึกษาฉบับก่อนๆ แล้ว รายงานฉบับนี้ PHE ก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ได้จริง และยังแนะนำว่าควรเพิ่มการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ เนื่องจากมีหลักฐานชี้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเพิ่มจำนวนผู้เลิกบุหรี่ในอังกฤษได้กว่า 1 หมื่นคน

ทั้งนี้เครือข่ายฯ เห็นว่า แนวทางนี้น่าจะช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยให้เข้าใกล้เป้าหมายที่รัฐบาลตั้งเอาไว้ได้ ซึ่งภาครัฐน่าจะลองพิจารณาควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้เหมาะสม จะได้เป็นประโยชน์กับผู้สูบบุหรี่ ในขณะเดียวกันก็ป้องกันผู้ไม่สูบบุหรี่และเยาวชนได้”

ก่อนหน้านี้ สถาบันวิชาการด้านแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การแพทย์ สหรัฐอเมริกา (The National Academics of Sciences Engineering Medicine: NASEM) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ได้ออกรายงาน หัวข้อ “ผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าต่อสาธารณสุข (Public Health Conclusion of E-cigarettes)” เคลียร์ 47 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า ยืนยัน บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงการติดบุหรี่มวนของเยาวชน ในขณะเดียวกันก็ช่วยเลิกบุหรี่ให้ผู้สูบบุหรี่ได้ พร้อมแนะประเด็นที่ควรให้ความสนใจเพื่อพัฒนาการวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในอนาคต


กำลังโหลดความคิดเห็น