xs
xsm
sm
md
lg

ทย.ปลื้ม 13 สนามบินหนุนโครงการฝนหลวง ส่วนหัวหิน, ร้อยเอ็ด จ่อเพิ่มโรงเรียนการบิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กรมท่าอากาศยาน เผย 13 สนามบินภูมิภาค ฐานปฏิบัติการบินภารกิจโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ว สืบสานพระราชปณิธาน “ในหลวง ร.๙” พร้อมเดินหน้าให้ความร่วมมือเอกชน จัดพื้นที่ตั้งโรงเรียนการบินเพิ่มที่ “หัวหิน, ร้อยเอ็ด” มุ่งผลิตบุคลากรการบินเพิ่ม รองรับการขยายตัวของธุรกิจการบิน 

        นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา กรมฯให้การสนับสนุนกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในการใช้เป็นที่ตั้งฐานปฏิบัติการบินฝนหลวง รวม 13 สนามบิน ได้แก่ หัวหิน, กระบี่, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, ตาก, พิษณุโลก, แพร่, ขอนแก่น, บุรีรัมย์, สกลนคร, อุดรธานี, อุบลราชธานี โดยในปี 2557 - 2559 มีเที่ยวบินฝนหลวง 2,782 / 2,593 / 2,075 เที่ยวบินตามลำดับ ส่วนปี 2560 มี 805 เที่ยวบินเนื่องจากปริมาณฝนชุกมากขึ้น

นอกจากนี้ กรมฯยังสนับสนุนด้านการผลิตบุคลากรการบิน โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมการขึ้นลงของอากาศยานและที่เก็บอากาศยาน (Landing & Parking Fee) และเก็บค่าเช่าพื้นที่สำนักงานอัตราต่ำ ให้สถาบันฝึกนักบินที่จัดตั้งโรงเรียนการบินและใช้สนามบินของทย.ในการฝึกนักเรียนการบิน ซึ่งปัจจุบัน มีโรงเรียนการบินใช้บริการสนามบิน 3 แห่ง ได้แก่ สนามบินพิษณุโลก มีบริษัท โรยัล สกายเวย์ส จำกัด, บริษัท ไทย อินเตอร์ ฟลายอิ้ง จำกัด 

 สนามบินขอนแก่น มีสถาบันการบินพลเรือย (สบพ.) ซึ่งปัจจุบันมีเที่ยวบินพาณิชย์เพิ่มขึ้น สบพ. เสนอขอขยายไปใช้สนามบินร้อยเอ็ดเพิ่ม ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา, สนามบินชุมพร มี บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น แอนท์ เทคโนโลยี จำกัด และ สนามบินนครพนม มีบริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด ใช้บริการ และได้มีผู้ประกอบการแสดงความสนใจขอตั้งโรงเรียนการบินในสนามบินอีก 2 แห่ง การเสนอขอ ได้แก่ สนามบินร้อยเอ็ด, จำนวน 3 ราย คือ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด, บริษัท ดี- 0507 ไฟลท์ เทรนนิ่ง จำกัด, บริษัท ศรีราชา เอวิเอชั่น จำกัด และ สนามบินหัวหิน มี 2 ราย คือ บริษัท โรยัล สกายเวย์ส จำกัด, บริษัท พรีเมี่ยม แอร์ไลน์ จำกัด 

อย่างไรก็ตาม จะมีการหารือร่วมกับผู้ประกอบการต่อไป ซึ่งหลักการในการพิจารณานั้น จะไม่ให้มีการกระจุกตัวของโรงเรียนการบิน ขณะที่จุดที่ตั้งโรงเรียนควรมีความสะดวกในการเดินทางของนักเรียนด้วย ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นการผลิบุคลากรด้านการบิน เพื่อให้สอดค้องกับนโยบายที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค (Aviation Hub)
กำลังโหลดความคิดเห็น