xs
xsm
sm
md
lg

ปิดฉากงาน CEPSI 2016 ผู้นำพลังงาน 31 ประเทศหนุนเชื่อมโยงอุตฯ ไฟฟ้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“CEPSI 2016” ปิดฉากการประชุมด้วยความสำเร็จ กลุ่มสมาชิกผู้นำพลังงานจาก 31 ประเทศ ตอบรับเทรนด์ลดโลกร้อน พร้อมสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งด้านพลังงาน โดยเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมไฟฟ้าระดับเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกตะวันตก และพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งมอบมาเลเซียเป็นเจ้าภาพปีถัดไป

นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งเอเชียตะวันออก และแปซิฟิกตะวันตก (AESIEAP) กล่าวถึงความสำเร็จของการจัดงานประชุมใหญ่เชิงวิชาการอุตสาหกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 21 หรือ The 21 stConference of Electric Power Supply Industry (CEPSI 2016) ภายใต้แนวคิด “ความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน : ทางเลือกและความท้าทายของอุตสาหกรรมไฟฟ้า” โดยความร่วมมือจากผู้นำองค์กรด้านพลังงานระดับโลกกว่า 1,500 คน จาก 31 ประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิชาการของอุตสาหกรรมไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคง แข็งแกร่งทางด้านพลังงานของภูมิภาค ด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทย โดย กฟผ.ได้เตรียมความพร้อมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประเทศมีความทัดเทียมระดับภูมิภาค และระดับโลก มุ่งสู่พลังงานสะอาด (Clean) และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) นอกจากนี้ กฟผ.ยังได้ดำเนินการโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย

สำหรับการประชุม CEPSI 2016 ที่ประเทศไทยครั้งนี้ ได้สิ้นสุดลงโดยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม กฟผ.ในนามผู้แทนพลังงานของประเทศไทย ได้ส่งมอบธงให้กับมาเลเซียเพื่อเป็นเจ้าภาพในการประชุมปี 2017-2018 ต่อไป

Mr. Fan Chen-Li ผู้อำนวยการด้านการวางแผนการวิจัยและพัฒนาจาก Taiwan Power Company ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กร กล่าวว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายที่ทั่วโลกตอบสนองเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไต้หวันพัฒนาระบบไฟฟ้าโดยให้กลมกลืนกับระบบนิเวศ และสังคม และพัฒนาระบบการจ่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คาร์บอนต่ำ ประกอบกับเทคโนโลยีด้านไฟฟ้ามีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในเรื่อง งบประมาณ บุคลากร และโครงการวิจัยและพัฒนา ซึ่งกลยุทธ์ของไต้หวันในการสร้างความมั่นคงพลังงาน แบ่งได้เป็น 4 มิติ คือ ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ พลังงานสีเขียว การอนุรักษ์พลังงาน และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Datuk Seri Ir. Azman Bin Mohd ประธานและประธานบริหารของ Tenaga Naslonol Berhad (TNB) จากมาเลเซีย กล่าวว่า ปัจจุบันการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน กำลังเผชิญความท้าทายในเรื่องของแหล่งผลิตไฟฟ้า ได้แก่ การจัดหาแหล่งผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม กระบวนการผลิตและส่งไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการติดตามเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยางรวดเร็ว ได้แก่ พลังงานหมุนเวียนที่มีการแข่งขันสูงขึ้น แบตเตอรี่เก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งมองว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นโอกาส และไดัวางแผนกลยุทธ์ภายใต้โครงการ TNB คิดใหม่ทำใหม่ 4 เรืองหลัก คือ การใช้พลังงานหมุนเวียน เครือข่ายอนาคต รวมถึงโครงข่ายอัจฉริยะ เพิ่มบริการผลิตภัณฑ์เพื่อชนะใจลูกค้า และกฎระเบียบรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

Mr. Bong-soo Ha รองประธานบริหารของ Korea Electric Power Corporation (KEPCO) กล่าวว่า ประเทศเกาหลีใต้มีนโยบายเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสีเขียว เช่นเดียวกันหลายๆ ประเทศ ซึ่ง KEPCO เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มการใช้ยานยนต์ พลังงานหมุนเวียน ระบบไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเมื่อปี 2013 KEPCO สร้างระบบโครงข่ายอัจฉริยะ เพื่อใช้บนเกาะเจจู และได้ทดสอบการใช้เทคโนโลยี “สีเขียว” เช่น ระบบชาร์จไฟฟ้า ระบบสำรองพลังงาน (ESS) ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม

Mr. Yu Chongde รองประธานและเลขาธิการของ China Electricity Council จากประเทศจีน กล่าวว่า การรับมือกับวิกฤตการณ์พลังงาน คือ การพัฒนาพลังงานสะอาด โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมความร่วมมือในระดับประเทศ ซึ่งการไฟฟ้าจีนได้ผลักดันเรื่องการพัฒนาพลังงานสะอาดสีเขียวเพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาระบบเชื่อมโยงพลังงานระหว่างประเทศ

Mr. Kim Yin Wong ประธานบริหารของ Singapore Power กล่าวว่า การประชุม CEPSI 2016 มีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเท่าทันกระแสโลก เนื่องจากเรามีสมาชิกจากชาติที่มีประสบการณ์หลากหลาย มีความเชี่ยวชาญในด้านที่ต่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ ที่จะได้นำไปพัฒนาได้ เฉกเช่นประเทศสิงคโปร์เองก็มีความก้าวหน้าและกำลังพัฒนานำระบบไฟฟ้ามาใช้ในการคมนาคมอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยภูมิประเทศที่เป็นเกาะขนาดไม่ใหญ่จึงจะสามารถจัดการด้านการขนส่งระบบรางด้วยไฟฟ้าได้อย่างครอบคลุม
กำลังโหลดความคิดเห็น