ผู้จัดการรายวัน 360 - ทีวีดิจิตอลแห่ซื้อคอนเทนต์นอกลดต้นทุนการผลิตได้ 70% “เจเคเอ็น” อัด 800 ล้านบาทสูงสุดตลอดกาล กว้านซื้อคอนเทนต์ทั่วโลกตอบโจทย์ พร้อมด้วย 10 เมกะโปรเจกต์ป้อนทีวีดิจิตอล ส่ง “รัก กะชากใจ เดอะซีรีส์” ท้าชน “คลับ ฟรายเดย์” หวังดันรายได้ปีหน้าโตไม่ต่ำกว่า 30% หลังปีนี้เชื่อรายได้ตามแผนที่วางไว้
นายจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมการแข่งขันของทีวีดิจิตอลในปี 2559 มีความต้องการซื้อคอนเทนต์มากขึ้นเป็นเท่าตัว จากช่วงแรกที่เน้นผลิตเองเป็นหลัก ส่วนสำคัญมาจากต้นทุนการซื้อคอนเทนต์ถูกกว่าถึง 70% เมื่อเทียบกับการผลิตละครหนึ่งตอนที่มีต้นทุนราว 3 ล้านบาท ซึ่งมีจุดแข็งใน 3 เรื่องหลัก คือ สะดวก ง่าย และราคาถูกนั่นเอง หรือมีตั้งแต่ระดับหมื่นขึ้นไปจนถึงหลักแสนบาท
“มูลค่าตลาดคอนเทนต์ทั่วโลกเชื่อว่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท ในบางกลุ่มมีการปรับราคาขึ้นแน่นอน แต่สำหรับ เจเคเอ็น ดำเนินธุรกิจซื้อขายคอนเทนต์ในรูปแบบโฮลเซลและเป็นแบบออลไรต์ จึงยังสามารถซื้อได้ในราคาเดิมตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นความแข็งแกร่งที่ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอคอนเทนต์ให้ลูกค้าได้หลากหลายใน 7 ช่องทาง เช่น ทีวีดิจิตอล, เคเบิล/ทีวีดาวเทียม, โฮมวิดีโอ, เมอร์ชันไดซ์, สิ่งพิมพ์, VOD หรือวิดีโอ ออน ดีมานด์ เป็นต้น”
ล่าสุดในปีนี้จนถึงปีหน้าบริษัทฯ ใช้งบลงทุนกว่า 800 ล้านบาทในการซื้อและผลิตคอนเทนต์ สูงสุดตั้งแต่ดำเนินการมา จากปกติใช้เพียง 300-400 ล้านบาท จากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว โดยล่าสุดได้ซื้อคอนเทนต์ต่างประเทศเข้ามาใหม่รวมกว่า 1 พัน ชม. โดยในจำนวนดังกล่าวมีละครกว่า 200 เรื่อง จากคอนเทนต์เดิมที่มีอยู่ก่อนหน้าคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท
ในปีหน้าบริษัทฯ จะผลิตคอนเทนต์ขึ้นมาเองเพื่อป้อนให้แก่ทีวีดิจิตอลภายใต้ 10 เมกกะโปรเจกต์ รวมมูลค่าการลงทุน 300 ล้านบาทจาก 800 ล้านบาท ประกอบซีรีส์ละครชุด “รักกระชากใจ เดอะ ซีรีส์” รวมกว่า 100 เรื่อง ถือเป็นละครร้อนแรงอยู่ในกลุ่มเดียวกับ “คลับ ฟรายเดย์” นอกจากนี้ยังมีเรียลิตีด้วย รวมถึงวาไรตี้ประกวดเต้น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะนำเสนอผ่านทางกลุ่มท็อป 5 ของทีวีดิจิตอลเป็นหลัก โดยขณะนี้ช่อง 7 ได้ซื้อคอนเทนต์เป็นจำนวนกว่า 6 โปรเจกต์แล้ว
ปัจจุบันคอนเทนต์ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม คือ 1. JKN ออริจินัล เป็นกลุ่มภาพยนตร์สารคดี ผลิตโดย “เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย” เช่น My King ในหลวงของเรา, My Queen พระราชินีของเรา 2. Asian Fantasy ละครซีรีส์ดังทั่วเอเชียจากเกาหลี อินเดีย และจีน เช่น ทงอี, ลีซาน, ซอนต๊อก, จูมง, แดจังกึม, มหาภารตะ, ลิขิตรักนี้เพื่อเธอ, บาดูบาล่ามายารัก 3. Hollywood Hit ละครซีรีส์ฮิตจากฮอลลีวูด เช่น CSI, สปาตาคัส
4. I Magic The Project สารคดีจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, ดิสคัฟเวอรี่ แชนแนล 5. Kid Inspired การ์ตูน Marvel, Nickelodeon 6. Music Star PARADE คอนเสิร์ต K-POP 7. News เช่น รายการ Luxe today by Whan Whan และ 8. Super Show เช่น The And ซึ่งคอนเทนต์สารคดีเป็นคอนเทนต์ที่ขายดีมากสุดเพราะราคาถูก รองลงมาคือ ซีรีส์เกาหลีและจีนที่ได้รับความนิยมและสร้างเรตติ้งได้ทันที
สำหรับกลุ่ม “เจเคเอ็น” ประกอบด้วย 5 บริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตคอนเทนต์ทั้งหมด โดยมี “เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย” เป็นบริษัทแม่ที่ดูแลซื้อขายคอนเทนต์และทำรายได้มากสุดกว่า 80-90% ส่วนที่เหลืออีก 20% มาจากบริษัทอื่นๆ รวมกันคือ “เจเคเอ็น แชนแนล” บริษัทด้านเอดูเคชันและอุปกรณ์แสง/ประกอบฉาก โดย 2 บริษัทหลังนี้จะเริ่มดำเนินการในปีหน้าเป็นต้นไป ดังนั้นจึงมองว่าในปี 2560 รายได้จะเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 30% ส่วนในปีนี้คาดว่าจะเป็นไปตามแผนที่แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ
นายจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมการแข่งขันของทีวีดิจิตอลในปี 2559 มีความต้องการซื้อคอนเทนต์มากขึ้นเป็นเท่าตัว จากช่วงแรกที่เน้นผลิตเองเป็นหลัก ส่วนสำคัญมาจากต้นทุนการซื้อคอนเทนต์ถูกกว่าถึง 70% เมื่อเทียบกับการผลิตละครหนึ่งตอนที่มีต้นทุนราว 3 ล้านบาท ซึ่งมีจุดแข็งใน 3 เรื่องหลัก คือ สะดวก ง่าย และราคาถูกนั่นเอง หรือมีตั้งแต่ระดับหมื่นขึ้นไปจนถึงหลักแสนบาท
“มูลค่าตลาดคอนเทนต์ทั่วโลกเชื่อว่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท ในบางกลุ่มมีการปรับราคาขึ้นแน่นอน แต่สำหรับ เจเคเอ็น ดำเนินธุรกิจซื้อขายคอนเทนต์ในรูปแบบโฮลเซลและเป็นแบบออลไรต์ จึงยังสามารถซื้อได้ในราคาเดิมตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นความแข็งแกร่งที่ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอคอนเทนต์ให้ลูกค้าได้หลากหลายใน 7 ช่องทาง เช่น ทีวีดิจิตอล, เคเบิล/ทีวีดาวเทียม, โฮมวิดีโอ, เมอร์ชันไดซ์, สิ่งพิมพ์, VOD หรือวิดีโอ ออน ดีมานด์ เป็นต้น”
ล่าสุดในปีนี้จนถึงปีหน้าบริษัทฯ ใช้งบลงทุนกว่า 800 ล้านบาทในการซื้อและผลิตคอนเทนต์ สูงสุดตั้งแต่ดำเนินการมา จากปกติใช้เพียง 300-400 ล้านบาท จากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว โดยล่าสุดได้ซื้อคอนเทนต์ต่างประเทศเข้ามาใหม่รวมกว่า 1 พัน ชม. โดยในจำนวนดังกล่าวมีละครกว่า 200 เรื่อง จากคอนเทนต์เดิมที่มีอยู่ก่อนหน้าคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท
ในปีหน้าบริษัทฯ จะผลิตคอนเทนต์ขึ้นมาเองเพื่อป้อนให้แก่ทีวีดิจิตอลภายใต้ 10 เมกกะโปรเจกต์ รวมมูลค่าการลงทุน 300 ล้านบาทจาก 800 ล้านบาท ประกอบซีรีส์ละครชุด “รักกระชากใจ เดอะ ซีรีส์” รวมกว่า 100 เรื่อง ถือเป็นละครร้อนแรงอยู่ในกลุ่มเดียวกับ “คลับ ฟรายเดย์” นอกจากนี้ยังมีเรียลิตีด้วย รวมถึงวาไรตี้ประกวดเต้น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะนำเสนอผ่านทางกลุ่มท็อป 5 ของทีวีดิจิตอลเป็นหลัก โดยขณะนี้ช่อง 7 ได้ซื้อคอนเทนต์เป็นจำนวนกว่า 6 โปรเจกต์แล้ว
ปัจจุบันคอนเทนต์ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม คือ 1. JKN ออริจินัล เป็นกลุ่มภาพยนตร์สารคดี ผลิตโดย “เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย” เช่น My King ในหลวงของเรา, My Queen พระราชินีของเรา 2. Asian Fantasy ละครซีรีส์ดังทั่วเอเชียจากเกาหลี อินเดีย และจีน เช่น ทงอี, ลีซาน, ซอนต๊อก, จูมง, แดจังกึม, มหาภารตะ, ลิขิตรักนี้เพื่อเธอ, บาดูบาล่ามายารัก 3. Hollywood Hit ละครซีรีส์ฮิตจากฮอลลีวูด เช่น CSI, สปาตาคัส
4. I Magic The Project สารคดีจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, ดิสคัฟเวอรี่ แชนแนล 5. Kid Inspired การ์ตูน Marvel, Nickelodeon 6. Music Star PARADE คอนเสิร์ต K-POP 7. News เช่น รายการ Luxe today by Whan Whan และ 8. Super Show เช่น The And ซึ่งคอนเทนต์สารคดีเป็นคอนเทนต์ที่ขายดีมากสุดเพราะราคาถูก รองลงมาคือ ซีรีส์เกาหลีและจีนที่ได้รับความนิยมและสร้างเรตติ้งได้ทันที
สำหรับกลุ่ม “เจเคเอ็น” ประกอบด้วย 5 บริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตคอนเทนต์ทั้งหมด โดยมี “เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย” เป็นบริษัทแม่ที่ดูแลซื้อขายคอนเทนต์และทำรายได้มากสุดกว่า 80-90% ส่วนที่เหลืออีก 20% มาจากบริษัทอื่นๆ รวมกันคือ “เจเคเอ็น แชนแนล” บริษัทด้านเอดูเคชันและอุปกรณ์แสง/ประกอบฉาก โดย 2 บริษัทหลังนี้จะเริ่มดำเนินการในปีหน้าเป็นต้นไป ดังนั้นจึงมองว่าในปี 2560 รายได้จะเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 30% ส่วนในปีนี้คาดว่าจะเป็นไปตามแผนที่แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ