หน้าร้อนปีนี้ ทำท่าจะร้อนจัดกว่าเดิม ดังนั้น ทุกคนก็คงเตรียมตัวเตรียมใจและเตรียมวิธีคลายร้อนเฉพาะตัวไว้แล้ว แต่อีกสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลยก็คือการเตรียมเครื่องปรับอากาศให้พร้อมทำหน้าที่เพื่อความเย็นสบายอย่างทั่วถึง แอลจี อีเลคทรอนิคส์ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศเบื้องต้นด้วยตัวคุณเอง ดังต่อไปนี้
ตรวจเช็คสภาพคอยล์ร้อน (Outdoor) อันดับแรก ทำการตรวจสอบสภาพภายนอก หากมีคราบสนิมหรือสิ่งสกปรกเกาะที่แผงโลหะหรือตัวเครื่อง ควรล้างทำความสะอาดเสียก่อน จากนั้นตรวจสอบพัดลมโดยใช้มือหมุน หากพบว่าใบพัดฝืดหรือติดขัด ควรเรียกช่างมาตรวจเช็คแกนมอเตอร์และแบริ่งเพราะอาจมีสนิมเกาะหรือสิ่งสกปรกติดที่แกนมอเตอร์ซึ่งจะเป็นเหตุให้มอเตอร์ไหม้เมื่อเปิดใช้งาน นอกจากนี้ให้ตรวจสอบที่ขั้วไฟฟ้าของคอยล์ร้อนเพื่อตรวจสอบความแน่นหนาและเช็คว่ามีสนิมเกาะหรือสิ่งสกปรกติดอยู่หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อเปิดใช้งาน ในกรณีของเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ซึ่งจะมีกล่องแผงวงจรอินเวอร์เตอร์ติดอยู่ที่คอยล์ร้อน ให้เช็ดหรือใช้ลมเป่าให้แห้งสนิท รวมถึงอุปกรณ์ทุกชิ้นส่วนที่ต้องแห้งสนิทเช่นกัน
ตรวจเช็คสภาพคอยล์เย็น (Indoor) อันดับแรก ถอดแผ่นกรองหยาบและแผ่นฟิวเตอร์ฟอกอากาศมาเคาะฝุ่นหรือทำความสะอาดโดยใช้แปรงขนนุ่มซักล้างและเป่าให้แห้ง เพราะฟิวเตอร์ทำหน้าที่กรองอากาศโดยจะดักจับฝุ่นและสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศไม่ให้ผ่านเข้าไปยังตัวแผงขดท่อคอยล์เย็น และเป่าเข้าสู่บรรยากาศภายในห้องได้อีก เราควรจะดูแลทำความสะอาดฟิวเตอร์เป็นประจำเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัน ซึ่งจะส่งผลให้คอยล์เย็นไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และอาจทำให้เกิดน้ำแข็งเกาะที่ตัวคอยล์เย็น ส่งผลให้มี มีน้ำหยดจากตัวเครื่องหรือที่เรียกว่า “แอร์รั่ว” ต่อมาให้ตรวจสอบความแน่นหนาของขั้วไฟฟ้าที่คอยล์เย็นและเช็คว่ามีสนิมหรือสิ่งสกปรกติดอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร จากนั้นทำความสะอาดตัวเครื่องและแผ่นปิดใต้ท้องเครื่องด้วยแปรงปัดฝุ่น และเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นก็ได้ สุดท้าย ประกอบแผ่นกรองหยาบและฟิวเตอร์ใส่กลับเข้าไปในตัวเครื่องตามเดิมและตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้ง
เมื่อทำการตรวจสอบทุกส่วนเรียบร้อยแล้ว ทดลองเปิดใช้เครื่องเพื่อทดสอบการทำงานในโหมดพัดลมประมาณ 15 นาที เพื่อตรวจสอบว่าใบพัดลมและแผงวงจรยังสามารถทำงานได้ตามปกติ ถ้าเครื่องปรับอากาศทำงานได้ตามปกติ จึงเปลี่ยนเป็นโหมด Cool เพื่อตรวจสอบการทำงานของคอยล์ร้อนว่าเป็นปกติหรือไม่
ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงเท่านี้ คุณเองก็สามารถดูแลถนอมเครื่องปรับอากาศของคุณให้รักษาระดับความเย็นคงที่เตรียมรับหน้าร้อนที่กำลังจะมาถึง แต่หากเครื่องปรับอากาศที่ใช้อยู่มีอายุการใช้งานมากกว่า 6 ปี หรือไม่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนเครื่องใหม่ เพราะจะได้เครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดในปัจจุบันซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่ารุ่นปกติ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุ้มค่าน่าลงทุน
(ข่าวประชาสัมพันธ์)
ตรวจเช็คสภาพคอยล์ร้อน (Outdoor) อันดับแรก ทำการตรวจสอบสภาพภายนอก หากมีคราบสนิมหรือสิ่งสกปรกเกาะที่แผงโลหะหรือตัวเครื่อง ควรล้างทำความสะอาดเสียก่อน จากนั้นตรวจสอบพัดลมโดยใช้มือหมุน หากพบว่าใบพัดฝืดหรือติดขัด ควรเรียกช่างมาตรวจเช็คแกนมอเตอร์และแบริ่งเพราะอาจมีสนิมเกาะหรือสิ่งสกปรกติดที่แกนมอเตอร์ซึ่งจะเป็นเหตุให้มอเตอร์ไหม้เมื่อเปิดใช้งาน นอกจากนี้ให้ตรวจสอบที่ขั้วไฟฟ้าของคอยล์ร้อนเพื่อตรวจสอบความแน่นหนาและเช็คว่ามีสนิมเกาะหรือสิ่งสกปรกติดอยู่หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อเปิดใช้งาน ในกรณีของเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ซึ่งจะมีกล่องแผงวงจรอินเวอร์เตอร์ติดอยู่ที่คอยล์ร้อน ให้เช็ดหรือใช้ลมเป่าให้แห้งสนิท รวมถึงอุปกรณ์ทุกชิ้นส่วนที่ต้องแห้งสนิทเช่นกัน
ตรวจเช็คสภาพคอยล์เย็น (Indoor) อันดับแรก ถอดแผ่นกรองหยาบและแผ่นฟิวเตอร์ฟอกอากาศมาเคาะฝุ่นหรือทำความสะอาดโดยใช้แปรงขนนุ่มซักล้างและเป่าให้แห้ง เพราะฟิวเตอร์ทำหน้าที่กรองอากาศโดยจะดักจับฝุ่นและสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศไม่ให้ผ่านเข้าไปยังตัวแผงขดท่อคอยล์เย็น และเป่าเข้าสู่บรรยากาศภายในห้องได้อีก เราควรจะดูแลทำความสะอาดฟิวเตอร์เป็นประจำเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัน ซึ่งจะส่งผลให้คอยล์เย็นไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และอาจทำให้เกิดน้ำแข็งเกาะที่ตัวคอยล์เย็น ส่งผลให้มี มีน้ำหยดจากตัวเครื่องหรือที่เรียกว่า “แอร์รั่ว” ต่อมาให้ตรวจสอบความแน่นหนาของขั้วไฟฟ้าที่คอยล์เย็นและเช็คว่ามีสนิมหรือสิ่งสกปรกติดอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร จากนั้นทำความสะอาดตัวเครื่องและแผ่นปิดใต้ท้องเครื่องด้วยแปรงปัดฝุ่น และเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นก็ได้ สุดท้าย ประกอบแผ่นกรองหยาบและฟิวเตอร์ใส่กลับเข้าไปในตัวเครื่องตามเดิมและตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้ง
เมื่อทำการตรวจสอบทุกส่วนเรียบร้อยแล้ว ทดลองเปิดใช้เครื่องเพื่อทดสอบการทำงานในโหมดพัดลมประมาณ 15 นาที เพื่อตรวจสอบว่าใบพัดลมและแผงวงจรยังสามารถทำงานได้ตามปกติ ถ้าเครื่องปรับอากาศทำงานได้ตามปกติ จึงเปลี่ยนเป็นโหมด Cool เพื่อตรวจสอบการทำงานของคอยล์ร้อนว่าเป็นปกติหรือไม่
ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงเท่านี้ คุณเองก็สามารถดูแลถนอมเครื่องปรับอากาศของคุณให้รักษาระดับความเย็นคงที่เตรียมรับหน้าร้อนที่กำลังจะมาถึง แต่หากเครื่องปรับอากาศที่ใช้อยู่มีอายุการใช้งานมากกว่า 6 ปี หรือไม่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนเครื่องใหม่ เพราะจะได้เครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดในปัจจุบันซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่ารุ่นปกติ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุ้มค่าน่าลงทุน
(ข่าวประชาสัมพันธ์)