สยามรีเทลสยายปีกบุกต่างจังหวัด ทุ่ม 20,000 ล้านบาทเพิ่ม 4 ศูนย์เป็นอย่างน้อยใน 6 ปี พร้อมปรับโฉมศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ สู้สมรภูมิรีเทลแข่งขันสูง มองการเมืองส่งผลระยะสั้น แต่เศรษฐกิจในระยะยาวยังเติบโต แย้มเล็งลุยต่อต่างประเทศเมื่อมีโอกาส มั่นใจปีนี้รายได้โตอย่างน้อย 7% จาก 2,970 ล้านบาท จากทั้ง 4 ศูนย์ และหากเปิดครบ 8 ศูนย์แล้วรายได้กระโดดสู่ 8,000 ล้านบาทต่อปี
นายประเสริฐ ศรีอุฬารพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามรีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์, เทอร์มินอล ทเวนตี้วัน, เดอะ พรอเมนาด และไลฟ์ เซ็นเตอร์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มองเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจ และการเปิดเออีซีในปี 2558 ทางบริษัทฯ จึงเตรียมแผนการลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาทในช่วง 6 ปีหลังจากนี้ สำหรับการพัฒนาศูนย์การค้าใหม่ในต่างจังหวัดอย่างน้อย 4 ศูนย์ และปรับปรุงศูนย์ฯ เดิมให้รองรับความต้องการของลูกค้าและผู้เช่าให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยแผนการลงทุนเบื้องต้นที่ต้องการเพิ่มศูนย์การค้าใหม่ปีละ 1 แห่ง จากเดิม 3 ปีต่อแห่งอย่างที่ผ่านมา เชื่อว่าเมื่อเปิดให้บริการครบทั้ง 8 ศูนย์ฯ แล้วจะมีรายได้ต่อปีอย่างน้อย 8,000 ล้านบาท ซึ่งศูนย์ฯ ใหม่น่าจะใช้เวลาคืนทุนราว 8 ปี
สำหรับแผนการขยายศูนย์การค้าใหม่นั้น ตามแผนงานจะเปิดให้บริการใน 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น และนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีจำนวนประชากรและกำลังซื้อสูง รายได้เฉลี่ยต่อคน 71,409 บาทต่อปี ด้วยโมเดลขนาดใหญ่ พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 70,000-100,000 ตารางเมตร แต่ละสาขาลงทุนประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยที่นครราชสีมา และขอนแก่น พื้นที่ที่ดินขนาด 55 ไร่เท่าๆ กัน อยู่ในใจกลางเมือง จะใช้แบรนด์ เทอร์มินอล ทเวนตี้วัน โดยที่นครราชสีมาจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือน พ.ค.นี้ และที่ขอนแก่นเป็นต้นปีหน้า
ส่วนในนครศรีธรรมราชอยู่บนที่ดินขนาด 41 ไร่ ขณะนี้กำลังพัฒนาโมเดลใหม่ให้เหมาะสม ซึ่งอาจจะใช้แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งจากใน 4 แบรนด์ที่มีอยู่ หรืออาจจะเป็นแบรนด์ใหม่ ซึ่งสาขานี้ตั้งงบลงทุนราว 3,000 ล้านบาท คาดว่าน่าจะดำเนินการก่อสร้างได้หลังที่ขอนแก่นเริ่มไปได้ 1 ปี โดยหลังจากนี้บริษัทจะเร่งเพิ่มศูนย์การค้าแห่งใหม่ปีละ 1-2 แห่ง และจาก 4 โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นแล้ว ยังเตรียมมองหาพื้นที่อื่นๆ ในการลงทุนต่อด้วย เน้นเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ อย่าง ภูเก็ต พัทยา และเชียงใหม่ โดยโมเดลที่จะเข้าไปลงทุนนั้นอาจจะมีขนาดเล็กลงมา เพราะที่ดินในทำเลที่ดีในปัจจุบันหายาก
ทั้งนี้ บริษัทยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนในต่างประเทศด้วย เพราะหลังจากเทอร์มินอล ทเวนตี้วัน เปิดให้บริการมา 2 ปี มีนักลงทุนต่างชาติสนใจให้เข้าไปขยายในประเทศนั้น เช่น จีน มาเลเซีย เป็นต้น ส่วนแผนการปรับปรุงสาขาเดิมนั้น ในส่วนของแฟชั่นไอส์แลนด์ จะใช้งบกว่า 2,700 ล้านบาทในช่วง 3 ปีนี้ สำหรับขยายพื้นที่เพิ่มอีก 4,000 ตารางเมตร เมื่อรวมกับเดอะ พรอเมนาด จะมีพื้นที่ถึง 510,000 ตารางเมตร ถือเป็นศูนย์การค้าใหญ่สุดในฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนเดอะพรอเมนาดจะขยายเพิ่มพื้นที่อีก 3 ชั้น เพิ่มร้านค้า เฮลท์ แอนด์ บิวตี้ และโรงภาพยนตร์ และเทอร์มินอล ทเวนตี้วัน จะเพิ่มพันธมิตรผู้ค้ารายใหม่เข้ามาเป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า การลงทุนครั้งนี้สูงสุดรอบ 20 ปี และเป็นการเร่งการลงทุนให้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาค้าปลีกมีการขยายตัวในต่างจังหวัดมากขึ้น โอกาสในตลาดต่างจังหวัดมีศักยภาพ และมีความต้องการให้เข้าไปเปิดศูนย์การค้าได้อีกมาก ขณะที่ในกรุงเทพฯ การแข่งขันสูง และพื้นที่ในการลงทุนค่อนข้างหายาก
ทั้งนี้ มองว่าปัญหาการเมืองที่ไม่แน่นอนเป็นปัญหาระยะสั้น และไม่มีผลต่อการลงทุน อีกทั้งการลงทุนค้าปลีกนั้นจะเป็นการลงทุนในระยะยาว 10 ปีขึ้นไป ซึ่งในแง่เศรษฐกิจแล้ว ไทยยังแข็งแกร่งและเติบโตต่อเนื่อง บริษัทจึงมั่นใจและพร้อมที่จะลงทุนตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม ปีนี้ทางบริษัทคาดว่าจะมีรายได้จากทั้ง 4 ศูนย์เติบโตขึ้นอย่างน้อย 7% จาก 2,970 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา แต่ถ้าหากทุกอย่างกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว และมีรัฐบาลใหม่เข้าทำงานให้ประเทศเดินหน้า เชื่อว่ารายได้น่าจะกลับมาเติบโตใกล้เคียงปี2556 ที่มีการเติบโตกว่า 10-13% โดยแฟชั่นไอส์แลนด์ มีรายได้ 1,700 ล้านบาท, ไลฟ์ เซ็นเตอร์ มีรายได้ 120 ล้านบาท, เดอะ พรอเมนาด มีรายได้ 150 ล้านบาท และเทอร์มินอล ทเวนตี้วัน มีรายได้ 1,000 ล้านบาท
นายประเสริฐ ศรีอุฬารพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามรีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์, เทอร์มินอล ทเวนตี้วัน, เดอะ พรอเมนาด และไลฟ์ เซ็นเตอร์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มองเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจ และการเปิดเออีซีในปี 2558 ทางบริษัทฯ จึงเตรียมแผนการลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาทในช่วง 6 ปีหลังจากนี้ สำหรับการพัฒนาศูนย์การค้าใหม่ในต่างจังหวัดอย่างน้อย 4 ศูนย์ และปรับปรุงศูนย์ฯ เดิมให้รองรับความต้องการของลูกค้าและผู้เช่าให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยแผนการลงทุนเบื้องต้นที่ต้องการเพิ่มศูนย์การค้าใหม่ปีละ 1 แห่ง จากเดิม 3 ปีต่อแห่งอย่างที่ผ่านมา เชื่อว่าเมื่อเปิดให้บริการครบทั้ง 8 ศูนย์ฯ แล้วจะมีรายได้ต่อปีอย่างน้อย 8,000 ล้านบาท ซึ่งศูนย์ฯ ใหม่น่าจะใช้เวลาคืนทุนราว 8 ปี
สำหรับแผนการขยายศูนย์การค้าใหม่นั้น ตามแผนงานจะเปิดให้บริการใน 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น และนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีจำนวนประชากรและกำลังซื้อสูง รายได้เฉลี่ยต่อคน 71,409 บาทต่อปี ด้วยโมเดลขนาดใหญ่ พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 70,000-100,000 ตารางเมตร แต่ละสาขาลงทุนประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยที่นครราชสีมา และขอนแก่น พื้นที่ที่ดินขนาด 55 ไร่เท่าๆ กัน อยู่ในใจกลางเมือง จะใช้แบรนด์ เทอร์มินอล ทเวนตี้วัน โดยที่นครราชสีมาจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือน พ.ค.นี้ และที่ขอนแก่นเป็นต้นปีหน้า
ส่วนในนครศรีธรรมราชอยู่บนที่ดินขนาด 41 ไร่ ขณะนี้กำลังพัฒนาโมเดลใหม่ให้เหมาะสม ซึ่งอาจจะใช้แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งจากใน 4 แบรนด์ที่มีอยู่ หรืออาจจะเป็นแบรนด์ใหม่ ซึ่งสาขานี้ตั้งงบลงทุนราว 3,000 ล้านบาท คาดว่าน่าจะดำเนินการก่อสร้างได้หลังที่ขอนแก่นเริ่มไปได้ 1 ปี โดยหลังจากนี้บริษัทจะเร่งเพิ่มศูนย์การค้าแห่งใหม่ปีละ 1-2 แห่ง และจาก 4 โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นแล้ว ยังเตรียมมองหาพื้นที่อื่นๆ ในการลงทุนต่อด้วย เน้นเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ อย่าง ภูเก็ต พัทยา และเชียงใหม่ โดยโมเดลที่จะเข้าไปลงทุนนั้นอาจจะมีขนาดเล็กลงมา เพราะที่ดินในทำเลที่ดีในปัจจุบันหายาก
ทั้งนี้ บริษัทยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนในต่างประเทศด้วย เพราะหลังจากเทอร์มินอล ทเวนตี้วัน เปิดให้บริการมา 2 ปี มีนักลงทุนต่างชาติสนใจให้เข้าไปขยายในประเทศนั้น เช่น จีน มาเลเซีย เป็นต้น ส่วนแผนการปรับปรุงสาขาเดิมนั้น ในส่วนของแฟชั่นไอส์แลนด์ จะใช้งบกว่า 2,700 ล้านบาทในช่วง 3 ปีนี้ สำหรับขยายพื้นที่เพิ่มอีก 4,000 ตารางเมตร เมื่อรวมกับเดอะ พรอเมนาด จะมีพื้นที่ถึง 510,000 ตารางเมตร ถือเป็นศูนย์การค้าใหญ่สุดในฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนเดอะพรอเมนาดจะขยายเพิ่มพื้นที่อีก 3 ชั้น เพิ่มร้านค้า เฮลท์ แอนด์ บิวตี้ และโรงภาพยนตร์ และเทอร์มินอล ทเวนตี้วัน จะเพิ่มพันธมิตรผู้ค้ารายใหม่เข้ามาเป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า การลงทุนครั้งนี้สูงสุดรอบ 20 ปี และเป็นการเร่งการลงทุนให้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาค้าปลีกมีการขยายตัวในต่างจังหวัดมากขึ้น โอกาสในตลาดต่างจังหวัดมีศักยภาพ และมีความต้องการให้เข้าไปเปิดศูนย์การค้าได้อีกมาก ขณะที่ในกรุงเทพฯ การแข่งขันสูง และพื้นที่ในการลงทุนค่อนข้างหายาก
ทั้งนี้ มองว่าปัญหาการเมืองที่ไม่แน่นอนเป็นปัญหาระยะสั้น และไม่มีผลต่อการลงทุน อีกทั้งการลงทุนค้าปลีกนั้นจะเป็นการลงทุนในระยะยาว 10 ปีขึ้นไป ซึ่งในแง่เศรษฐกิจแล้ว ไทยยังแข็งแกร่งและเติบโตต่อเนื่อง บริษัทจึงมั่นใจและพร้อมที่จะลงทุนตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม ปีนี้ทางบริษัทคาดว่าจะมีรายได้จากทั้ง 4 ศูนย์เติบโตขึ้นอย่างน้อย 7% จาก 2,970 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา แต่ถ้าหากทุกอย่างกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว และมีรัฐบาลใหม่เข้าทำงานให้ประเทศเดินหน้า เชื่อว่ารายได้น่าจะกลับมาเติบโตใกล้เคียงปี2556 ที่มีการเติบโตกว่า 10-13% โดยแฟชั่นไอส์แลนด์ มีรายได้ 1,700 ล้านบาท, ไลฟ์ เซ็นเตอร์ มีรายได้ 120 ล้านบาท, เดอะ พรอเมนาด มีรายได้ 150 ล้านบาท และเทอร์มินอล ทเวนตี้วัน มีรายได้ 1,000 ล้านบาท