“ค้าปลีก” พร้อมรับมือตัดไฟช่วงเมษายน รอมาตรการจากทางรัฐบาล ทั้งลดเวลาเปิด-ปิด และปรับอุณหภูมิขึ้นอีก
จากปัญหาที่พม่าจะหยุดผลิตและส่งก๊าซ เนื่องจากว่าทางโททาลซึ่งเป็นผู้ดูแลการผลิตแหล่งก๊าซยาดานาได้แจ้งมายังประเทศไทยว่า พบปัญหาแท่นผลิตเริ่มทรุดตัวตั้งแต่ปี 2551 ยืนว่ายันต้องหยุดการผลิตแลเพื่อซ่อมช่วงวันที่ 4-12 เมษายนนี้ โดยไทยรับก๊าซฯ จากยาดานาประมาณ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และรับจากแหล่งเยตากุนอีกประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ปัญหาเรื่องค่าความร้อนของพม่าเมื่อแหล่งใดแหล่งหนึ่งหยุดผลิตก็จะทำให้อีกแหล่งส่งก๊าซฯ ไม่ได้ไปด้วย รวมกระทบ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งผลให้รัฐบาลไทยเร่งหามาตรการต่างๆเพื่อประหยัดพลังงานรับมือ เช่นการขอความร่วมมือจากภาคธุกริจค้าปลีกในการประหยัดพลังงานต่างๆ เป็นต้น
นายอลิสเตอร์ เทย์เลอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตท็อปส์ ของกลุ่มเซ็นทรัล เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯ ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทางรัฐบาลหรือทราบมาตรการอะไรเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน เพราะเพิ่งทราบจากข่าว แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลเสนอออกมาที่มีความเป็นไปได้ รวมทั้งหากมีการเชิญเข้าร่วมประชุมก็พร้อมเช่นกัน
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ก็ต้องมีการเตรียมตัวเช่นกัน ถ้าหากมีการลดการจ่ายพลังงานลง โดยเฉพาะเรื่องตู้เย็น ตู้แช่ เพราะบริษัทจำหน่ายสินค้าอาหารสด เรื่องตู้แช่ความเย็นมีความจำเป็นอย่างมาก ไม่สามารถดับไฟได้
แนวทางในการลดพลังงาน เช่น ลดเวลาการเปิดบริการก็อาจจะมีความเป็นไปได้ เนื่องจากท็อปส์มีหลายรูปแบบ และมีเวลาเปิดปิดบริการต่างกันไป ทำให้มีความสะดวกที่จะทำได้
นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ซีพีเอ็นมีนโยบายหลักเรื่องการอนุรักษ์พลังงานมากว่า 3 ปีแล้ว สำหรับกรณีนี้มาตรการที่ซีพีเอ็นจะนำมาใช้คือการปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศภายในศูนย์การค้าขึ้น 1 องศา ซึ่งจะเป็นการปรับตามช่วงเวลา แต่ยังคงให้ลูกค้ารู้สึกสบายเมื่อเข้ามาใช้บริการ
นอกจากนี้ ศูนย์การค้ายังได้รับการออกแบบให้ใช้แสงธรรมชาติส่องเข้าในอาคารและในช่วงเดือนเมษายนจะมีช่วงเวลากลางวันที่ยาวขึ้น ทำให้ซีพีเอ็นสามารถควบคุมระบบแสงไฟในอาคารได้ดีและลดการใช้กระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายประหยัดพลังงานของรัฐ และเป็นอีกแรงหนึ่งจากภาคเอกชนที่ร่วมรณรงค์ลดพลังงานไฟฟ้าในยามวิกฤตของประเทศ และต่อยอดนโยบายอนุรักษ์พลังงานในอาคารที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง
จากปัญหาที่พม่าจะหยุดผลิตและส่งก๊าซ เนื่องจากว่าทางโททาลซึ่งเป็นผู้ดูแลการผลิตแหล่งก๊าซยาดานาได้แจ้งมายังประเทศไทยว่า พบปัญหาแท่นผลิตเริ่มทรุดตัวตั้งแต่ปี 2551 ยืนว่ายันต้องหยุดการผลิตแลเพื่อซ่อมช่วงวันที่ 4-12 เมษายนนี้ โดยไทยรับก๊าซฯ จากยาดานาประมาณ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และรับจากแหล่งเยตากุนอีกประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ปัญหาเรื่องค่าความร้อนของพม่าเมื่อแหล่งใดแหล่งหนึ่งหยุดผลิตก็จะทำให้อีกแหล่งส่งก๊าซฯ ไม่ได้ไปด้วย รวมกระทบ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งผลให้รัฐบาลไทยเร่งหามาตรการต่างๆเพื่อประหยัดพลังงานรับมือ เช่นการขอความร่วมมือจากภาคธุกริจค้าปลีกในการประหยัดพลังงานต่างๆ เป็นต้น
นายอลิสเตอร์ เทย์เลอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตท็อปส์ ของกลุ่มเซ็นทรัล เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯ ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทางรัฐบาลหรือทราบมาตรการอะไรเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน เพราะเพิ่งทราบจากข่าว แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลเสนอออกมาที่มีความเป็นไปได้ รวมทั้งหากมีการเชิญเข้าร่วมประชุมก็พร้อมเช่นกัน
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ก็ต้องมีการเตรียมตัวเช่นกัน ถ้าหากมีการลดการจ่ายพลังงานลง โดยเฉพาะเรื่องตู้เย็น ตู้แช่ เพราะบริษัทจำหน่ายสินค้าอาหารสด เรื่องตู้แช่ความเย็นมีความจำเป็นอย่างมาก ไม่สามารถดับไฟได้
แนวทางในการลดพลังงาน เช่น ลดเวลาการเปิดบริการก็อาจจะมีความเป็นไปได้ เนื่องจากท็อปส์มีหลายรูปแบบ และมีเวลาเปิดปิดบริการต่างกันไป ทำให้มีความสะดวกที่จะทำได้
นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ซีพีเอ็นมีนโยบายหลักเรื่องการอนุรักษ์พลังงานมากว่า 3 ปีแล้ว สำหรับกรณีนี้มาตรการที่ซีพีเอ็นจะนำมาใช้คือการปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศภายในศูนย์การค้าขึ้น 1 องศา ซึ่งจะเป็นการปรับตามช่วงเวลา แต่ยังคงให้ลูกค้ารู้สึกสบายเมื่อเข้ามาใช้บริการ
นอกจากนี้ ศูนย์การค้ายังได้รับการออกแบบให้ใช้แสงธรรมชาติส่องเข้าในอาคารและในช่วงเดือนเมษายนจะมีช่วงเวลากลางวันที่ยาวขึ้น ทำให้ซีพีเอ็นสามารถควบคุมระบบแสงไฟในอาคารได้ดีและลดการใช้กระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายประหยัดพลังงานของรัฐ และเป็นอีกแรงหนึ่งจากภาคเอกชนที่ร่วมรณรงค์ลดพลังงานไฟฟ้าในยามวิกฤตของประเทศ และต่อยอดนโยบายอนุรักษ์พลังงานในอาคารที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง