“บุญทรง” สั่งช่วยธุรกิจ SMEs บุกเจาะตลาดอาเซียนรับ AEC พร้อมหาทางดันไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดผลกระทบค่าแรง ยันยังไม่มีบริษัทเจ๊งเพราะนโยบาย 300 บาท ต้องรอผลประเมินที่ชัดเจนก่อน
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานเปิดงานครบรอบ 9 ทศวรรษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า วานนี้ (16 ม.ค.) ว่า ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานสนับสนุนให้ผู้ประกอบการของไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และหาทางผลักดันผู้ประกอบการที่อยู่ในความส่งเสริมและพัฒนาของกรมฯ ให้ออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์จาก AEC และช่วยในการบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท
“ต้องหาทางช่วยให้ SMEs ทำธุรกิจให้ได้มากขึ้น การจดทะเบียนทำธุรกิจต้องง่าย ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าทำได้ดี และต้องขยายต่อ โดยเฉพาะการจดทะเบียนที่เดียวได้เอกสารหลักฐานทางธุรกิจที่ครบ ทั้งเลขบัญชีนายจ้าง เลขทะเบียนผู้เสียภาษี ซึ่งต่อไปต้องขยายไปยังหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจที่แข็งแกร่งแล้วก็ต้องผลักดันให้ออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ และยิ่งธุรกิจที่ใช้แรงงานมากๆ ก็ต้องดูว่าจะหาทางไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านได้ยังไง เพื่อลดผลกระทบจากค่าแรง”
สำหรับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานเป็นวันละ 300 บาท ยังไม่มีผลกระทบทำให้ธุรกิจต้องปิดกิจการลงเป็นจำนวนมากอย่างที่เป็นข่าวออกมา แต่ยอมรับว่าการเปิดปิดธุรกิจถือเป็นเรื่องปกติ แต่ผลจากค่าแรงจริงๆ ยังไม่ชัดเจน ต้องรอประเมินผลอีกครั้ง
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานเปิดงานครบรอบ 9 ทศวรรษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า วานนี้ (16 ม.ค.) ว่า ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานสนับสนุนให้ผู้ประกอบการของไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และหาทางผลักดันผู้ประกอบการที่อยู่ในความส่งเสริมและพัฒนาของกรมฯ ให้ออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์จาก AEC และช่วยในการบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท
“ต้องหาทางช่วยให้ SMEs ทำธุรกิจให้ได้มากขึ้น การจดทะเบียนทำธุรกิจต้องง่าย ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าทำได้ดี และต้องขยายต่อ โดยเฉพาะการจดทะเบียนที่เดียวได้เอกสารหลักฐานทางธุรกิจที่ครบ ทั้งเลขบัญชีนายจ้าง เลขทะเบียนผู้เสียภาษี ซึ่งต่อไปต้องขยายไปยังหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจที่แข็งแกร่งแล้วก็ต้องผลักดันให้ออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ และยิ่งธุรกิจที่ใช้แรงงานมากๆ ก็ต้องดูว่าจะหาทางไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านได้ยังไง เพื่อลดผลกระทบจากค่าแรง”
สำหรับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานเป็นวันละ 300 บาท ยังไม่มีผลกระทบทำให้ธุรกิจต้องปิดกิจการลงเป็นจำนวนมากอย่างที่เป็นข่าวออกมา แต่ยอมรับว่าการเปิดปิดธุรกิจถือเป็นเรื่องปกติ แต่ผลจากค่าแรงจริงๆ ยังไม่ชัดเจน ต้องรอประเมินผลอีกครั้ง