หลังจากผ่านแบบทดสอบวัดทัศนคติเรื่องเงินๆทองๆกันไปแล้ว ผมเชื่อว่าคุณก็คงเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ที่จะมีอาการ “อึกอัก” หรือ “เครียด” เวลาเจอคำถามจากคู่สนทนาในท่วงทำนองนี้ เพราะคนส่วนใหญ่ “ไม่รู้” ในสิ่งที่ตัวเอง “ไม่รู้” โดยเฉพาะเรื่องเงินๆทองๆ
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะที่ผ่านมาเราเลือกที่จะพยายาม “ปิดหู ปิดตา” หรือโกหกตัวเอง เพราะ ไอ้เจ้าเสียงเล็กๆมันคอยมากระซิบที่ข้างหูคุณว่า คุณยังดูดีไม่มีปัญหา ทั้งๆที่คุณกำลังวิ่งหนีปัญหา ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเห็น ”โลงศพ” จึงจะเริ่มหลั่ง“น้ำตา”
เมื่อคุณเริ่มเปิดใจให้กว้าง และตระหนักว่า คุณเองก็กำลังมีปัญหาเรื่องเงินๆทองๆ สิ่งที่ควรรู้ต่อไปก็คือ ระดับหรือดีกรีของการเปลี่ยนแปลงของแต่ละคนมากน้อยขนาดไหน ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการควบคุม หรือ คอนโทรล สถานการณ์ทางการเงิน โดยเฉพาะรายจ่ายของตัวเองในแต่ละเดือน
อย่าลืมนะครับว่า ต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง
ถ้าพร้อมแล้ว ลองตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆของคุณอีก 10 ข้อ (ตามสัญชาติญาณของการตอบโต้แบบทันทีเหมือนเดิมนะครับ) อย่าใช้เวลาคิดนานนัก โดยมีระดับของความรู้สึกตั้งแต่ (1) กลัว (2) กังวลนิดหน่อย (3) อยู่ภายใต้การควบคุม และ (4) ยิ้มได้ตลอด
คำตอบของคุณเป็นอย่างไรกันบ้างครับ
ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า ลำดับความซีเรียสของการใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ซึ่งหากคุณเริ่ม “กลัว” หรือหวาดผวาเกี่ยวกับเรื่องเงินทองเหล่านี้ตั้งแต่ข้อแรก คงไม่ต้องบอกใช่ไหมครับว่า อาการป่วยไข้ทางการเงินของคุณ “รุนแรง” ขนาดไหน เพราะนอกจากไม่สามารถควบคุมได้ มันยังกำลังทำลายชีวิตคุณอยู่ ซึ่งคุณต้อง “เปลี่ยนแปลงตัวเอง” อย่างฉับพลัน
ในกรณีที่บางข้อคุณตอบว่า “กังวลนิดหน่อย” แสดงว่า จริงๆแล้วคุณก็อยู่ในสภาวะไม่สามารถควบคุมการเงินของคุณได้ เพียงแต่คุณยังไม่ยอมรับว่าคุณกลัวหรือหวาดผวาแค่ไหน หากมีบางสิ่งบางอย่างพลิกผันจนไม่ทันตั้งหลัก
ถ้าคุณตอบว่าควบคุมได้ในบางข้อ ลองคิดใหม่อีกสักครั้ง เพราะคุณอาจจะควบคุมมันได้จริงๆ หรือคุณอาจจะไม่ยอมรับว่าคุณยังควบคุมมันไม่ได้ แต่พยายามปลอบใจตัวเองมากกว่า
ในกรณีที่คุณ “มั่น” จนมีดีกรีถึงขนาด “ ยิ้มได้ตลอด” เกือบทุกข้อ ในทางทฤษฎีมันอาจจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ คุณถึงกล้าเลือกคำตอบแบบนี้ ซึ่งแสดงว่าคุณมีสุขภาพทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ดีทีเดียว เพียงแต่อาจจะต้องการคำแนะนำในบางเรื่องที่คุณยังกังวล
ที่นี้ ลองสังเกตจากคำถามทั้ง 10 ข้อ คุณจะพบว่า ทั้งหมดมันจะสะท้อนวิธีการวางแผนทางการเงินของคุณทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ค่าใช้จ่ายอย่างค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าขนมของลูก หรือ เงินให้พ่อแม่ ค่าเทอมลูก หรือค่ารักษาพยาบาลบุพพการี ค่าใช้จ่ายเหล่านี้คือ การมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
แต่ค่าใช้จ่ายบางเรื่องเช่น ค่าผ่อนงวดรถยนต์ ค่าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องไฟฟ้า หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถืออย่าง I Phone หรือ Blackberry ทั้งหมดเป็นเรื่องการไล่ตาม “ความฝัน” ในอดีตของคุณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสนองความต้องการ (want) ที่ส่วนใหญ่ มักจะเกินความจำเป็น แต่คุณต้องการจะ “ดูดี” ในสายคนอื่น
ขณะที่รายจ่ายในส่วนสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น (need) เพราะเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่ง และหลักประกันสำหรับอนาคต แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ ไม่สนใจ และไม่มองไปไกลขนาดนั้น จึงผลักเรื่องเหล่านี้ไปไว้ที่หลังสุด
การเห็นความผิดพลาด และได้รู้ในสิ่งที่ “ไม่รู้”ในตอนนี้ ก่อนที่หายนะจะมาเยือน จึงน่าจะเป็นเรื่องดี ไม่ต้องรอจนถึงวันสุดท้ายมาถึง
เริ่ม ”พลิกชีวิต” ตอนอายุเท่าไรไม่สำคัญหรอกครับ สำคัญตรงที่คุณต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้...
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะที่ผ่านมาเราเลือกที่จะพยายาม “ปิดหู ปิดตา” หรือโกหกตัวเอง เพราะ ไอ้เจ้าเสียงเล็กๆมันคอยมากระซิบที่ข้างหูคุณว่า คุณยังดูดีไม่มีปัญหา ทั้งๆที่คุณกำลังวิ่งหนีปัญหา ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเห็น ”โลงศพ” จึงจะเริ่มหลั่ง“น้ำตา”
เมื่อคุณเริ่มเปิดใจให้กว้าง และตระหนักว่า คุณเองก็กำลังมีปัญหาเรื่องเงินๆทองๆ สิ่งที่ควรรู้ต่อไปก็คือ ระดับหรือดีกรีของการเปลี่ยนแปลงของแต่ละคนมากน้อยขนาดไหน ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการควบคุม หรือ คอนโทรล สถานการณ์ทางการเงิน โดยเฉพาะรายจ่ายของตัวเองในแต่ละเดือน
อย่าลืมนะครับว่า ต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง
ถ้าพร้อมแล้ว ลองตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆของคุณอีก 10 ข้อ (ตามสัญชาติญาณของการตอบโต้แบบทันทีเหมือนเดิมนะครับ) อย่าใช้เวลาคิดนานนัก โดยมีระดับของความรู้สึกตั้งแต่ (1) กลัว (2) กังวลนิดหน่อย (3) อยู่ภายใต้การควบคุม และ (4) ยิ้มได้ตลอด
- ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และของใช้ในบ้านแต่ละเดือน
- ค่าผ่อนงวดรถยนต์ และค่าผ่อนงวดบ้านรายเดือน
- ค่าขนมของลูก หรือ เงินให้พ่อแม่ในแต่ละเดือน
- จ่ายค่าบัตรเครดิตขั้นต่ำหรือเต็มจำนวนแต่ละเดือน
- ค่าเทอมเรียนของลูก หรือ ค่ารักษาพยาบาลบุพพการี
- ค่าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย หรือ อุปกรณ์ตกแต่ง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
- ลงทุนทำประกันชีวิต หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ลงทุนในทองคำ หุ้น พันธบัตร กองทุนรวม หรือ อสังหาริมทรัพย์
- เงินสำรองกรณีฉุกเฉินเช่นป่วยหรือตกงาน
- ค่าใช้จ่ายพาครอบครัวไปทัวร์ยุโรปปลายปีนี้
คำตอบของคุณเป็นอย่างไรกันบ้างครับ
ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า ลำดับความซีเรียสของการใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ซึ่งหากคุณเริ่ม “กลัว” หรือหวาดผวาเกี่ยวกับเรื่องเงินทองเหล่านี้ตั้งแต่ข้อแรก คงไม่ต้องบอกใช่ไหมครับว่า อาการป่วยไข้ทางการเงินของคุณ “รุนแรง” ขนาดไหน เพราะนอกจากไม่สามารถควบคุมได้ มันยังกำลังทำลายชีวิตคุณอยู่ ซึ่งคุณต้อง “เปลี่ยนแปลงตัวเอง” อย่างฉับพลัน
ในกรณีที่บางข้อคุณตอบว่า “กังวลนิดหน่อย” แสดงว่า จริงๆแล้วคุณก็อยู่ในสภาวะไม่สามารถควบคุมการเงินของคุณได้ เพียงแต่คุณยังไม่ยอมรับว่าคุณกลัวหรือหวาดผวาแค่ไหน หากมีบางสิ่งบางอย่างพลิกผันจนไม่ทันตั้งหลัก
ถ้าคุณตอบว่าควบคุมได้ในบางข้อ ลองคิดใหม่อีกสักครั้ง เพราะคุณอาจจะควบคุมมันได้จริงๆ หรือคุณอาจจะไม่ยอมรับว่าคุณยังควบคุมมันไม่ได้ แต่พยายามปลอบใจตัวเองมากกว่า
ในกรณีที่คุณ “มั่น” จนมีดีกรีถึงขนาด “ ยิ้มได้ตลอด” เกือบทุกข้อ ในทางทฤษฎีมันอาจจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ คุณถึงกล้าเลือกคำตอบแบบนี้ ซึ่งแสดงว่าคุณมีสุขภาพทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ดีทีเดียว เพียงแต่อาจจะต้องการคำแนะนำในบางเรื่องที่คุณยังกังวล
ที่นี้ ลองสังเกตจากคำถามทั้ง 10 ข้อ คุณจะพบว่า ทั้งหมดมันจะสะท้อนวิธีการวางแผนทางการเงินของคุณทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ค่าใช้จ่ายอย่างค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าขนมของลูก หรือ เงินให้พ่อแม่ ค่าเทอมลูก หรือค่ารักษาพยาบาลบุพพการี ค่าใช้จ่ายเหล่านี้คือ การมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
แต่ค่าใช้จ่ายบางเรื่องเช่น ค่าผ่อนงวดรถยนต์ ค่าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องไฟฟ้า หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถืออย่าง I Phone หรือ Blackberry ทั้งหมดเป็นเรื่องการไล่ตาม “ความฝัน” ในอดีตของคุณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสนองความต้องการ (want) ที่ส่วนใหญ่ มักจะเกินความจำเป็น แต่คุณต้องการจะ “ดูดี” ในสายคนอื่น
ขณะที่รายจ่ายในส่วนสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น (need) เพราะเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่ง และหลักประกันสำหรับอนาคต แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ ไม่สนใจ และไม่มองไปไกลขนาดนั้น จึงผลักเรื่องเหล่านี้ไปไว้ที่หลังสุด
การเห็นความผิดพลาด และได้รู้ในสิ่งที่ “ไม่รู้”ในตอนนี้ ก่อนที่หายนะจะมาเยือน จึงน่าจะเป็นเรื่องดี ไม่ต้องรอจนถึงวันสุดท้ายมาถึง
เริ่ม ”พลิกชีวิต” ตอนอายุเท่าไรไม่สำคัญหรอกครับ สำคัญตรงที่คุณต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้...