“คมนาคม” เผยถนนวิภาวดีและไอซีดีลาดกระบัง พื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบพายุแกมีเร่งลงพื้นที่วางแผนรับมือ “ชัชชาติ” มอนิเตอร์ระดับน้ำคลองด้านตะวันตกและตะวันออกของ กทม.รายวัน สั่ง ทช.เร่งยกถนนเลียบแม่น้ำท่าจีนและคลอง 13 เป็นคันชั่วคราวก่อน โดยบางจุดสูงกว่าระดับน้ำเพียง 5 ซม. พร้อมประสาน ทบ.ขอพื้นที่ พล.ม.2 และ ร.1 พัน.1 รอ.เป็นแก้มลิงและลดการระบายน้ำออกถนนแก้รถติดวิภาวดี
นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยของ กทม. โดยมีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานว่า ขณะนี้พื้นที่ที่น่าเป็นห่วงว่าจะได้รับผลกระทบจากพายุแกมี 2 จุดใหญ่ ประกอบด้วย บริเวณถนนวิภาวดี-ดินแดน และบริเวณสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือ ICD ลาดกระบัง โดยจะเร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบในวันที่ 4 ต.ค.นี้เพื่อวางแผนรองรับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ต.ค.นี้อย่างแน่นอน โดยการแก้ไขปัญหาน้ำถนนวิภาวดีนั้นจะสูบน้ำผ่านอุโมงค์ กทม.สู่บึงมักกะสันก่อนจะระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนไอซีดีลาดกระบังนั้น นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม จะลงพื้นที่ตรวจสอบ คาดว่าจะเสร็จเพื่อรองรับฤดูน้ำหลากปลายเดือน ต.ค.นี้
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากการตรวจสอบระดับน้ำในพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร (กทม.) พบว่า พื้นที่ด้านตะวันออกยังมีปัญหาการผลักดันน้ำในบางจุด เช่น คลอง 13 ซึ่งเป็นคลองหลักแนวเหนือใต้ในการดันน้ำลงทะเล แต่คลอง 13 ลอดใต้คลองรังสิต ทำให้น้ำจากคลองรังสิตเอ่อท่วมพื้นที่โดยรอบเพราะน้ำไหลไปคลอง 13 ไม่ได้ โดยระดับน้ำต่างกันเกือบ 1 เมตร ส่วนปั๊มน้ำที่ติดตั้งไว้เมื่อปีที่แล้วไม่มีแล้ว กำลังพิจารณานำเครื่องปั๊มน้ำติดตั้งอีก ซึ่งต้องประเมินการผลักดันน้ำในคลองต่อเนื่อง ทั้งคลองแสนแสบ คลองลำปะทิว ที่มีนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังตั้งอยู่และการระบายน้ำของคลองบึงบัว คลองลำแตงโม เนื่องจากยังมีน้ำอยู่เต็มพื้นที่
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบระดับน้ำเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พบว่าระดับน้ำคลอง 13 ต่ำกว่าถนน 25 เซนติเมตร ส่วนแม่น้ำท่าจีนอยู่ต่ำกว่าถนน 5 เซนติเมตร ซึ่งได้สั่งการให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เร่งยกระดับถนนตลอดแนวแม่น้ำท่าจีนและถนนแนวคลอง 13 ขึ้นอีก 50 เซนติเมตรเพื่อเป็นคันกั้นน้ำแบบชั่วคราวก่อน โดยเฉพาะจุดที่ถนนมีระดับต่ำมาก
“หลักการต้องผันน้ำลงไปทางใต้ให้เร็วเพราะเครื่องสูบน้ำศักยภาพเกือบ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ที่ผ่านมาน้ำยังไปไม่ถึง โดยที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษของฝั่งตะวันออกคือระดับน้ำคลอง 13 ส่วนฝั่งตะวันตกคือแม่น้ำท่าจีนซึ่งเท่าที่ดูก็ยังรับได้ภาพรวมยังไม่น่าเป็นห่วง และเชื่อว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรงเพราะเป็นปริมาณน้ำในพื้นที่และปริมาณน้ำฝนไม่มีน้ำเหนือเหมือนปีที่แล้ว” นายชัชชาติกล่าว
สำหรับแผนรองรับพายุลูกใหม่ไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและจราจรในพื้นที่ กทม.นั้น นายชัชชาติกล่าวว่า เบื้องต้นได้ประสานกับ พล.ม.2 รอ.สนามเป้า และค่ายทหาร ร.1 พัน.1 รอ.วิภาวดี เพื่อใช้พื้นที่เป็นแก้มลิง เนื่องจากมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่รองรับน้ำได้เกือบ 1 แสนลูกบาศก์เมตร โดยได้เข้าไปดูพื้นที่เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งทางกองทัพพร้อมให้ความร่วมมือซึ่งจะเร่งเข้าไปขุดลอกบึงด้านให้ลึกขึ้นเพื่อรองรับน้ำได้เพิ่ม และปรับปรุงการเชื่อมทางไหลของน้ำเพื่อให้การพร่องน้ำได้สะดวก โดยหลักการจะให้ชะลอการสูบน้ำออกมาภายนอกในช่วงฝนตกด้วย ซึ่งจะต้องหารือรายละเอียดอีกครั้งเพื่อไม่ให้กระทบต่อที่พักอาศัยที่อยู่ด้านใน
อย่างไรก็ตาม เรื่องสิ่งอุดตันท่อต่างๆ ทำให้การระบายน้ำมีปัญหาไม่น่ากังวลแล้ว โดยถนนวิภาวดีการระบายน้ำเร็วขึ้น จากช่วงแรกใช้เวลา 6 ชั่วโมงเหลือประมาณ 40 นาทีเอง ซึ่งจะใช้เป็นตัวชี้วัดการปรับปรุงในแต่ละจุดที่น้ำท่วมซ้ำซาก เช่น ถนนรัชดาภิเษก (บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ถนนสถานทูตจีน ถนนหน้าเซ็นทรัลพระราม 9 ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ) ถนนราชวิถีตั้งแต่แยกซังฮี้-เชิงสะพานกรุงธน ถนนศรีนครินทร์ บริเวณแยกลำสาลี ซอยพร้อมพงษ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนศรีอยุธยา (บริเวณหน้าโรงเรียนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท)
ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดี ทช.กล่าวว่า ภายในเดือนตุลาคมนี้ การยกถนนของ ทช.ขึ้นเป็นคันกั้นน้ำแบบชั่วคราวจะแล้วเสร็จ โดยเฉพาะจุดวิกฤตที่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับถนนไม่มาก โดยขณะนี้ได้ให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่แล้วนั้น สำหรับแนวคันกั้นน้ำฝั่งตะวันออกริมแม่น้ำท่าจีน จากปากคลองพระยาบรรลือด้านแม่น้ำท่าจีน ถึงปากแม่น้ำท่าจีน วงเงิน 1,265 ล้านบาท ส่วนแนวถนนเลียบคลอง 13 วงเงินประมาณ 1,470 ล้านบาท
นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยของ กทม. โดยมีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานว่า ขณะนี้พื้นที่ที่น่าเป็นห่วงว่าจะได้รับผลกระทบจากพายุแกมี 2 จุดใหญ่ ประกอบด้วย บริเวณถนนวิภาวดี-ดินแดน และบริเวณสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือ ICD ลาดกระบัง โดยจะเร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบในวันที่ 4 ต.ค.นี้เพื่อวางแผนรองรับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ต.ค.นี้อย่างแน่นอน โดยการแก้ไขปัญหาน้ำถนนวิภาวดีนั้นจะสูบน้ำผ่านอุโมงค์ กทม.สู่บึงมักกะสันก่อนจะระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนไอซีดีลาดกระบังนั้น นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม จะลงพื้นที่ตรวจสอบ คาดว่าจะเสร็จเพื่อรองรับฤดูน้ำหลากปลายเดือน ต.ค.นี้
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากการตรวจสอบระดับน้ำในพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร (กทม.) พบว่า พื้นที่ด้านตะวันออกยังมีปัญหาการผลักดันน้ำในบางจุด เช่น คลอง 13 ซึ่งเป็นคลองหลักแนวเหนือใต้ในการดันน้ำลงทะเล แต่คลอง 13 ลอดใต้คลองรังสิต ทำให้น้ำจากคลองรังสิตเอ่อท่วมพื้นที่โดยรอบเพราะน้ำไหลไปคลอง 13 ไม่ได้ โดยระดับน้ำต่างกันเกือบ 1 เมตร ส่วนปั๊มน้ำที่ติดตั้งไว้เมื่อปีที่แล้วไม่มีแล้ว กำลังพิจารณานำเครื่องปั๊มน้ำติดตั้งอีก ซึ่งต้องประเมินการผลักดันน้ำในคลองต่อเนื่อง ทั้งคลองแสนแสบ คลองลำปะทิว ที่มีนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังตั้งอยู่และการระบายน้ำของคลองบึงบัว คลองลำแตงโม เนื่องจากยังมีน้ำอยู่เต็มพื้นที่
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบระดับน้ำเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พบว่าระดับน้ำคลอง 13 ต่ำกว่าถนน 25 เซนติเมตร ส่วนแม่น้ำท่าจีนอยู่ต่ำกว่าถนน 5 เซนติเมตร ซึ่งได้สั่งการให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เร่งยกระดับถนนตลอดแนวแม่น้ำท่าจีนและถนนแนวคลอง 13 ขึ้นอีก 50 เซนติเมตรเพื่อเป็นคันกั้นน้ำแบบชั่วคราวก่อน โดยเฉพาะจุดที่ถนนมีระดับต่ำมาก
“หลักการต้องผันน้ำลงไปทางใต้ให้เร็วเพราะเครื่องสูบน้ำศักยภาพเกือบ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ที่ผ่านมาน้ำยังไปไม่ถึง โดยที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษของฝั่งตะวันออกคือระดับน้ำคลอง 13 ส่วนฝั่งตะวันตกคือแม่น้ำท่าจีนซึ่งเท่าที่ดูก็ยังรับได้ภาพรวมยังไม่น่าเป็นห่วง และเชื่อว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรงเพราะเป็นปริมาณน้ำในพื้นที่และปริมาณน้ำฝนไม่มีน้ำเหนือเหมือนปีที่แล้ว” นายชัชชาติกล่าว
สำหรับแผนรองรับพายุลูกใหม่ไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและจราจรในพื้นที่ กทม.นั้น นายชัชชาติกล่าวว่า เบื้องต้นได้ประสานกับ พล.ม.2 รอ.สนามเป้า และค่ายทหาร ร.1 พัน.1 รอ.วิภาวดี เพื่อใช้พื้นที่เป็นแก้มลิง เนื่องจากมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่รองรับน้ำได้เกือบ 1 แสนลูกบาศก์เมตร โดยได้เข้าไปดูพื้นที่เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งทางกองทัพพร้อมให้ความร่วมมือซึ่งจะเร่งเข้าไปขุดลอกบึงด้านให้ลึกขึ้นเพื่อรองรับน้ำได้เพิ่ม และปรับปรุงการเชื่อมทางไหลของน้ำเพื่อให้การพร่องน้ำได้สะดวก โดยหลักการจะให้ชะลอการสูบน้ำออกมาภายนอกในช่วงฝนตกด้วย ซึ่งจะต้องหารือรายละเอียดอีกครั้งเพื่อไม่ให้กระทบต่อที่พักอาศัยที่อยู่ด้านใน
อย่างไรก็ตาม เรื่องสิ่งอุดตันท่อต่างๆ ทำให้การระบายน้ำมีปัญหาไม่น่ากังวลแล้ว โดยถนนวิภาวดีการระบายน้ำเร็วขึ้น จากช่วงแรกใช้เวลา 6 ชั่วโมงเหลือประมาณ 40 นาทีเอง ซึ่งจะใช้เป็นตัวชี้วัดการปรับปรุงในแต่ละจุดที่น้ำท่วมซ้ำซาก เช่น ถนนรัชดาภิเษก (บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ถนนสถานทูตจีน ถนนหน้าเซ็นทรัลพระราม 9 ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ) ถนนราชวิถีตั้งแต่แยกซังฮี้-เชิงสะพานกรุงธน ถนนศรีนครินทร์ บริเวณแยกลำสาลี ซอยพร้อมพงษ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนศรีอยุธยา (บริเวณหน้าโรงเรียนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท)
ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดี ทช.กล่าวว่า ภายในเดือนตุลาคมนี้ การยกถนนของ ทช.ขึ้นเป็นคันกั้นน้ำแบบชั่วคราวจะแล้วเสร็จ โดยเฉพาะจุดวิกฤตที่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับถนนไม่มาก โดยขณะนี้ได้ให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่แล้วนั้น สำหรับแนวคันกั้นน้ำฝั่งตะวันออกริมแม่น้ำท่าจีน จากปากคลองพระยาบรรลือด้านแม่น้ำท่าจีน ถึงปากแม่น้ำท่าจีน วงเงิน 1,265 ล้านบาท ส่วนแนวถนนเลียบคลอง 13 วงเงินประมาณ 1,470 ล้านบาท