จากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ของนีลเส็นพบว่าผู้บริโภคไทยมากกว่า 7 ใน 10 คนเปรียบเทียบราคาและอ่านวิจารณ์สินค้าบนอินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตร นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้บริโภคดังกล่าวยังระบุว่าพวกเขาใช้อินเทอร์เน็ตในการหาข้อมูลสินค้าต่างๆ ทุกวัน
“การขยายตัวของความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากหันเข้าสู่โลกออนไลน์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านวิจารณ์จากกลุ่มผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ ไปจนถึงการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์” นายสุเรช รามาลินกัม กรรมการผู้จัดการบริษัท นีลเส็น ประเทศไทยและเวียดนาม กล่าว
“การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสทองให้ผู้ประกอบการต่างๆ ในการขยายฐานลูกค้าในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ของลูกค้ากับแบรนด์และสินค้าของตน แต่แน่นอนว่าเมื่อตลาดออนไลน์ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ e-Commerce ก็ต้องยิ่งซับซ้อนขึ้น และผู้ผลิตรวมถึงผู้ขายออนไลน์ยิ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค เพื่อให้ตนเองทันคู่แข่งและทันตลาดอยู่ตลอดเวลา”
แม้ว่าราคาจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพิจารณาซื้อสินค้าของคนไทย (58%) จากการสำรวจพบว่าข้อมูลบนฉลากสินค้าและปัจจัยด้านสุขภาพก็มีความสำคัญใกล้เคียงกัน (57% และ 54% ตามลำดับ) นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวและการคมนาคม เช่น การจองที่พัก จองตั๋วโดยสาร ถือเป็นสินค้าและบริการที่คนไทยนิยมซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุด (39%) รองลงมาคือเกมคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (28%) อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะประเทศจีนและเกาหลีที่เกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคทั้งหมด (46%) นิยมการซื้อเสื้อผ้าและเครื่องประดับผ่านร้านค้าออนไลน์ มีผู้บริโภคไทยเพียง 2 ใน 10 เท่านั้นที่ระบุว่าเคยซื้อเสื้อผ้าจากอินเทอร์เน็ต
ผลการสำรวจจากนีลเส็นยังชี้ว่า ชาวเน็ตไทยยังคงนิยมซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารแบบฉบับตีพิมพ์มากกว่าแบบฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้ใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อหรือสมัครสมาชิกหนังสือ, หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารแบบฉบับตีพิมพ์ มากกว่าฉบับอิเล็กทรอนิกส์ถึง 35 เปอร์เซ็นต์
“ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ยังคงเคยชินกับการอ่านข่าวหรือข้อมูลต่างๆ บนโลกออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเคยชินกับการซื้อหนังสือเพื่ออ่านจากแผ่นกระดาษตีพิมพ์มากกว่าผ่านจากหน้าจอ ดังนั้น การซื้อหรือสมัครสมาชิกหนังสือฉบับอิเล็กทรอนิกส์จึงยังไม่แพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคไทยมากนัก อย่างไรก็ดี การสำรวจของเราเกี่ยวกับ Digital Consumer พบว่า ผู้บริโภคจำนวนมากมีโครงการจะซื้อสินค้าประเภทแท็บเล็ท และอี-รีดเดอร์ (e-Reader) ภายในครึ่งปี ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้นี้” นายสุเรชกล่าว
“การขยายตัวของความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากหันเข้าสู่โลกออนไลน์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านวิจารณ์จากกลุ่มผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ ไปจนถึงการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์” นายสุเรช รามาลินกัม กรรมการผู้จัดการบริษัท นีลเส็น ประเทศไทยและเวียดนาม กล่าว
“การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสทองให้ผู้ประกอบการต่างๆ ในการขยายฐานลูกค้าในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ของลูกค้ากับแบรนด์และสินค้าของตน แต่แน่นอนว่าเมื่อตลาดออนไลน์ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ e-Commerce ก็ต้องยิ่งซับซ้อนขึ้น และผู้ผลิตรวมถึงผู้ขายออนไลน์ยิ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค เพื่อให้ตนเองทันคู่แข่งและทันตลาดอยู่ตลอดเวลา”
แม้ว่าราคาจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพิจารณาซื้อสินค้าของคนไทย (58%) จากการสำรวจพบว่าข้อมูลบนฉลากสินค้าและปัจจัยด้านสุขภาพก็มีความสำคัญใกล้เคียงกัน (57% และ 54% ตามลำดับ) นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวและการคมนาคม เช่น การจองที่พัก จองตั๋วโดยสาร ถือเป็นสินค้าและบริการที่คนไทยนิยมซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุด (39%) รองลงมาคือเกมคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (28%) อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะประเทศจีนและเกาหลีที่เกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคทั้งหมด (46%) นิยมการซื้อเสื้อผ้าและเครื่องประดับผ่านร้านค้าออนไลน์ มีผู้บริโภคไทยเพียง 2 ใน 10 เท่านั้นที่ระบุว่าเคยซื้อเสื้อผ้าจากอินเทอร์เน็ต
ผลการสำรวจจากนีลเส็นยังชี้ว่า ชาวเน็ตไทยยังคงนิยมซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารแบบฉบับตีพิมพ์มากกว่าแบบฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้ใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อหรือสมัครสมาชิกหนังสือ, หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารแบบฉบับตีพิมพ์ มากกว่าฉบับอิเล็กทรอนิกส์ถึง 35 เปอร์เซ็นต์
“ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ยังคงเคยชินกับการอ่านข่าวหรือข้อมูลต่างๆ บนโลกออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเคยชินกับการซื้อหนังสือเพื่ออ่านจากแผ่นกระดาษตีพิมพ์มากกว่าผ่านจากหน้าจอ ดังนั้น การซื้อหรือสมัครสมาชิกหนังสือฉบับอิเล็กทรอนิกส์จึงยังไม่แพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคไทยมากนัก อย่างไรก็ดี การสำรวจของเราเกี่ยวกับ Digital Consumer พบว่า ผู้บริโภคจำนวนมากมีโครงการจะซื้อสินค้าประเภทแท็บเล็ท และอี-รีดเดอร์ (e-Reader) ภายในครึ่งปี ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้นี้” นายสุเรชกล่าว