ทอท.ยังไม่สรุปผลประมูลดิวตี้ฟรีดอนเมือง “สุเมธ” เผย กก.ประมูลยังประเมินข้อเสนอไม่เรียบร้อยคาดจบใน 4 ก.ย. โดยได้นัดบอร์ดวาระพิเศษเพื่อเห็นชอบ ยันเปิดให้บริการทันย้ายโลว์คอสต์กลับดอนเมือง 1 ต.ค.ขณะนี้สั่งหาที่ปรึกษาหาตัวเลขค่าก่อสร้างสุวรรณภูมิงานส่วนเพิ่มเปรียบเทียบกับที่จุฬาฯ เสนอที่ 1,644 ล. ก่อนเจรจากลุ่ม ITO แก้ปัญหาข้อพิพาท
พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดวานนี้ (30 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมยังไม่มีการพิจารณาผลการประกวดราคาคัดเลือกผู้ประกอบการกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) และผู้ประกอบการโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ประเภทสินค้าและบริการ และประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เนื่องจากคณะกรรมการประกวดราคายังไม่สรุปผลการประกวดราคาเสนอได้ทันการประชุมบอร์ดวันนี้ เพราะเพิ่งเปิดซองข้อเสนอราคาของเอกชนที่ยื่นประกวดราคาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ คาดว่าคณะกรรมการประกวดราคาทั้ง 2 สัญญาจะได้ข้อสรุปในวันที่ 4 กันยายนนี้ โดยบอร์ดจะมีการประชุมวาระพิเศษเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถลงนามสัญญาและดำเนินการจัดหาร้านค้าดิวตี้ฟรี และผู้ที่จะเข้ามาบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานดอนเมืองได้ทันวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์แอร์ไลน์) จะย้ายกลับมาให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง
“เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการประกวดราคาพิจารณาผลการเปิดข้อเสนอด้านราคาถึง 22.00 น. เพื่อให้การพิจารณารอบคอบมากที่สุด ทั้งในเรื่องระเบียบและข้อกฎหมาย” พล.อ.อ.สุเมธกล่าว
สำหรับกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร เนื้อที่ประมาณ 1,100 ตารางเมตร มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 4 ราย คือ บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ได้เสนอผลประโยชน์สูงสุด ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 63 ล้านบาท, บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น เสนอรองลงมา เดือนละ 40.625 ล้านบาท, กิจการร่วมค้า ชิลล่า มอลล์ ประกอบด้วย บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท โฮเทลชิวลา เสนอค่าตอบแทนเดือนละ 35.21 ล้านบาท และบริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลล็อปเม้นท์ ประกอบด้วย กิจการร่วมค้าสยามฟิวเจอร์ดิวตี้, บริษัท โฮเต็ลลอตเต้ จำกัด และบริษัท ฮอลิเดย์กิฟท์ จำกัด เสนอค่าตอบแทนเดือนละ 24.2 ล้านบาท
โครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ประเภทสินค้าและบริการ และประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เนื้อที่ประมาณ 2,700 ตารางเมตร เสนอ 4 รายเช่นเดียวกัน คือ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป เสนอผลประโยชน์สูงสุด โดยเสนอค่าตอบแทนขั้นต่ำรายเดือนปีแรกเป็นเงิน 16.7 ล้านบาท, บริษัท สยามฟิวเจอร์ จำกัด ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท เมกาบางนา จำกัด เสนอรองลงมาเดือนละ 13.525 ล้านบาท, บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เสนอเดือนละ 10.679 ล้านบาท และบริษัท คิงเพาเวอร์สุวรรณภูมิ จำกัด เสนอเดือนละ 3.2 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรณีข้อพิพาทระหว่าง ทอท.และกลุ่มกิจการร่วมค้า ITO JV ผู้รับจ้างงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเรียกค่าเสียหายจาก ทอท.จากมูลค่างานก่อสร้างงานเปลี่ยนแปลง (Variation) วงเงิน 7,700 ล้านบาท โดยจุฬาฯ ประเมินค่างานเพิ่มที่เหมาะสมในการเจรจากับกลุ่ม ITO คือ วงเงิน 1,644 ล้านบาทนั้น พล.อ.อ.สุเมธกล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่าควรจ้างที่ปรึกษาอีกรายเพื่อมีข้อมูลสำหรับประเมินกรอบค่างานเปรียบเทียบกับที่จุฬาฯ เสนอก่อนพิจารณาตัดสินใจ
พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดวานนี้ (30 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมยังไม่มีการพิจารณาผลการประกวดราคาคัดเลือกผู้ประกอบการกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) และผู้ประกอบการโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ประเภทสินค้าและบริการ และประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เนื่องจากคณะกรรมการประกวดราคายังไม่สรุปผลการประกวดราคาเสนอได้ทันการประชุมบอร์ดวันนี้ เพราะเพิ่งเปิดซองข้อเสนอราคาของเอกชนที่ยื่นประกวดราคาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ คาดว่าคณะกรรมการประกวดราคาทั้ง 2 สัญญาจะได้ข้อสรุปในวันที่ 4 กันยายนนี้ โดยบอร์ดจะมีการประชุมวาระพิเศษเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถลงนามสัญญาและดำเนินการจัดหาร้านค้าดิวตี้ฟรี และผู้ที่จะเข้ามาบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานดอนเมืองได้ทันวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์แอร์ไลน์) จะย้ายกลับมาให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง
“เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการประกวดราคาพิจารณาผลการเปิดข้อเสนอด้านราคาถึง 22.00 น. เพื่อให้การพิจารณารอบคอบมากที่สุด ทั้งในเรื่องระเบียบและข้อกฎหมาย” พล.อ.อ.สุเมธกล่าว
สำหรับกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร เนื้อที่ประมาณ 1,100 ตารางเมตร มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 4 ราย คือ บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ได้เสนอผลประโยชน์สูงสุด ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 63 ล้านบาท, บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น เสนอรองลงมา เดือนละ 40.625 ล้านบาท, กิจการร่วมค้า ชิลล่า มอลล์ ประกอบด้วย บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท โฮเทลชิวลา เสนอค่าตอบแทนเดือนละ 35.21 ล้านบาท และบริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลล็อปเม้นท์ ประกอบด้วย กิจการร่วมค้าสยามฟิวเจอร์ดิวตี้, บริษัท โฮเต็ลลอตเต้ จำกัด และบริษัท ฮอลิเดย์กิฟท์ จำกัด เสนอค่าตอบแทนเดือนละ 24.2 ล้านบาท
โครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ประเภทสินค้าและบริการ และประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เนื้อที่ประมาณ 2,700 ตารางเมตร เสนอ 4 รายเช่นเดียวกัน คือ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป เสนอผลประโยชน์สูงสุด โดยเสนอค่าตอบแทนขั้นต่ำรายเดือนปีแรกเป็นเงิน 16.7 ล้านบาท, บริษัท สยามฟิวเจอร์ จำกัด ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท เมกาบางนา จำกัด เสนอรองลงมาเดือนละ 13.525 ล้านบาท, บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เสนอเดือนละ 10.679 ล้านบาท และบริษัท คิงเพาเวอร์สุวรรณภูมิ จำกัด เสนอเดือนละ 3.2 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรณีข้อพิพาทระหว่าง ทอท.และกลุ่มกิจการร่วมค้า ITO JV ผู้รับจ้างงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเรียกค่าเสียหายจาก ทอท.จากมูลค่างานก่อสร้างงานเปลี่ยนแปลง (Variation) วงเงิน 7,700 ล้านบาท โดยจุฬาฯ ประเมินค่างานเพิ่มที่เหมาะสมในการเจรจากับกลุ่ม ITO คือ วงเงิน 1,644 ล้านบาทนั้น พล.อ.อ.สุเมธกล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่าควรจ้างที่ปรึกษาอีกรายเพื่อมีข้อมูลสำหรับประเมินกรอบค่างานเปรียบเทียบกับที่จุฬาฯ เสนอก่อนพิจารณาตัดสินใจ