ASTVผู้จัดการรายวัน - “ชุมพล” อ้อมแอ้มตอบวิธีการจ้างผู้บริหารศูนย์ประชุมฯ เชียงใหม่ คนวงการท่องเที่ยวแนะจับตา หวั่นไม่โปร่งใส เอกชนตั้งคำถาม ทำไมต้องใช้วิธีจ้างพิเศษ ดึง ไรท์แมน บริหารด้วยค่าจ้างปีละ 100 ล้านบาท ทั้งที่มีเวลานานก่อนศูนย์ฯ สร้างเสร็จ ชี้ควรใช้ระบบอี-ออกชันซึ่งโปร่งใสกว่า
นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการหาผู้บริหารศูนย์ประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นผู้ดูแล ล่าสุดอยู่ระหว่างการทำระเบียบวิธีประมูล (ทีโออาร์) โดยใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน
ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากล่าวว่า การบริหารศูนย์ประชุมฯเชียงใหม่ เบื้องต้นมอบให้ ททท.เป็นผู้ดำเนินการ ขณะเดียวกัน ที่ร่างทีโออาร์ก็เพื่อ เปิดหาผู้ร่วมทุนจริงที่จะเข้ามาบริหารศูนย์ฯ ซึ่งมีกระแสข่าวว่าฝ่ายการเมืองได้สั่งการให้ ททท.ใช้วิธีพิเศษจ้างบริษัท ไรท์แมน จำกัด มาบริหารศูนย์ฯ โดยไม่ต้องเปิดซองประมูล เพราะบริษัทไรท์แมนมีความสนิทสนมกับฝ่ายการเมือง จึงมักจะได้จัดงานใหญ่ๆ จากกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ทั้งที่ความจริงบริษัทไรท์แมนไม่ได้มีประสบการณ์บริหารศูนย์ประชุมมาก่อน
“ที่ผ่านมาคนในวงการท่องเที่ยว และภาคเอกชนก็ท้วงติงมาตลอดว่าต้องการให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จัดหาผู้ที่จะเข้ามาบริหารศูนย์โดยเร็วเพื่อมาทำการตลาดก่อนที่ศูนย์จะเปิดให้บริการ แต่ทางกระทรวงก็อ้างเพียงว่าอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบ พอมาถึงเวลานี้กลับอ้างว่าต้องใช้วิธีพิเศษเพราะเป็นงานเร่งด่วน แล้วยังต้องเป็นบริษัทไรท์แมน”
ดังนั้นจึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายจากคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวว่า การหาผู้มาบริหารศูนย์ประชุมฯ เชียงใหม่ทำไมไม่ใช้วิธีเปิดประมูลออนไลน์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี ออกชัน) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และยังมีเวลาตั้งนานกว่าศูนย์ฯ จะสร้างเสร็จ โดยการจ้างในแต่ละปีกระทรวงต้องใช้เงินจ้างผู้บริหารถึงปีละ 100 ล้านบาท ซึ่งเข้าเกณฑ์การประกวดราคาคือมีการจ้างเกินวงเงิน 2 ล้านบาท แต่กลับเลือกใช้วิธีพิเศษซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เกณฑ์ว่าเป็นโครงการมูลค่าเกิน 1 แสนบาท และต้องเป็นงานเร่งด่วนเท่านั้น หากช้าจะเสียหายแก่ราชการ หรือใช้วิธีอื่นแล้วผลจะออกมาไม่ดี
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (17 ส.ค.) นายชุมพล ศิลปอาชา พร้อมด้วยนายบรรหาร ศิลปอาชา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา และคณะจะเดินทางไปตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างศูนย์การประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ เพราะมีปัญหารั้วยังสร้างไม่เสร็จ ระบบไฟฟ้า ประปา และถนน 4 ช่องทางจราจร ก็ยังไม่เรียบร้อย ขณะที่ตัวศูนย์ประชุมฯ เสร็จเกือบ 100% แล้ว เหลือเพียงระบบไฟฟ้า และการจัดซื้อครุภัณฑ์ คาดว่าราวเดือน ต.ค.ศกนี้จะเสร็จพร้อมส่งมอบงานได้
ส่วนเอกชนที่จะเข้ามาบริหารศูนย์ฯ ในรูปแบบวิธีร่วมทุนนั้นจะเริ่มเข้ามาทำงานได้ราวปี 58 ตรงกับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งขณะนี้เมื่อมีการสอบถามความคืบหน้าการหาผู้บริหารศูนย์ ทั้งกระทรวงฯ และ ททท.ต่างบ่ายเบี่ยงอ้างว่าอยู่แค่ขั้นตอนการจัดทำทีโออาร์ดังกล่าวข้างต้น
นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการหาผู้บริหารศูนย์ประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นผู้ดูแล ล่าสุดอยู่ระหว่างการทำระเบียบวิธีประมูล (ทีโออาร์) โดยใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน
ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากล่าวว่า การบริหารศูนย์ประชุมฯเชียงใหม่ เบื้องต้นมอบให้ ททท.เป็นผู้ดำเนินการ ขณะเดียวกัน ที่ร่างทีโออาร์ก็เพื่อ เปิดหาผู้ร่วมทุนจริงที่จะเข้ามาบริหารศูนย์ฯ ซึ่งมีกระแสข่าวว่าฝ่ายการเมืองได้สั่งการให้ ททท.ใช้วิธีพิเศษจ้างบริษัท ไรท์แมน จำกัด มาบริหารศูนย์ฯ โดยไม่ต้องเปิดซองประมูล เพราะบริษัทไรท์แมนมีความสนิทสนมกับฝ่ายการเมือง จึงมักจะได้จัดงานใหญ่ๆ จากกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ทั้งที่ความจริงบริษัทไรท์แมนไม่ได้มีประสบการณ์บริหารศูนย์ประชุมมาก่อน
“ที่ผ่านมาคนในวงการท่องเที่ยว และภาคเอกชนก็ท้วงติงมาตลอดว่าต้องการให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จัดหาผู้ที่จะเข้ามาบริหารศูนย์โดยเร็วเพื่อมาทำการตลาดก่อนที่ศูนย์จะเปิดให้บริการ แต่ทางกระทรวงก็อ้างเพียงว่าอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบ พอมาถึงเวลานี้กลับอ้างว่าต้องใช้วิธีพิเศษเพราะเป็นงานเร่งด่วน แล้วยังต้องเป็นบริษัทไรท์แมน”
ดังนั้นจึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายจากคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวว่า การหาผู้มาบริหารศูนย์ประชุมฯ เชียงใหม่ทำไมไม่ใช้วิธีเปิดประมูลออนไลน์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี ออกชัน) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และยังมีเวลาตั้งนานกว่าศูนย์ฯ จะสร้างเสร็จ โดยการจ้างในแต่ละปีกระทรวงต้องใช้เงินจ้างผู้บริหารถึงปีละ 100 ล้านบาท ซึ่งเข้าเกณฑ์การประกวดราคาคือมีการจ้างเกินวงเงิน 2 ล้านบาท แต่กลับเลือกใช้วิธีพิเศษซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เกณฑ์ว่าเป็นโครงการมูลค่าเกิน 1 แสนบาท และต้องเป็นงานเร่งด่วนเท่านั้น หากช้าจะเสียหายแก่ราชการ หรือใช้วิธีอื่นแล้วผลจะออกมาไม่ดี
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (17 ส.ค.) นายชุมพล ศิลปอาชา พร้อมด้วยนายบรรหาร ศิลปอาชา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา และคณะจะเดินทางไปตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างศูนย์การประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ เพราะมีปัญหารั้วยังสร้างไม่เสร็จ ระบบไฟฟ้า ประปา และถนน 4 ช่องทางจราจร ก็ยังไม่เรียบร้อย ขณะที่ตัวศูนย์ประชุมฯ เสร็จเกือบ 100% แล้ว เหลือเพียงระบบไฟฟ้า และการจัดซื้อครุภัณฑ์ คาดว่าราวเดือน ต.ค.ศกนี้จะเสร็จพร้อมส่งมอบงานได้
ส่วนเอกชนที่จะเข้ามาบริหารศูนย์ฯ ในรูปแบบวิธีร่วมทุนนั้นจะเริ่มเข้ามาทำงานได้ราวปี 58 ตรงกับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งขณะนี้เมื่อมีการสอบถามความคืบหน้าการหาผู้บริหารศูนย์ ทั้งกระทรวงฯ และ ททท.ต่างบ่ายเบี่ยงอ้างว่าอยู่แค่ขั้นตอนการจัดทำทีโออาร์ดังกล่าวข้างต้น