“คณะกรรมการส่งเสริมการส่งออกลูกเกดแคลิฟอร์เนีย” ลุยตลาดลูกเกดในไทย สร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของลูกเกดแคลิฟอร์เนียในกลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเบเกอรี่ หลังโตแบบก้าวกระโดดจากปี 2009 กว่า 733 ตัน โตพรวด 1,265 ตัน ในปี 2011 พร้อมกินแชร์ตลาดลูกเกดแล้วกว่า 74% หลังส่งเสริมการ บริโภคลูกเกดแคลิฟอร์เนียกับผู้บริโภคโดยตรง เตรียมจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขาย และทำ Co Promotion ร่วมกับผู้ประกอบการ มากขึ้นต่อเนื่องตลอดปี หวังโตเพิ่มอีก 20%
นายริชาร์ด ลิว ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการค้า “คณะกรรมการส่งเสริมการส่งออกลูกเกดแคลิฟอร์เนีย” (Raisin Administrative Committee : RAC) เป็นตัวแทนในการทำตลาดลูกเกดแคลิฟอร์เนียในประเทศไทย เผยว่า คณะกรรมการ RAC เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการบริโภคลูกเกดแคลิฟอร์เนียให้แพร่หลายทั่วโลก ผ่านการจัดกิจกรรมการตลาดและส่งเสริมการขายในหลายประเทศทั่วโลก โดยมีสำนักงานประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันสหรัฐอเมริกาครองตำแหน่งผู้ส่งออกลูกเกดอันดับหนึ่งของโลก โดยรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่ผลิตลูกเกดมากที่สุด ที่มีผลิตเฉลี่ย 350,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็น 50% ของผลิตลูกเกดทั่วโลก
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของลูกเกดต่อสุขภาพ และไม่ตระหนักว่า ลูกเกดสามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานหลัก หรือของหวาน โดยในเชิงคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากลูกเกดจะมีโซเดียมต่ำ ไม่มีคอเรสเตอรอล และไขมันแล้ว ยังมีใยอาหารสูง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย
นายริชาร์ด ลิว กว่าวต่อไปว่า เพื่อกระตุ้นให้คนไทยเล็งเห็นถึงคุณค่าทางอาหารของลูกเกด และหันมาบริโภคลูกเกดแคลิฟอร์เนียอย่างแพร่หลายมากขึ้น เราวางแผนที่จะจัดกิจกรรม อย่างต่อเนื่องตลอดปี ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการขายภายในห้าง เช่น การจัดให้ชิมฟรี การลงบทความในสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของลูกเกด การร่วมกับนิตยสารด้านสุขภาพ และอาหารจัด คอร์สสอนทำอาหารด้วยลูกเกดแคลิฟอร์เนียให้กับผู้อ่านที่สนใจฟรี ตลอดจนการเดินสายจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยเชิญเชฟชั้นนำจากต่างประเทศมาสาธิตสูตรอาหารใหม่ๆ ที่มีลูกเกดแคลิฟอร์เนียเป็นส่วนประกอบ ให้แก่ผู้ประกอบการด้านอาหารและเบเกอรี่ที่สนใจทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่อย่าง เชียงใหม่ พัทยา และ ภูเก็ต โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่อย่างใด
ปัจจุบันประเทศไทยมียอดการนำเข้าลูกเกดในปี 2554 สูงถึง 1,700 ตัน โดยลูกเกดแคลิฟอร์เนีย ถือเป็นเจ้าตลาดที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 74% หรือประมาณ 1,265 ตัน ในปี 2011 ซึ่งหลังจากทางคณะกรรมการ RAC ได้มีการสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของลูกเกดจากแคลิฟอร์เนียอย่างต่อเนื่อง จากปี 2009 ที่มีการนำเข้าลูกเกด 1,285 ตัน และลูกเกดแคลิฟอร์เนีย มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 733 ตัน หรือประมาณ 57% ทำให้มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เป็น 1,096 ตัน ในปี 2010 และปี 2011 มีการนำเข้ากว่า 1,265 ตัน และคาดว่าในปี 2012 จะมีอัตราการเติบโตกว่า 20%
“ในส่วนของกลยุทธ์ทางการตลาด ทางคณะกรรมการฯจะส่งเสริมการ บริโภคลูกเกดแคลิฟอร์เนียผ่านทางผู้ประกอบการเบเกอรี่, โรงแรม, ร้านอาหาร โดยการจัดสัมมนาเผยแพร่ความหลากหลายในการนำลูกเกดแคลิฟอร์เนียไปใช้ในการประกอบอาหาร และเบเกอรี่ นอกจากนี้ยังมีการทำ Co-Promotion กับผู้ประกอบการเบเกอรี่ เช่น โอบองแบง, ยามาซากิ อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันกลุ่มลูกค้าลูกเกดแคลิฟอร์เนียในประเทศไทย ถูกนำไปใช้ในผู้ประกอบการเบเกอรี่ และร้านอาหารประมาณ 70% และอีก 30% นำไปบริโภคเป็นขนมขบเคี้ยว” นายริชาร์ด ลิว กล่าว
นายริชาร์ด ลิว ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการค้า “คณะกรรมการส่งเสริมการส่งออกลูกเกดแคลิฟอร์เนีย” (Raisin Administrative Committee : RAC) เป็นตัวแทนในการทำตลาดลูกเกดแคลิฟอร์เนียในประเทศไทย เผยว่า คณะกรรมการ RAC เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการบริโภคลูกเกดแคลิฟอร์เนียให้แพร่หลายทั่วโลก ผ่านการจัดกิจกรรมการตลาดและส่งเสริมการขายในหลายประเทศทั่วโลก โดยมีสำนักงานประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันสหรัฐอเมริกาครองตำแหน่งผู้ส่งออกลูกเกดอันดับหนึ่งของโลก โดยรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่ผลิตลูกเกดมากที่สุด ที่มีผลิตเฉลี่ย 350,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็น 50% ของผลิตลูกเกดทั่วโลก
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของลูกเกดต่อสุขภาพ และไม่ตระหนักว่า ลูกเกดสามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานหลัก หรือของหวาน โดยในเชิงคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากลูกเกดจะมีโซเดียมต่ำ ไม่มีคอเรสเตอรอล และไขมันแล้ว ยังมีใยอาหารสูง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย
นายริชาร์ด ลิว กว่าวต่อไปว่า เพื่อกระตุ้นให้คนไทยเล็งเห็นถึงคุณค่าทางอาหารของลูกเกด และหันมาบริโภคลูกเกดแคลิฟอร์เนียอย่างแพร่หลายมากขึ้น เราวางแผนที่จะจัดกิจกรรม อย่างต่อเนื่องตลอดปี ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการขายภายในห้าง เช่น การจัดให้ชิมฟรี การลงบทความในสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของลูกเกด การร่วมกับนิตยสารด้านสุขภาพ และอาหารจัด คอร์สสอนทำอาหารด้วยลูกเกดแคลิฟอร์เนียให้กับผู้อ่านที่สนใจฟรี ตลอดจนการเดินสายจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยเชิญเชฟชั้นนำจากต่างประเทศมาสาธิตสูตรอาหารใหม่ๆ ที่มีลูกเกดแคลิฟอร์เนียเป็นส่วนประกอบ ให้แก่ผู้ประกอบการด้านอาหารและเบเกอรี่ที่สนใจทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่อย่าง เชียงใหม่ พัทยา และ ภูเก็ต โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่อย่างใด
ปัจจุบันประเทศไทยมียอดการนำเข้าลูกเกดในปี 2554 สูงถึง 1,700 ตัน โดยลูกเกดแคลิฟอร์เนีย ถือเป็นเจ้าตลาดที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 74% หรือประมาณ 1,265 ตัน ในปี 2011 ซึ่งหลังจากทางคณะกรรมการ RAC ได้มีการสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของลูกเกดจากแคลิฟอร์เนียอย่างต่อเนื่อง จากปี 2009 ที่มีการนำเข้าลูกเกด 1,285 ตัน และลูกเกดแคลิฟอร์เนีย มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 733 ตัน หรือประมาณ 57% ทำให้มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เป็น 1,096 ตัน ในปี 2010 และปี 2011 มีการนำเข้ากว่า 1,265 ตัน และคาดว่าในปี 2012 จะมีอัตราการเติบโตกว่า 20%
“ในส่วนของกลยุทธ์ทางการตลาด ทางคณะกรรมการฯจะส่งเสริมการ บริโภคลูกเกดแคลิฟอร์เนียผ่านทางผู้ประกอบการเบเกอรี่, โรงแรม, ร้านอาหาร โดยการจัดสัมมนาเผยแพร่ความหลากหลายในการนำลูกเกดแคลิฟอร์เนียไปใช้ในการประกอบอาหาร และเบเกอรี่ นอกจากนี้ยังมีการทำ Co-Promotion กับผู้ประกอบการเบเกอรี่ เช่น โอบองแบง, ยามาซากิ อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันกลุ่มลูกค้าลูกเกดแคลิฟอร์เนียในประเทศไทย ถูกนำไปใช้ในผู้ประกอบการเบเกอรี่ และร้านอาหารประมาณ 70% และอีก 30% นำไปบริโภคเป็นขนมขบเคี้ยว” นายริชาร์ด ลิว กล่าว