บิ๊กดุสิตธานีจี้รัฐบาลออกมาตรการช่วยโรงแรมคนไทย หวั่นปล่อยต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจมาก เงินก็ไหลออกนอกประเทศมาก ระบุการเพิ่มศักยภาพให้โรงแรมไทยแข่งขันได้ จะช่วยรองรับการเข้าสู่เวทีอาเซียนด้วย
นายชนินทธ์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น ทั้งรูปแบบลงทุนเอง หรือเข้ามาซื้อกิจการ รวมถึงการนำเชนโรงแรมต่างชาติซึ่งมีจุดแข็งด้านเครือข่ายทางการตลาดเข้ามาบุก ทำให้โรงแรมโลคัลของไทยอยู่ไม่ได้ จึงต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีให้ชัดเจน ให้อยู่รอดได้แม้จะมีการแข่งขัน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเสนอรัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่เห็นมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ
มาตรการที่ภาครัฐควรจะออก ได้แก่ จัดให้มีเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ และการจัดโครงการพัฒนาบุคคลากร การให้ความรู้ด้านการตลาดทั้งหมด เน้นช่วยผู้ประกอบการรายเก่าเพื่อคุมการเกิดใหม่ของโรงแรม เพราะขณะนี้ตลาดก็โอเวอร์ซัปพลายมากแล้ว
“ผลเสียหากรัฐไม่มีมาตรการช่วย คือ หากต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากเท่าไร ก็ยิ่งขนเงินกำไรกลับประเทศของตัวเองมากเท่านั้น แม้จะมีรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปีละ 1 ล้านล้านบาท เงินเหล่านี้จะเหลืออยู่ในประเทศไทยเท่าใด การแข่งขันตอนนี้ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการรายเล็กเท่านั้นที่เหนื่อย แต่รายใหญ่อย่างดุสิตธานี หรืออีกหลายแบรนด์ที่เป็นเชนโรงแรมของคนไทยก็เหนื่อยไม่แพ้กัน รัฐจึงควรใส่ใจช่วยเหลือ”
ในส่วนของผู้ประกอบการท้องถิ่น ล่าสุดนายแพทย์บรรณศาสตร์ เรือจันทร์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย กล่าวว่า ช่วง 1-2 ปีเชนโรงแรมต่างชาติเข้ามาลงทุนในเกาะสมุย พะงัน และเกาะเต่ามากขึ้น โดยสมุยเริ่มมีโรงแรม 4-6 ดาว เพราะจัดเป็นเดสติเนชันท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์แล้ว ดังนั้น หากผู้ประกอบการท้องถิ่นต้องการให้ธุรกิจอยู่ได้ ก็ต้องหันพึ่งระบบเชนต่างชาติเข้ามาบริหาร ทำให้กำไรลดน้อยลง หรือไม่ก็ต้องขายกิจการ เพราะจุดอ่อนของโรงแรมแบรนด์โลคัลคือจำนวนเครือข่ายการทำตลาดที่มีน้อย และกว่า 505 รายยังต้องพึ่งพาเอเยนต์ ทำให้ถูกกดราคา หากอยู่ไม่ได้ก็ต้องขายกิจการ
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจโรงแรมกล่าวว่า ต่างชาติสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาก เพราะภูมิศาสตร์ประเทศเป็นศูนย์กลางทั้งการท่องเที่ยวและธุรกิจในอาเซียน โดยทุนที่นิยมเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงแรม มีทั้งจากสิงคโปร์ ดูไบ และล่าสุดยังมีทุนจากประเทศบรูไน ซึ่งลงทุนโดยผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์
นายชนินทธ์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น ทั้งรูปแบบลงทุนเอง หรือเข้ามาซื้อกิจการ รวมถึงการนำเชนโรงแรมต่างชาติซึ่งมีจุดแข็งด้านเครือข่ายทางการตลาดเข้ามาบุก ทำให้โรงแรมโลคัลของไทยอยู่ไม่ได้ จึงต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีให้ชัดเจน ให้อยู่รอดได้แม้จะมีการแข่งขัน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเสนอรัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่เห็นมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ
มาตรการที่ภาครัฐควรจะออก ได้แก่ จัดให้มีเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ และการจัดโครงการพัฒนาบุคคลากร การให้ความรู้ด้านการตลาดทั้งหมด เน้นช่วยผู้ประกอบการรายเก่าเพื่อคุมการเกิดใหม่ของโรงแรม เพราะขณะนี้ตลาดก็โอเวอร์ซัปพลายมากแล้ว
“ผลเสียหากรัฐไม่มีมาตรการช่วย คือ หากต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากเท่าไร ก็ยิ่งขนเงินกำไรกลับประเทศของตัวเองมากเท่านั้น แม้จะมีรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปีละ 1 ล้านล้านบาท เงินเหล่านี้จะเหลืออยู่ในประเทศไทยเท่าใด การแข่งขันตอนนี้ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการรายเล็กเท่านั้นที่เหนื่อย แต่รายใหญ่อย่างดุสิตธานี หรืออีกหลายแบรนด์ที่เป็นเชนโรงแรมของคนไทยก็เหนื่อยไม่แพ้กัน รัฐจึงควรใส่ใจช่วยเหลือ”
ในส่วนของผู้ประกอบการท้องถิ่น ล่าสุดนายแพทย์บรรณศาสตร์ เรือจันทร์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย กล่าวว่า ช่วง 1-2 ปีเชนโรงแรมต่างชาติเข้ามาลงทุนในเกาะสมุย พะงัน และเกาะเต่ามากขึ้น โดยสมุยเริ่มมีโรงแรม 4-6 ดาว เพราะจัดเป็นเดสติเนชันท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์แล้ว ดังนั้น หากผู้ประกอบการท้องถิ่นต้องการให้ธุรกิจอยู่ได้ ก็ต้องหันพึ่งระบบเชนต่างชาติเข้ามาบริหาร ทำให้กำไรลดน้อยลง หรือไม่ก็ต้องขายกิจการ เพราะจุดอ่อนของโรงแรมแบรนด์โลคัลคือจำนวนเครือข่ายการทำตลาดที่มีน้อย และกว่า 505 รายยังต้องพึ่งพาเอเยนต์ ทำให้ถูกกดราคา หากอยู่ไม่ได้ก็ต้องขายกิจการ
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจโรงแรมกล่าวว่า ต่างชาติสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาก เพราะภูมิศาสตร์ประเทศเป็นศูนย์กลางทั้งการท่องเที่ยวและธุรกิจในอาเซียน โดยทุนที่นิยมเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงแรม มีทั้งจากสิงคโปร์ ดูไบ และล่าสุดยังมีทุนจากประเทศบรูไน ซึ่งลงทุนโดยผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์