“ภูมิ” เปิดงานแสดงสินค้า BIG-BIH ยันเป้าส่งออกโต 15% แม้ค่าแรงกระทบหนัก ส่วนผู้ประกอบการสินค้าไลฟ์สไตล์ยันกระทบหนัก คาดปี 55 มูลค่าหาย 7-8 พันล้านบาท หลังต้นทุนพุ่ง 15% ทำทั้งปีโตแค่ 6-8% เผย SMEs แจ้งปิดโรงงานล่าสุด 100 ราย
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเปิดงานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน หรือ BIG+BIH ระหว่างวันที่ 17-22 เมษายน ที่ไบเทค บางนา ว่า กระทรวงฯ ยังคงยืนยันเป้าหมายการส่งออกภาพรวมของไทยปี 2555 เติบโตระดับ 15% แม้ว่าผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากค่าแรงงานที่ปรับขึ้น แต่เชื่อว่าด้วยมาตรการของภาครัฐในการดูแลและช่วยเหลือ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าไทยจะทำให้การส่งออกทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมาย เพียงแต่ต้องพยายามผลักดันมากขึ้น เห็นได้จากสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ แม้จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่แล้ว ประกอบกับการขึ้นค่าแรงปีนี้ แต่การส่งออกของกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ถึง 1 แสนล้านบาท จากปี 2554 ที่ส่งออกได้ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท
สำหรับการจัดงานแสดงสินค้าดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 1 แสนคน เงินสะพัดภายในงานประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ซึ่งแม้จะเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจโลกตกต่ำ แต่ก็ยังเดินทางเข้ามาร่วมงาน แสดงให้เห็นว่าฝีมือคนไทยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติ และมีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ระดับนานาชาติ รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558
นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท/วัน ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทำให้การส่งออกสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ปี 2555 ลดน้อยลง หรือขยายตัวประมาณ 6-8% มูลค่า 9.54-9.72 หมื่นล้านบาท จากที่คาดว่าจะขยายตัว 12-15% มูลค่า 1-1.03 แสนล้านบาท หรือมูลค่าการส่งออกหายไปประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 15% ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในกลุ่มลดน้อยลง
ทั้งนี้ การส่งออกในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งลูกค้าต่างประเทศเพื่อขอปรับราคาสินค้าตามต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ยอดการส่งออกลดลง พร้อมกันนี้ ผู้ประกอบการของกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีสัดส่วน 90% ได้แจ้งทางสมาพันธ์ฯ ว่าอาจจะมีการปิดโรงงานมากถึง 100 ราย เนื่องจากปรับตัวไม่ทันการขึ้นค่าแรง โดยต้องการให้รัฐบาลเร่งเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเร่งด่วนทั้งการหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งประสานธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อในการจัดหาเครื่องจักร และแหล่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือ ในส่วนของภาคเอกชนจะเร่งปรับตัว โดยการสร้างมูลค่าสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อหลีกหนีการแข่งขันขายสินค้าราคาต่ำร่วมด้วยอีกทาง
“สินค้าไลฟ์สไตล์ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปลายปีที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกไม่โตในช่วงต้นปี และเริ่มกลับฟื้นตัวไตรมาส 2 ซึ่งหากไม่มีผลกระทบด้านค่าแรงเชื่อว่าการส่งออกของกลุ่มจะโตถึง 15% แต่เมื่อเจอปัญหาค่าแรงทำให้การส่งออกเติบโตน้อยลง” นายจิรบูลย์ กล่าว
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเปิดงานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน หรือ BIG+BIH ระหว่างวันที่ 17-22 เมษายน ที่ไบเทค บางนา ว่า กระทรวงฯ ยังคงยืนยันเป้าหมายการส่งออกภาพรวมของไทยปี 2555 เติบโตระดับ 15% แม้ว่าผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากค่าแรงงานที่ปรับขึ้น แต่เชื่อว่าด้วยมาตรการของภาครัฐในการดูแลและช่วยเหลือ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าไทยจะทำให้การส่งออกทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมาย เพียงแต่ต้องพยายามผลักดันมากขึ้น เห็นได้จากสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ แม้จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่แล้ว ประกอบกับการขึ้นค่าแรงปีนี้ แต่การส่งออกของกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ถึง 1 แสนล้านบาท จากปี 2554 ที่ส่งออกได้ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท
สำหรับการจัดงานแสดงสินค้าดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 1 แสนคน เงินสะพัดภายในงานประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ซึ่งแม้จะเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจโลกตกต่ำ แต่ก็ยังเดินทางเข้ามาร่วมงาน แสดงให้เห็นว่าฝีมือคนไทยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติ และมีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ระดับนานาชาติ รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558
นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท/วัน ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทำให้การส่งออกสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ปี 2555 ลดน้อยลง หรือขยายตัวประมาณ 6-8% มูลค่า 9.54-9.72 หมื่นล้านบาท จากที่คาดว่าจะขยายตัว 12-15% มูลค่า 1-1.03 แสนล้านบาท หรือมูลค่าการส่งออกหายไปประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 15% ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในกลุ่มลดน้อยลง
ทั้งนี้ การส่งออกในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งลูกค้าต่างประเทศเพื่อขอปรับราคาสินค้าตามต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ยอดการส่งออกลดลง พร้อมกันนี้ ผู้ประกอบการของกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีสัดส่วน 90% ได้แจ้งทางสมาพันธ์ฯ ว่าอาจจะมีการปิดโรงงานมากถึง 100 ราย เนื่องจากปรับตัวไม่ทันการขึ้นค่าแรง โดยต้องการให้รัฐบาลเร่งเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเร่งด่วนทั้งการหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งประสานธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อในการจัดหาเครื่องจักร และแหล่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือ ในส่วนของภาคเอกชนจะเร่งปรับตัว โดยการสร้างมูลค่าสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อหลีกหนีการแข่งขันขายสินค้าราคาต่ำร่วมด้วยอีกทาง
“สินค้าไลฟ์สไตล์ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปลายปีที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกไม่โตในช่วงต้นปี และเริ่มกลับฟื้นตัวไตรมาส 2 ซึ่งหากไม่มีผลกระทบด้านค่าแรงเชื่อว่าการส่งออกของกลุ่มจะโตถึง 15% แต่เมื่อเจอปัญหาค่าแรงทำให้การส่งออกเติบโตน้อยลง” นายจิรบูลย์ กล่าว