“พาณิชย์” เปิดโพยผลศึกษาข้อตกลง TPP เกษตร อาหาร สิ่งทอ อัญมณี ท่องเที่ยว และบริการสุขภาพ รุ่งแน่ ชี้ยังเป็นโอกาสยึดตลาดสหรัฐฯ กลับคืน และลดผลกระทบถูกตัด GSP “ศรีรัตน์” ย้ำไทยจะเข้าร่วมหรือไม่ต้องผ่านมาตรา 190 ก่อน
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการศึกษาอุตสาหกรรมของไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ว่า กลุ่มสินค้าเกษตร และอาหาร จะได้รับประโยชน์ในการส่งออกเพิ่มขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งข้าว กุ้ง ไก่ เกษตรอินทรีย์ อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารพร้อมรับประทาน ยางพาราและพืชพลังงาน รวมถึงสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ที่จะได้ประโยชน์ในด้านวัตถุดิบและตลาดส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนธุรกิจบริการที่จะขยายตัวมาก เช่น การท่องเที่ยวและบริการด้านสุขภาพ
ทั้งนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์ในการดึงดูดการค้าและลงทุน เพราะมีความเป็นไปได้ที่ TPP จะขยายความร่วมมือเป็นเขตการค้าเสรีเอเปก (FTAAP) เพราะขณะนี้สมาชิกถึง 9 ประเทศที่เป็นสมาชิก TPP โดยล่าสุดมีหลายประเทศที่เป็นสมาชิกเอเปกสนใจเข้าร่วม เช่น แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น หาก TPP ขยายวงการเปิดเสรีจะทำให้เป็นเขตการค้าเสรีที่ผูกพันในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งมีประชากรรวมถึง 2,750 ล้านคน มีจีดีพีรวมกัน 32 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีปริมาณการค้าเกินกว่า 1 ใน 3 ของโลก
ส่วนโอกาสของไทย ปัจจุบันไทยทำ FTA กับประเทศสมาชิก TPP เกือบทุกประเทศแล้ว ยกเว้นสหรัฐฯ ที่หยุดการเจรจา FTA ไปตั้งแต่ปี 2549 หากไทยเข้าร่วม TPP จะทำให้ไทยยังคงรักษาตลาดสหรัฐฯ เอาไว้ได้ เพราะขณะนี้ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของการส่งออกรวม และสหรัฐฯ ยังเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไทยในกลุ่ม 9 ประเทศที่ร่วมเจรจา TPP ที่สำคัญ
ไทยยังลดความเสี่ยงจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ในอนาคต สำหรับสินค้าบางรายการที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP หรืออาจถูกตัดสิทธิในระยะต่อไป เช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องหนัง ลิ้นจี่ ลำไยกระป๋อง เครื่องประดับทอง กุ้งแปรรูป เป็นต้น รวมทั้งยังมีโอกาสส่งอกได้เพิ่มขึ้นในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นผลการศึกษาในเบื้องต้นที่ออกมา ส่วนไทยจะเข้าร่วม TPP หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับระดับนโยบาย แต่ในขณะนี้กรมฯ ได้มีการศึกษา และร่วมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และหากไทยจะตัดสินใจเข้าร่วม TPP จริง ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ก่อน
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการศึกษาอุตสาหกรรมของไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ว่า กลุ่มสินค้าเกษตร และอาหาร จะได้รับประโยชน์ในการส่งออกเพิ่มขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งข้าว กุ้ง ไก่ เกษตรอินทรีย์ อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารพร้อมรับประทาน ยางพาราและพืชพลังงาน รวมถึงสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ที่จะได้ประโยชน์ในด้านวัตถุดิบและตลาดส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนธุรกิจบริการที่จะขยายตัวมาก เช่น การท่องเที่ยวและบริการด้านสุขภาพ
ทั้งนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์ในการดึงดูดการค้าและลงทุน เพราะมีความเป็นไปได้ที่ TPP จะขยายความร่วมมือเป็นเขตการค้าเสรีเอเปก (FTAAP) เพราะขณะนี้สมาชิกถึง 9 ประเทศที่เป็นสมาชิก TPP โดยล่าสุดมีหลายประเทศที่เป็นสมาชิกเอเปกสนใจเข้าร่วม เช่น แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น หาก TPP ขยายวงการเปิดเสรีจะทำให้เป็นเขตการค้าเสรีที่ผูกพันในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งมีประชากรรวมถึง 2,750 ล้านคน มีจีดีพีรวมกัน 32 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีปริมาณการค้าเกินกว่า 1 ใน 3 ของโลก
ส่วนโอกาสของไทย ปัจจุบันไทยทำ FTA กับประเทศสมาชิก TPP เกือบทุกประเทศแล้ว ยกเว้นสหรัฐฯ ที่หยุดการเจรจา FTA ไปตั้งแต่ปี 2549 หากไทยเข้าร่วม TPP จะทำให้ไทยยังคงรักษาตลาดสหรัฐฯ เอาไว้ได้ เพราะขณะนี้ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของการส่งออกรวม และสหรัฐฯ ยังเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไทยในกลุ่ม 9 ประเทศที่ร่วมเจรจา TPP ที่สำคัญ
ไทยยังลดความเสี่ยงจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ในอนาคต สำหรับสินค้าบางรายการที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP หรืออาจถูกตัดสิทธิในระยะต่อไป เช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องหนัง ลิ้นจี่ ลำไยกระป๋อง เครื่องประดับทอง กุ้งแปรรูป เป็นต้น รวมทั้งยังมีโอกาสส่งอกได้เพิ่มขึ้นในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นผลการศึกษาในเบื้องต้นที่ออกมา ส่วนไทยจะเข้าร่วม TPP หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับระดับนโยบาย แต่ในขณะนี้กรมฯ ได้มีการศึกษา และร่วมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และหากไทยจะตัดสินใจเข้าร่วม TPP จริง ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ก่อน