ASTVผู้จัดการรายวัน - ประธานนโยบาย สทท. แนะ รัฐ-เอกชน ทำงานแบบบูรณาการ ร่วมวางแผนรับศึกเปิดเสรี เออีซีในอีก 3 ปีข้างหน้า ย้ำแรงงานไทยยังอ่อนความรู้ด้านภาษา หวั่นชักช้า เสียโอกาสทางการตลาดให้ประเทศคู่แข่งขันอย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือสทท. เปิดเผยว่า ในการทำงานนับจากนี้ไป ต้องการให้รัฐบาล กระทรวงการท่องเที่ยว และ ภาคเอกชนด้านท่องเที่ยว มีภาพของการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการมากขึ้น โดยขอให้เริ่มเห็นตั้งแต่ปี 2555 นี้เป็นต้นไป
สิ่งที่ สทท.ต้องการเห็น คือภาพของการทำงานแบบบูรณาการ เชื่อมโยงความคิดในการวางแผนแนวนโยบายการบริหารงานด้านการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย 2 ประเด็นหลัก ที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ 1.แนวทางการป้องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันนี้เกิดมีมากขึ้น การแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ภัยการเมือง ก่อการร้าย และ 2. คือ การดำเนินการวางแผนงานด้านการตลาด เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ที่จะเริ่มในปี 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า เน้นการวางแผนรองรับการแข่งขันที่จะต้องมีสูงขึ้น เพราะหากไทยไม่มีความพร้อม ก็มีสิทธิ์ที่จะสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด และเสียเปรียบคู่แข่งขันที่มีการเตรียมพร้อมที่ดีกว่า โดยเฉพาะประเทศ มาเลเซียและสิงคโปร์
ในการจัดทำประมาณการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติของ สทท. คาดว่า ปี 2555 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาราว 20.2 ล้านคน เติบโต 8% จากปี 2554 สร้างรายได้เข้าประเทศ 7.6 แสนล้านบาท ซึ่งสิ่งที่จะเสริมความมั่นใจในการก้าวไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ต้องการให้ภาครับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับแผนงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว ในมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่รัฐบาล ได้นำออกมาใช้เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ได้แก่ มาตรการสิทธิการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวที่ชอปปิ้งในประเทศไทย การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงภัยให้นักท่องเที่ยว เพื่อสร้างความมั่นใจ โดยควรที่จะชี้แจงรายละเอียดถึงความคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ หากเดินทางเข้ามาแล้วประสบภัยอย่างไม่คาดคิด
"หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งภัยการเมือง ภัยธรรมชาติ ในปีก่อนๆที่ผ่านมา ทุกครั้ง รัฐบาลหลายประเทศได้ออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวของตัวเองให้ระวังการเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งมีผลให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางในช่วงออกประกาศ มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทุกครั้งไป เราจึงต้องมีเครื่อมือยืนยันความมั่นใจ และ สื่อสารออกไปให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้และเกิดความเชื่อมั่น"
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ทุกประเทศในอาเซียน ต่างตื่นตัวเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ซึ่งปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเปิดกว้างตลาดแรงงาน ให้เข้าทำงานได้ในทุกประเทศกลุ่มอาเซียน สิ่งสำคัญการแข่งขันตลาดแรงงานคือความสามารถด้านภาษา ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของแรงงานไทย หากการตลาดไม่มีกระทบจำนวนนักท่องเที่ยวลด จนธุรกิจเดินต่อไม่ได้ แรงงานที่ไม่มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศจะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกบีบให้ออก กระทบระบบเศรษบกินรวมของประเทศได้
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า แผนบริหารจัดการ เพื่อมุ่งสูงการเปิดเสรี เออีซี ต้องมีความชัดเจน ทั้งการตั้งรับ และ การบุกตลาดในต่างประเทศ หนุนให้ภาคเอกชนของไทย ออกเดินทางขยายตลาดออกไปลงทุนต่างประเทศในอาเซียน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งทั้ง สองประเทสก็มุ่งเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจะปรับสู่การท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง ในการเดินทางเที่ยวแต้ละครั้ง ต่างจากอดีตที่เที่ยวที่ละประเทศ ดังนั้น ไทยจะต้องเร่งสร้างความเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวใช้ภูมิประเทศ ที่ได้เปรียบมาเป็นจุดแข็งกำหนดแผนการทำงาน มุ่งใหม้ไทยเป็นฮับ ที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาพักผ่อนก่อนออกเดินทางไปประเทศอื่น ส่วนการขยายธุรกิจไปลงทุนในต่างประเทศก็จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศเช่นกัน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือสทท. เปิดเผยว่า ในการทำงานนับจากนี้ไป ต้องการให้รัฐบาล กระทรวงการท่องเที่ยว และ ภาคเอกชนด้านท่องเที่ยว มีภาพของการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการมากขึ้น โดยขอให้เริ่มเห็นตั้งแต่ปี 2555 นี้เป็นต้นไป
สิ่งที่ สทท.ต้องการเห็น คือภาพของการทำงานแบบบูรณาการ เชื่อมโยงความคิดในการวางแผนแนวนโยบายการบริหารงานด้านการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย 2 ประเด็นหลัก ที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ 1.แนวทางการป้องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันนี้เกิดมีมากขึ้น การแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ภัยการเมือง ก่อการร้าย และ 2. คือ การดำเนินการวางแผนงานด้านการตลาด เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ที่จะเริ่มในปี 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า เน้นการวางแผนรองรับการแข่งขันที่จะต้องมีสูงขึ้น เพราะหากไทยไม่มีความพร้อม ก็มีสิทธิ์ที่จะสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด และเสียเปรียบคู่แข่งขันที่มีการเตรียมพร้อมที่ดีกว่า โดยเฉพาะประเทศ มาเลเซียและสิงคโปร์
ในการจัดทำประมาณการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติของ สทท. คาดว่า ปี 2555 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาราว 20.2 ล้านคน เติบโต 8% จากปี 2554 สร้างรายได้เข้าประเทศ 7.6 แสนล้านบาท ซึ่งสิ่งที่จะเสริมความมั่นใจในการก้าวไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ต้องการให้ภาครับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับแผนงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว ในมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่รัฐบาล ได้นำออกมาใช้เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ได้แก่ มาตรการสิทธิการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวที่ชอปปิ้งในประเทศไทย การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงภัยให้นักท่องเที่ยว เพื่อสร้างความมั่นใจ โดยควรที่จะชี้แจงรายละเอียดถึงความคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ หากเดินทางเข้ามาแล้วประสบภัยอย่างไม่คาดคิด
"หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งภัยการเมือง ภัยธรรมชาติ ในปีก่อนๆที่ผ่านมา ทุกครั้ง รัฐบาลหลายประเทศได้ออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวของตัวเองให้ระวังการเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งมีผลให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางในช่วงออกประกาศ มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทุกครั้งไป เราจึงต้องมีเครื่อมือยืนยันความมั่นใจ และ สื่อสารออกไปให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้และเกิดความเชื่อมั่น"
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ทุกประเทศในอาเซียน ต่างตื่นตัวเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ซึ่งปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเปิดกว้างตลาดแรงงาน ให้เข้าทำงานได้ในทุกประเทศกลุ่มอาเซียน สิ่งสำคัญการแข่งขันตลาดแรงงานคือความสามารถด้านภาษา ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของแรงงานไทย หากการตลาดไม่มีกระทบจำนวนนักท่องเที่ยวลด จนธุรกิจเดินต่อไม่ได้ แรงงานที่ไม่มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศจะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกบีบให้ออก กระทบระบบเศรษบกินรวมของประเทศได้
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า แผนบริหารจัดการ เพื่อมุ่งสูงการเปิดเสรี เออีซี ต้องมีความชัดเจน ทั้งการตั้งรับ และ การบุกตลาดในต่างประเทศ หนุนให้ภาคเอกชนของไทย ออกเดินทางขยายตลาดออกไปลงทุนต่างประเทศในอาเซียน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งทั้ง สองประเทสก็มุ่งเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจะปรับสู่การท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง ในการเดินทางเที่ยวแต้ละครั้ง ต่างจากอดีตที่เที่ยวที่ละประเทศ ดังนั้น ไทยจะต้องเร่งสร้างความเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวใช้ภูมิประเทศ ที่ได้เปรียบมาเป็นจุดแข็งกำหนดแผนการทำงาน มุ่งใหม้ไทยเป็นฮับ ที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาพักผ่อนก่อนออกเดินทางไปประเทศอื่น ส่วนการขยายธุรกิจไปลงทุนในต่างประเทศก็จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศเช่นกัน