“คมนาคม” ชง “ยิ่งลักษณ์” ผุดอภิโปรเจกต์วงแหวนรอบ 3 มูลค่ากว่าแสนล้านบาท ชูแนวคิดปรับเกาะกลางเป็นแม่น้ำช่วยการระบายน้ำออกทะเล หวังแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ภาคกลางตลอดแนว 280 กม. สั่งทล. ปรับปรุงเพิ่มเติมก่อนชง ครม.อนุมัติหลักการใน 2 เดือน พร้อมเร่งปรับแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ใหม่ หลังรัฐทุ่มลงทุนระบบรางและน้ำขนส่งสินค้า
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) วานนี้ (20 ก.ย.) ว่า ได้ให้ ทล.ปรับปรุงแผนโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 ตามแนวคิดใหม่ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยตลอดแนวเส้นทางที่เริ่มตั้งแต่ จ.พระนครศรีอยุธยา ลงมาทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จนถึงปากอ่าวไทย ระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตร จะปรับพื้นที่เกาะกลางเป็นคลองหรือแม่น้ำ ซึ่งจะช่วยเร่งการระบายน้ำออกสู่ทะเล ร่วมกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รายงานแนวคิดดังกล่าวต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งภายใน 2 เดือนนี้ จะสรุปแนวคิดนี้อีกครั้งเพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการก่อนศึกษาในรายละเอียดโครงการต่อไป
ทั้งนี้ จากผลศึกษาเบื้องต้นได้ประเมินค่าลงทุนในส่วนของถนนไว้กว่าแสนล้านบาท และค่าเวนคืนประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมาก ซึ่งได้ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับลดเงินลงทุนลง เช่น ค่าเวนคืน เนื่องจากอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สีเขียว ส่วนค่าก่อสร้างถนนระดับดินกิโลเมตรละประมาณ 100 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้ จะต้องทบทวนรูปแบบโครงสร้างช่วงที่จะออกปากอ่าวไทย ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรที่กำหนดเป็นสะพานหรือทางยกระดับเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก เนื่องจากส่วนนี้ค่าก่อสร้างสูงถึงกิโลเมตรละ700-800 ล้านบาท หากตัดออกโดยลากแนวไปเชื่อมกับถนนพระราม 2 ด้านตะวันตกและถนนสุขุมวิทด้านตะวันออก ก็จะช่วยลดเงินลงทุนลงได้กว่า 60,000 ล้านบาท ส่วนของแม่น้ำนั้นประเมินว่า ตลอดระยะทางจะลงทุนประมาณ 56,000 ล้านบาท (เฉลี่ย กม.ละ 200 ล้านบาท)
นายสุพจน์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการบูรณาการระหว่างกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากจะต้องหารือกับกรมชลประทานในการกำหนดความกว้าง ความลึก ของแม่น้ำและประตูระบายน้ำเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุเป้าหมายในการลดพื้นที่ภาคกลางที่จะถูกน้ำท่วมได้ตลอดแนว ซึ่งเบื้องต้น คาดว่าแม่น้ำควรจะกว้างประมาณ 200 เมตร ลึก 5-8 เมตร
“ค่าลงทุนค่อนข้างสูง แต่น่าจะปรับลดได้ ซึ่งการทำแม่น้ำคู่ไปตลอดแนวที่คาดว่าจะใช้เงินกว่า 5 หมื่นล้านนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสูญเสียทางเศรษฐกิจและการเยียวยาผลกระทบจากน้ำท่วมแล้วถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า” นายสุพจน์ กล่าว
นอกจากนี้ ทล.ได้รายงานว่า ขณะนี้ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาปรับปรุงแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ ใหม่จากเดิมที่มีการศึกษาไว้โดยไจก้า ตั้งแต่ปี 2540 ระยะทาง 4,150 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 412,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 20 ปี (2540-2560) แต่หลังปี 2549 สามารถทำได้เพียง 160 กิโลเมตรเท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันรูปแบบการขนส่งโดยเฉพาะสินค้าได้เปลี่ยนไปเน้นเรื่องระบบรางซึ่งมีเป้าหมายจะเพิ่มจาก 2% เป็น 10% และทางน้ำก็มีมากขึ้น ดังนั้นแผนแม่บทมอเตอร์เวย์จะต้องสอดคล้องกับแผนด้านโลจิสติกส์และการพัฒนาระบบรางและน้ำของประเทศด้วยเพื่อสามารถเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการขนส่ง โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการศึกษาโดยเพิ่มผู้แทนจากกรมเจ้าท่า (จท.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ด้วย
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างมอเตอร์เวย์ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ภายในรัศมี 250 กิโลเมตรรอบกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 707 กิโลเมตร จะเป็นไปตามแผน โดยเส้นทางนำร่อง คือ สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 199 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนประมาณ 60,000 ล้านบาท อีก 4 เส้นทาง อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนรายละเอียดและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ประกอบด้วย สายบางใหญ่-ราชบุรี-นครปฐม-กาญจนบุรี, สายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ-หัวหิน, สาย ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด และสายบางปะอิน-นครสวรรค์
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) วานนี้ (20 ก.ย.) ว่า ได้ให้ ทล.ปรับปรุงแผนโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 ตามแนวคิดใหม่ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยตลอดแนวเส้นทางที่เริ่มตั้งแต่ จ.พระนครศรีอยุธยา ลงมาทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จนถึงปากอ่าวไทย ระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตร จะปรับพื้นที่เกาะกลางเป็นคลองหรือแม่น้ำ ซึ่งจะช่วยเร่งการระบายน้ำออกสู่ทะเล ร่วมกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รายงานแนวคิดดังกล่าวต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งภายใน 2 เดือนนี้ จะสรุปแนวคิดนี้อีกครั้งเพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการก่อนศึกษาในรายละเอียดโครงการต่อไป
ทั้งนี้ จากผลศึกษาเบื้องต้นได้ประเมินค่าลงทุนในส่วนของถนนไว้กว่าแสนล้านบาท และค่าเวนคืนประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมาก ซึ่งได้ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับลดเงินลงทุนลง เช่น ค่าเวนคืน เนื่องจากอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สีเขียว ส่วนค่าก่อสร้างถนนระดับดินกิโลเมตรละประมาณ 100 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้ จะต้องทบทวนรูปแบบโครงสร้างช่วงที่จะออกปากอ่าวไทย ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรที่กำหนดเป็นสะพานหรือทางยกระดับเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก เนื่องจากส่วนนี้ค่าก่อสร้างสูงถึงกิโลเมตรละ700-800 ล้านบาท หากตัดออกโดยลากแนวไปเชื่อมกับถนนพระราม 2 ด้านตะวันตกและถนนสุขุมวิทด้านตะวันออก ก็จะช่วยลดเงินลงทุนลงได้กว่า 60,000 ล้านบาท ส่วนของแม่น้ำนั้นประเมินว่า ตลอดระยะทางจะลงทุนประมาณ 56,000 ล้านบาท (เฉลี่ย กม.ละ 200 ล้านบาท)
นายสุพจน์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการบูรณาการระหว่างกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากจะต้องหารือกับกรมชลประทานในการกำหนดความกว้าง ความลึก ของแม่น้ำและประตูระบายน้ำเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุเป้าหมายในการลดพื้นที่ภาคกลางที่จะถูกน้ำท่วมได้ตลอดแนว ซึ่งเบื้องต้น คาดว่าแม่น้ำควรจะกว้างประมาณ 200 เมตร ลึก 5-8 เมตร
“ค่าลงทุนค่อนข้างสูง แต่น่าจะปรับลดได้ ซึ่งการทำแม่น้ำคู่ไปตลอดแนวที่คาดว่าจะใช้เงินกว่า 5 หมื่นล้านนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสูญเสียทางเศรษฐกิจและการเยียวยาผลกระทบจากน้ำท่วมแล้วถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า” นายสุพจน์ กล่าว
นอกจากนี้ ทล.ได้รายงานว่า ขณะนี้ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาปรับปรุงแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ ใหม่จากเดิมที่มีการศึกษาไว้โดยไจก้า ตั้งแต่ปี 2540 ระยะทาง 4,150 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 412,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 20 ปี (2540-2560) แต่หลังปี 2549 สามารถทำได้เพียง 160 กิโลเมตรเท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันรูปแบบการขนส่งโดยเฉพาะสินค้าได้เปลี่ยนไปเน้นเรื่องระบบรางซึ่งมีเป้าหมายจะเพิ่มจาก 2% เป็น 10% และทางน้ำก็มีมากขึ้น ดังนั้นแผนแม่บทมอเตอร์เวย์จะต้องสอดคล้องกับแผนด้านโลจิสติกส์และการพัฒนาระบบรางและน้ำของประเทศด้วยเพื่อสามารถเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการขนส่ง โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการศึกษาโดยเพิ่มผู้แทนจากกรมเจ้าท่า (จท.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ด้วย
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างมอเตอร์เวย์ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ภายในรัศมี 250 กิโลเมตรรอบกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 707 กิโลเมตร จะเป็นไปตามแผน โดยเส้นทางนำร่อง คือ สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 199 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนประมาณ 60,000 ล้านบาท อีก 4 เส้นทาง อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนรายละเอียดและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ประกอบด้วย สายบางใหญ่-ราชบุรี-นครปฐม-กาญจนบุรี, สายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ-หัวหิน, สาย ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด และสายบางปะอิน-นครสวรรค์