ททท. ต่อยอด จัด “สโลว์ ทราเวล” ปี 2 หนุนสร้างพฤติกรรมท่องเที่ยวแบบเจาะลึก จับตลาดคนรุ่นใหม่ ตามเทรนด์ยุโรป นำร่อง 10 เส้นทางเที่ยวผ่านนักเขียนชื่อดัง ก่อนขยายผลโปรโมตในต่างประเทศ
นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เปิดเผยว่า ททท.ภูมิภาคภาคเหนือ ได้จัดทำ 10 เส้นทางท่องเที่ยว My Slow Day Map ใน 10 แนวคิด ใน 9 จังหวัด นำเสนอผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.slowtravelnorth.com ซึ่งถ่ายทอดโดย “นิ้วกลม” นักเขียนชื่อดัง เดินเรื่องผ่านลายเส้นของ แป้ง ภัทรีดา ประสานทอง นักวาดภาพประกอบชื่อดัง เพื่อโปรโมตให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว ภายใต้โครงการส่งเสริมท่องเที่ยวภาคเหนือ “เที่ยวเมืองเหนือทีละก้าว My Slow Day” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค.54 อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้คนเดินทางเที่ยวภาคเหนือเพิ่มขึ้นและเที่ยวได้ตลอดปี จากปีที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยว เข้าสู่ภาคเหนือราว 5 ล้านคนเศษ
จุดประสงค์โครงการเพื่อขยายฐานนักท่องเที่ยวคนไทยในประเทศ กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ซึ่งมีพฤติกรรมที่ต้องการความสงบ และแนวโน้มการท่องเที่ยวแบบนี้ นิยมมากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป ซึ่งเป็นสังคมบริโภคนิยม
“จากการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวภายในประเทศ พบคำตอบ 2 ประเด็น ที่น่าสนใจ คือ ไม่รู้จะไปเที่ยวไหน และ ไม่มีเวลาเที่ยว สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่พบว่าในปี 2551 มีคนไทยที่ไม่เดินทางท่องเที่ยว 49% และปี 2552 พุ่งไปถึง 51.2% เพราะระวังค่าใช้จ่าย จึงเป็นโจทย์ ให้ ททท. ต้องคิดหาวิธี ส่งเสริมการท่องเที่ยว เปิดมุมมองใหม่ให้แหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่ น่าสนใจขึ้นมาได้อีกครั้ง จึงเกิดโครงการนี้ขึ้นมา”
โดย ททท. จะเน้นนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดรอง ซึ่ง 10 เส้นทาง ที่นำเสนอนี้ ได้แก่ “ช้าช้าดีกว่าโฉบเฉี่ยว จังหวัดแพร่” , “เห็นมากกว่าแค่มอง จังหวัดน่าน “ , “ชิมช้าๆดีกว่าฟาสต์ฟู้ด จังหวัดอุตรดิตถ์ “ เป็นต้น
โครงการนี้ใช้งบ 2 ล้านบาท ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ตั้งเป้าสร้างการรับรู้ผ่านสื่อในปี 2554 อีก 65% ของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลและไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน ของประชากรในอินเทอร์เน็ต ผ่านแฟนเพจ ของ อะเมซิ่งไทยแลนด์ และของนักเขียน “นิ้วกลม” ซึ่งมีฐานแฟนเพจอยู่ราว 7.3 หมื่นคน จะเพิ่มอีก 10% โดยมีแผนขยายโครงการนี้ไปยังแหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นๆ รวมถึง ทำการส่งเสริมออกไปตลาดต่างประเทศแถบยุโรป โดยจะเลือก 1-2 เส้นทาง จาก 10 เส้นทางในโครงการนี้พิจารณาให้เหมาะกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวแต่ละตลาด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสถานการณ์น้ำท่วม ททท. เฝ้าติดตามสถานการณ์ ผ่านศูนย์ปฎิบัติการวางแผนการท่องเที่ยวและศูนย์ปฎิบัติการในภาวะวิกฤต(ศวก.) โดยจะแบ่ง เป็น 3 พื้นที่ คือ ไม่กระทบ ,กระทบน้อย และ กระทบมาก นำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว. กระทรวงการท่องเที่ยว เบื้องต้น ยอมรับว่าผลจากข่าวสถานการณ์น้ำท่วม มีผลกระทบด้านจิตวิทยาให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเพราะมีความกังวลราว 15% และ ยอมรับว่าน้ำท่วมถือเป็นปัจจัยลบหนึ่งอย่างของการโปรโมตท่องเที่ยว
นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เปิดเผยว่า ททท.ภูมิภาคภาคเหนือ ได้จัดทำ 10 เส้นทางท่องเที่ยว My Slow Day Map ใน 10 แนวคิด ใน 9 จังหวัด นำเสนอผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.slowtravelnorth.com ซึ่งถ่ายทอดโดย “นิ้วกลม” นักเขียนชื่อดัง เดินเรื่องผ่านลายเส้นของ แป้ง ภัทรีดา ประสานทอง นักวาดภาพประกอบชื่อดัง เพื่อโปรโมตให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว ภายใต้โครงการส่งเสริมท่องเที่ยวภาคเหนือ “เที่ยวเมืองเหนือทีละก้าว My Slow Day” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค.54 อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้คนเดินทางเที่ยวภาคเหนือเพิ่มขึ้นและเที่ยวได้ตลอดปี จากปีที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยว เข้าสู่ภาคเหนือราว 5 ล้านคนเศษ
จุดประสงค์โครงการเพื่อขยายฐานนักท่องเที่ยวคนไทยในประเทศ กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ซึ่งมีพฤติกรรมที่ต้องการความสงบ และแนวโน้มการท่องเที่ยวแบบนี้ นิยมมากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป ซึ่งเป็นสังคมบริโภคนิยม
“จากการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวภายในประเทศ พบคำตอบ 2 ประเด็น ที่น่าสนใจ คือ ไม่รู้จะไปเที่ยวไหน และ ไม่มีเวลาเที่ยว สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่พบว่าในปี 2551 มีคนไทยที่ไม่เดินทางท่องเที่ยว 49% และปี 2552 พุ่งไปถึง 51.2% เพราะระวังค่าใช้จ่าย จึงเป็นโจทย์ ให้ ททท. ต้องคิดหาวิธี ส่งเสริมการท่องเที่ยว เปิดมุมมองใหม่ให้แหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่ น่าสนใจขึ้นมาได้อีกครั้ง จึงเกิดโครงการนี้ขึ้นมา”
โดย ททท. จะเน้นนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดรอง ซึ่ง 10 เส้นทาง ที่นำเสนอนี้ ได้แก่ “ช้าช้าดีกว่าโฉบเฉี่ยว จังหวัดแพร่” , “เห็นมากกว่าแค่มอง จังหวัดน่าน “ , “ชิมช้าๆดีกว่าฟาสต์ฟู้ด จังหวัดอุตรดิตถ์ “ เป็นต้น
โครงการนี้ใช้งบ 2 ล้านบาท ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ตั้งเป้าสร้างการรับรู้ผ่านสื่อในปี 2554 อีก 65% ของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลและไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน ของประชากรในอินเทอร์เน็ต ผ่านแฟนเพจ ของ อะเมซิ่งไทยแลนด์ และของนักเขียน “นิ้วกลม” ซึ่งมีฐานแฟนเพจอยู่ราว 7.3 หมื่นคน จะเพิ่มอีก 10% โดยมีแผนขยายโครงการนี้ไปยังแหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นๆ รวมถึง ทำการส่งเสริมออกไปตลาดต่างประเทศแถบยุโรป โดยจะเลือก 1-2 เส้นทาง จาก 10 เส้นทางในโครงการนี้พิจารณาให้เหมาะกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวแต่ละตลาด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสถานการณ์น้ำท่วม ททท. เฝ้าติดตามสถานการณ์ ผ่านศูนย์ปฎิบัติการวางแผนการท่องเที่ยวและศูนย์ปฎิบัติการในภาวะวิกฤต(ศวก.) โดยจะแบ่ง เป็น 3 พื้นที่ คือ ไม่กระทบ ,กระทบน้อย และ กระทบมาก นำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว. กระทรวงการท่องเที่ยว เบื้องต้น ยอมรับว่าผลจากข่าวสถานการณ์น้ำท่วม มีผลกระทบด้านจิตวิทยาให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเพราะมีความกังวลราว 15% และ ยอมรับว่าน้ำท่วมถือเป็นปัจจัยลบหนึ่งอย่างของการโปรโมตท่องเที่ยว