“บางกอกมอเตอร์โชว์ 2011”ใกล้จะปิดฉากลง (5 เม.ย.) โดยปีนี้ย้ายมาใหญ่ที่ ชาเลนเจอร์ฮอล์ เมืองทองธานี ส่วนผู้คนล้นหลาม รถติดยาวเป็นกิโล-หลายชั่วโมง ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ปกติ เพราะนอกจากงานมอเตอร์โชว์แล้ว ยังมีหลายอีเวนต์ซ้อนกัน ทั้งขายของราคาลดกระหน่ำ และโชว์ต่างประเทศ
…“ใครหวังจะไปดูรถ ชมพริตตี้ต้องทำใจ”
คนไปดูก็เหนื่อย ส่วนผู้จัด(กรังด์ปรีซ์)ก็หนัก ตลอดจนลูกค้า(ค่ายรถ)ที่มาออกบูธก็หน่ายใจ เพราะถึงวันนี้ยังมีเสียงบ่นปนด่ากันระงม ถึงระบบการจัดงานที่ “ห่วยขั้นเทพ” ที่สำคัญเมื่อเทียบกับ “มอเตอร์เอ็กซ์โป” ของค่ายสื่อสากลแล้ว “บางกอกมอเตอร์โชว์” ยังห่างไกลกับคำว่ามืออาชีพ
งานนี้จ่ายค่าบูธแพงกว่า แถม“เก็บเล็กเก็บน้อย” อีกหลายรายการ เหนืออื่นใดเมื่อการออกบูธติดขัด-เกิดปัญหา การดูแลยังทำได้ไม่ดีนัก
...เอาละย้ายมาสถานที่ใหม่ ต้องใช้เวลาปรับตัว และคาดว่า “บางกอกมอเตอร์โชว์ “ปีหน้า น่าจะมีระบบการจัดการที่ลงตัวกว่านี้...แต่ทั้งหลายทั้งปวงคงขึ้นอยู่กับความ “จริงใจ” ของผู้จัดงานมากกว่า หรือถ้ายัง “หยิ่ง” เหมือนเดิม “ก็ไม่ไหวจะเคลียร์แล้ว!”
บางกอกมอเตอร์โชว์ ภายในอาคารชาเลนเจอร์ “อึกทึกคึกคัก” พร้อมยอดจองวิ่งฉิว แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในภาพรวมตอนนี้ กำลังเผชิญกับท้าทาย เพราะเพียงไตรมาสแรกของปี ก็เจอปัจจัยลบต่างๆรุมกระหน่ำแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมันปรับตัวสูง ดอกเบี้ยพุ่ง น้ำท่วมภาคใต้ รวมถึงปัจจัยภายนอกอย่าง เหตุการณ์ประท้วงที่แอฟริกาเหนือ และภัยพิบัติสึนามิ ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับสถานการณ์ในประเทศ น่าจะพอรับไหว แต่ปัจจัยนอกประเทศ ทั้งความวุ่นวายที่แอฟริกาเหนือ ถ้าเกิดลุกลามบานปลาย หรือเฉียดไปแถวตะวันออกกลาง อาจจะกระทบการส่งออกรถยนต์จากไทยได้ เพราะภูมิภาคดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักของไทย
ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวและภัยพิบัติสึนามิ ประเทศญี่ปุ่น เริ่มส่งผลชัดเจนกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่เริ่มขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต และแม้รถยนต์รุ่นหลักทั้งเก๋งและปิกอัพ จะใช้ชิ้นส่วนในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่บางส่วนที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูง (ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์-เกียร์) ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากโรงงานญี่ปุ่นอยู่
...รถนะมีให้จอง แต่การส่งมอบจะเป็นเมื่อไหร่ต้อง เช็คกันดีๆ แล้วถ้าเกิดการส่งมอบล่าช้า เชื่อว่า “สึนามิญี่ปุ่น” จะเป็นคำอ้างให้บริษัทรถยนต์ได้เป็นอย่างดี
ตอนนี้ทุกค่ายรถยนต์ และโรงงานผลิต เร่งเช็คสต็อก และประเมินสถานการณ์ขาดแคลนชิ้นส่วนกันแบบ “วันต่อวัน” ซึ่งหลังสงกรานต์ทุกคำตอบน่าจะมีความชัด
ทั้งหลายทั้งปวงถือเป็นความท้าทายของค่ายรถ และบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน ที่ต้องร่วมมือกันผ่านไปให้ได้ แต่ด้วยศักยภาพและพื้นฐานอันแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยายนต์ไทย เชื่อว่าเป้าหมายการผลิตรวม 1.8 ล้านคันปีนี้ ไม่น่าพลาด...โอ้มเพี้ยง!
…“ใครหวังจะไปดูรถ ชมพริตตี้ต้องทำใจ”
คนไปดูก็เหนื่อย ส่วนผู้จัด(กรังด์ปรีซ์)ก็หนัก ตลอดจนลูกค้า(ค่ายรถ)ที่มาออกบูธก็หน่ายใจ เพราะถึงวันนี้ยังมีเสียงบ่นปนด่ากันระงม ถึงระบบการจัดงานที่ “ห่วยขั้นเทพ” ที่สำคัญเมื่อเทียบกับ “มอเตอร์เอ็กซ์โป” ของค่ายสื่อสากลแล้ว “บางกอกมอเตอร์โชว์” ยังห่างไกลกับคำว่ามืออาชีพ
งานนี้จ่ายค่าบูธแพงกว่า แถม“เก็บเล็กเก็บน้อย” อีกหลายรายการ เหนืออื่นใดเมื่อการออกบูธติดขัด-เกิดปัญหา การดูแลยังทำได้ไม่ดีนัก
...เอาละย้ายมาสถานที่ใหม่ ต้องใช้เวลาปรับตัว และคาดว่า “บางกอกมอเตอร์โชว์ “ปีหน้า น่าจะมีระบบการจัดการที่ลงตัวกว่านี้...แต่ทั้งหลายทั้งปวงคงขึ้นอยู่กับความ “จริงใจ” ของผู้จัดงานมากกว่า หรือถ้ายัง “หยิ่ง” เหมือนเดิม “ก็ไม่ไหวจะเคลียร์แล้ว!”
บางกอกมอเตอร์โชว์ ภายในอาคารชาเลนเจอร์ “อึกทึกคึกคัก” พร้อมยอดจองวิ่งฉิว แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในภาพรวมตอนนี้ กำลังเผชิญกับท้าทาย เพราะเพียงไตรมาสแรกของปี ก็เจอปัจจัยลบต่างๆรุมกระหน่ำแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมันปรับตัวสูง ดอกเบี้ยพุ่ง น้ำท่วมภาคใต้ รวมถึงปัจจัยภายนอกอย่าง เหตุการณ์ประท้วงที่แอฟริกาเหนือ และภัยพิบัติสึนามิ ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับสถานการณ์ในประเทศ น่าจะพอรับไหว แต่ปัจจัยนอกประเทศ ทั้งความวุ่นวายที่แอฟริกาเหนือ ถ้าเกิดลุกลามบานปลาย หรือเฉียดไปแถวตะวันออกกลาง อาจจะกระทบการส่งออกรถยนต์จากไทยได้ เพราะภูมิภาคดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักของไทย
ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวและภัยพิบัติสึนามิ ประเทศญี่ปุ่น เริ่มส่งผลชัดเจนกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่เริ่มขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต และแม้รถยนต์รุ่นหลักทั้งเก๋งและปิกอัพ จะใช้ชิ้นส่วนในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่บางส่วนที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูง (ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์-เกียร์) ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากโรงงานญี่ปุ่นอยู่
...รถนะมีให้จอง แต่การส่งมอบจะเป็นเมื่อไหร่ต้อง เช็คกันดีๆ แล้วถ้าเกิดการส่งมอบล่าช้า เชื่อว่า “สึนามิญี่ปุ่น” จะเป็นคำอ้างให้บริษัทรถยนต์ได้เป็นอย่างดี
ตอนนี้ทุกค่ายรถยนต์ และโรงงานผลิต เร่งเช็คสต็อก และประเมินสถานการณ์ขาดแคลนชิ้นส่วนกันแบบ “วันต่อวัน” ซึ่งหลังสงกรานต์ทุกคำตอบน่าจะมีความชัด
ทั้งหลายทั้งปวงถือเป็นความท้าทายของค่ายรถ และบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน ที่ต้องร่วมมือกันผ่านไปให้ได้ แต่ด้วยศักยภาพและพื้นฐานอันแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยายนต์ไทย เชื่อว่าเป้าหมายการผลิตรวม 1.8 ล้านคันปีนี้ ไม่น่าพลาด...โอ้มเพี้ยง!