ผู้บริโภคผวา หวั่นวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นนำเข้าจะปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี-ปลาตายจากสึนามิ เผย จับตาดูแคมเปญกระตุ้นยอดขาย-สร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น ผู้ประกอบการยันไม่น่ากระทบมาก เหตุนำเข้าจากหลายประเทศ ส่วนญี่ปุ่นเป็นแหล่งนำเข้าที่เล็กมาก ด้านโออิชิ ไม่เลิกแคมเปญทัวร์ยกแก๊ง แต่อาจจะปรับใหม่เลื่อนกำหนดทัวร์ญี่ปุ่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแข่งขันของตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นจากนี้ไป จะแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้นโดยมีปัจจัยของเรื่องที่ผู้บริโภคคนไทยหวาดกลัวคุณภาพนำเข้าวัตถุดิบอาหารจากญี่ปุ่นเข้ามาผลิตในไทยเป็นตัวเร่งว่าจะมีการปนเปื้อนจากการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีที่โรงงานนิวเคลียร์ระเบิดหรือไม่ และจะเป็นปลายที่ตายจากสึนามิหรือไม่
แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการทำโปรโมชันและกระตุ้นการขายมากขึ้น รวมทั้งการหันมาสร้างโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคแน่นอน จากผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งเชนจากต่างประเทศและของคนไทยเอง
**เข้มงวดคุณภาพนำเข้ามากขึ้น**
นายประวิทย์ เปรื่องอักษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟู้ดโปรเจ็คท์ จำกัด ผู้นำเข้าวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่นสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงและผู้คนล้มตายจำนวนมากนั้น และเกิดกรณีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิดขึ้นหลายแห่ง ที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเล และย่อมส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคอาหารญี่ปุ่นตามมาแน่นอน
แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาหรารญี่ปุ่นในไทยนั้น มีการนำเข้าวัตถุดิบมาจากหลากหลายประเทศ มีการนำเข้าจากญี่ปุ่นเล็กน้อยเพียง 10-20% เท่านั้นเองในภาพรวม จึงไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดอาหารญี่ปุนในระยะยาวแต่อย่างใด แต่อาจจะมีบ้างในระยะสันที่ผู้คนตางหวาดหลังเรือคุณภาพอาหาร ว่า จะปนเปื้อนสารเคมีหรือไม่ รวมทั้งสัตว์ที่ตายจากสึนามิเข้ามาจำหน่ายหรือไม่
อีกทั้งสินค้าและวัตถุดิบบางอย่างก็สามารถผลิตได้ในไทยและหาอย่างอื่นทดแทนได้ เช่น ซอสถั่วเหลือง ข้าวญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนปลาซาบะ ปลาแซลมอน ก็นำเข้ามาจากประเทศแถบตะวันตกเป็นหลัก ปลาทูนามาจากอินโดนีเซีย ปลาหิมะจากแอฟริกาใต้
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ได้มีการพุดคุยเบื้องต้นกับทางผู้ผลิตและแหล่งที่บริษัทซื้อวัตถุดิบในญี่ปุ่นกันบ้างแล้วว่า จากนี้ต้องเข้มงวดในเรื่องของการนำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากที่สุด
**“ตัน-โออิชิ” มั่นใจรับสถานการณ์ได้
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไม่ตัน จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านราเมนแชมป์เปี้ยน ที่ทองหล่ออารีน่า 10 ซึ่งมี 6 แบรนด์ กล่าวว่า แน่นอนคนไทยต้องกลัวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น ว่า จะส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่น แต่เป็นเรื่องเร็วเกินไป ที่จะประเมินว่าตลาดจะกระทบมากน้อยแค่ไหน แต่คาดว่าโดยรวมแล้วไม่น่าจะร้ายแรงอะไรมาก เพราะส่วนใหญ่วัตถุดิบก็มาจากหลายประเทศอยู่แล้ว แต่เรื่องด่วนเเวลานี้มองว่า ควรจะหาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นอย่างไร ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณากาแนวทางช่วยเหลือเหมือนกัน
นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทีญี่ปุ่นอาจจะมีผลกระทบทางจิตวิทยาบ้างกับผู้บริโภคอาหารญี่ปุ่น แต่บริษัทมีการตรวจคุณภาพสินค้าที่นำเข้าทั้งจากประเทศอื่นและญี่ป่นอย่างสม่ำเสมออยุ่แล้ว ไม่ใช่ทำเฉพาตะอนนี้ ซึ่งถ้าหากกไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดก็ส่งคืน ปัจจุบันบริษัทใช้วัตถุดิบนำเข้าประมาณ 50% แต่ก็มาจากหลากหลายประเทศไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นที่เดียว โดยผ่านทางซัปพลายเออร์
ส่วนประเทศที่นำเข้าก็มีปลายประเทศทั้งจาก เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย หรือประเทศแถบอเมริกากลางและใต้ หลักๆ บริษัทต้องใช้ปลาแซลมอนประมาณ 70 ตันต่อเดือน ก็นำเข้ามาจากประเทศชิลี กับนอร์เวย์เป็นหลัก ไม่ได้พึ่งพาญี่ปุ่นแต่อย่างใด ส่วนปลาหิมะนำเข้ามาจาก แอฟริกาใต้ ปลาทูน่าจากอินโดนีเซีย เป็นต้น
อย่างไรตาม ปัญหาใหญ่ที่น่าห่วงของอาหารญี่ปุนจากนี้ไป ก็คือ ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบมากกว่า ซึ่งอาจจะกระทบชัดเจนในต้นปีหน้า เนื่องจากปีนี้ผุ้ประกอบการก็มีการทำสัญญาระยะยาวกันไปแล้ว ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา
**โออิชิอาจเลื่อนทัวร์ญี่ปุ่น**
นายแมทธิว กิจโอธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แคมเปญชิงโชครับหน้าร้อน “โออิชิ ไปแต่ตัว ทัวร์ยกแก๊ง ตอนสุดๆ ทัวร์เลือกได้” ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม นี้ คาดว่า มีผู้ส่งฝา 52-55 ล้านฝา โดยนำผู้รับรางวัลไปเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงเดือนตุลาคม ยังคงดำเนินการแม้ว่าขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นจะเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระยะเวลายังค่อนข้างนาน แต่ขณะเดียวกัน หากเหตุการณ์ยังไม่ปกติ บริษัทจะพิจารณาเลื่อนระยะเวลาพาผู้ได้รับรางวัลไปญี่ปุ่น เพื่อความปลอดภัย ซึ่งขณะนี้มีผู้ส่งฝามา 3 แสนฝา
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวโครงการ “ให้” เพื่อระดมทุนจากชาวไทย “ตั้งใจให้” มอบให้แก่ผู้ประสบภัยจากญี่ปุ่น ผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1.ผู้ที่เข้าไปรับประทานอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิทุกสาขา ยอดรายได้ 5% จะเป็นการสมทบทุนในโครงการให้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้-31 มีนาคม 2.เปิดกล่องรับบริจาคที่จุดชำระค่าบริการ ที่ ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ 140 สาขา และ 3.ให้น้ำใจด้วยการ กด Like หัวข้อโครงการให้ ผ่านเฟซบุ๊กเพจ OISHI News Station โดยทุก 1 Like มีมูลค่าเท่ากับ 10 เยน กับการกดSHARE แบ่งปันความปรารถนาที่ดี สามารถเข้าไปได้ที่ www.facebook.com/oishigroup
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแข่งขันของตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นจากนี้ไป จะแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้นโดยมีปัจจัยของเรื่องที่ผู้บริโภคคนไทยหวาดกลัวคุณภาพนำเข้าวัตถุดิบอาหารจากญี่ปุ่นเข้ามาผลิตในไทยเป็นตัวเร่งว่าจะมีการปนเปื้อนจากการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีที่โรงงานนิวเคลียร์ระเบิดหรือไม่ และจะเป็นปลายที่ตายจากสึนามิหรือไม่
แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการทำโปรโมชันและกระตุ้นการขายมากขึ้น รวมทั้งการหันมาสร้างโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคแน่นอน จากผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งเชนจากต่างประเทศและของคนไทยเอง
**เข้มงวดคุณภาพนำเข้ามากขึ้น**
นายประวิทย์ เปรื่องอักษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟู้ดโปรเจ็คท์ จำกัด ผู้นำเข้าวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่นสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงและผู้คนล้มตายจำนวนมากนั้น และเกิดกรณีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิดขึ้นหลายแห่ง ที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเล และย่อมส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคอาหารญี่ปุ่นตามมาแน่นอน
แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาหรารญี่ปุ่นในไทยนั้น มีการนำเข้าวัตถุดิบมาจากหลากหลายประเทศ มีการนำเข้าจากญี่ปุ่นเล็กน้อยเพียง 10-20% เท่านั้นเองในภาพรวม จึงไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดอาหารญี่ปุนในระยะยาวแต่อย่างใด แต่อาจจะมีบ้างในระยะสันที่ผู้คนตางหวาดหลังเรือคุณภาพอาหาร ว่า จะปนเปื้อนสารเคมีหรือไม่ รวมทั้งสัตว์ที่ตายจากสึนามิเข้ามาจำหน่ายหรือไม่
อีกทั้งสินค้าและวัตถุดิบบางอย่างก็สามารถผลิตได้ในไทยและหาอย่างอื่นทดแทนได้ เช่น ซอสถั่วเหลือง ข้าวญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนปลาซาบะ ปลาแซลมอน ก็นำเข้ามาจากประเทศแถบตะวันตกเป็นหลัก ปลาทูนามาจากอินโดนีเซีย ปลาหิมะจากแอฟริกาใต้
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ได้มีการพุดคุยเบื้องต้นกับทางผู้ผลิตและแหล่งที่บริษัทซื้อวัตถุดิบในญี่ปุ่นกันบ้างแล้วว่า จากนี้ต้องเข้มงวดในเรื่องของการนำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากที่สุด
**“ตัน-โออิชิ” มั่นใจรับสถานการณ์ได้
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไม่ตัน จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านราเมนแชมป์เปี้ยน ที่ทองหล่ออารีน่า 10 ซึ่งมี 6 แบรนด์ กล่าวว่า แน่นอนคนไทยต้องกลัวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น ว่า จะส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่น แต่เป็นเรื่องเร็วเกินไป ที่จะประเมินว่าตลาดจะกระทบมากน้อยแค่ไหน แต่คาดว่าโดยรวมแล้วไม่น่าจะร้ายแรงอะไรมาก เพราะส่วนใหญ่วัตถุดิบก็มาจากหลายประเทศอยู่แล้ว แต่เรื่องด่วนเเวลานี้มองว่า ควรจะหาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นอย่างไร ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณากาแนวทางช่วยเหลือเหมือนกัน
นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทีญี่ปุ่นอาจจะมีผลกระทบทางจิตวิทยาบ้างกับผู้บริโภคอาหารญี่ปุ่น แต่บริษัทมีการตรวจคุณภาพสินค้าที่นำเข้าทั้งจากประเทศอื่นและญี่ป่นอย่างสม่ำเสมออยุ่แล้ว ไม่ใช่ทำเฉพาตะอนนี้ ซึ่งถ้าหากกไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดก็ส่งคืน ปัจจุบันบริษัทใช้วัตถุดิบนำเข้าประมาณ 50% แต่ก็มาจากหลากหลายประเทศไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นที่เดียว โดยผ่านทางซัปพลายเออร์
ส่วนประเทศที่นำเข้าก็มีปลายประเทศทั้งจาก เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย หรือประเทศแถบอเมริกากลางและใต้ หลักๆ บริษัทต้องใช้ปลาแซลมอนประมาณ 70 ตันต่อเดือน ก็นำเข้ามาจากประเทศชิลี กับนอร์เวย์เป็นหลัก ไม่ได้พึ่งพาญี่ปุ่นแต่อย่างใด ส่วนปลาหิมะนำเข้ามาจาก แอฟริกาใต้ ปลาทูน่าจากอินโดนีเซีย เป็นต้น
อย่างไรตาม ปัญหาใหญ่ที่น่าห่วงของอาหารญี่ปุนจากนี้ไป ก็คือ ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบมากกว่า ซึ่งอาจจะกระทบชัดเจนในต้นปีหน้า เนื่องจากปีนี้ผุ้ประกอบการก็มีการทำสัญญาระยะยาวกันไปแล้ว ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา
**โออิชิอาจเลื่อนทัวร์ญี่ปุ่น**
นายแมทธิว กิจโอธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แคมเปญชิงโชครับหน้าร้อน “โออิชิ ไปแต่ตัว ทัวร์ยกแก๊ง ตอนสุดๆ ทัวร์เลือกได้” ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม นี้ คาดว่า มีผู้ส่งฝา 52-55 ล้านฝา โดยนำผู้รับรางวัลไปเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงเดือนตุลาคม ยังคงดำเนินการแม้ว่าขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นจะเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระยะเวลายังค่อนข้างนาน แต่ขณะเดียวกัน หากเหตุการณ์ยังไม่ปกติ บริษัทจะพิจารณาเลื่อนระยะเวลาพาผู้ได้รับรางวัลไปญี่ปุ่น เพื่อความปลอดภัย ซึ่งขณะนี้มีผู้ส่งฝามา 3 แสนฝา
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวโครงการ “ให้” เพื่อระดมทุนจากชาวไทย “ตั้งใจให้” มอบให้แก่ผู้ประสบภัยจากญี่ปุ่น ผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1.ผู้ที่เข้าไปรับประทานอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิทุกสาขา ยอดรายได้ 5% จะเป็นการสมทบทุนในโครงการให้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้-31 มีนาคม 2.เปิดกล่องรับบริจาคที่จุดชำระค่าบริการ ที่ ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ 140 สาขา และ 3.ให้น้ำใจด้วยการ กด Like หัวข้อโครงการให้ ผ่านเฟซบุ๊กเพจ OISHI News Station โดยทุก 1 Like มีมูลค่าเท่ากับ 10 เยน กับการกดSHARE แบ่งปันความปรารถนาที่ดี สามารถเข้าไปได้ที่ www.facebook.com/oishigroup