เสริมสุข จูบปาก เป๊ปซี่ ละครขัดแย้งจบแบบแฮปปี้ หลังขีดเส้นตายวันที่ 2 มี.ค.ฉีกสัญญาทิ้ง เป๊ปซี่ โค โร่แจ้งยอมรับสาระสำคัญ 5 ข้อ ก่อน 1 วัน พร้อมจ่อทำสัญญาใหม่วันที่ 31 มี.ค
หลังจากต่อสู้บนความขัดแย้งมานานระหว่างบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำอัดลมยี่ห้อ เป๊ปซี่ มิรินด้า และ เซเว่นอัพ หรือ บ๊อตเลอร์ กับ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เจ้าของแบรนด์เป๊ปซี่ ที่ต้องการเข้ามาเทกโอเวอร์เสริมสุข ตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ตระกูลบุลสุขต้องเทขายหุ้นทั้งหมด 20.61% ให้กับบริษัท เอสเอสเนชั่นแนล โลจิสติกส์ ซึ่งหลายฝ่ายก็คาดการณ์ว่า กลุ่ม “เจริญ สิริวัฒนภักดี” หรือไทยเบฟ จะเป็นผู้ซื้อหุ้น
กระทั่งเหตุการณ์บานปลาย เกิดการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 และศาลได้นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 17 ม.ค.2554 กระทั่งลากยาวมาจนถึงบริษัท เสริมสุข ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554 ซึ่งที่ประชุมของเสริมสุข มีมติเอกฉันท์ให้เสริมสุขดำเนินการตามแผนธุรกิจในอนาคตทันที หากทาง เป๊ปซี่-โค ไม่ดำเนินการตามแผนธุรกิจที่ได้เสนอไป 2 ส่วนหลัก คือ แผนการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินการเกี่ยวข้องกับสัญญา โดยมีสาระสำคัญ 5 ประการ
ทั้งนี้ ทางบริษัท เสริมสุข ได้ขีดเส้นตายระยะเวลาการตอบรับให้ทางเป๊ปซี่ โค ภายใน 15 วันหรือในวันที่ 2 มี.ค.2554 ซึ่งหากเป๊ปซี่-โคล่า ไม่ตกลง บริษัทบอกเลิกสัญญาระหว่างบริษัท กับเป๊ปซี่ โดยทันที และล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 บริษัท เสริมสุข ได้รับหนังสือจากเป๊ปซี่ลงวันที่เดียวกันอ้างถึงมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2554 ดังกล่าว
โดย เป๊ปซี่-โคล่า ยืนยันว่า ตกลงตามสาระสำคัญทั้ง 5 ประการของสัญญาที่จะมีการจัดทำขึ้นใหม่ระหว่างบริษัท กับเป๊ปซี่ ตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ “การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ระหว่างบริษัท และเป๊ปซี่” ของมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าว รวมทั้งได้ระบุว่า เป๊ปซี่ เชื่อมั่นว่า การจัดทำสัญญาจะสามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นในรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย และเป็นประกันความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจร่วมกันในประเทศไทย
(วานนี้) เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2554 ทางเสริมสุขแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับกรณีที่บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า ได้ยืนยันเกี่ยวกับสัญญาที่เสริมสุขต้องการดำเนินการตามแผนธุรกิจในอนาคต โดยจะเข้าทำสัญญาใหม่ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2554 โดยมีสาระสำคัญ 5 ประการ คือ
(1) กำหนดสูตรการคิดราคาค่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นผลให้ค่าหัวน้ำเชื้อลดลงประมาณ 9% ต่อปี จากราคาภายใต้สัญญา EBA ปัจจุบัน
(2) หากเป๊ปซี่ ยืนยันที่จะสงวนสิทธิ์เลิกสัญญาได้ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจควบคุม (Change of Control) ในบริษัทจะต้องไม่มีข้อกำหนดค่าปรับ หรือค่าเสียหายจากบริษัท และต้องมีคำจำกัดความของคำว่า “ควบคุม (Control)” ที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
(3) บริษัทจะต้องไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดการผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้สัญญากับเป๊ปซี่ ยกเว้นกรณีที่เป็นเครื่องดื่มชนิดและประเภทเดียวกัน และมีลักษณะเป็นการแข่งขันกัน เช่น ประเภทโคล่า (น้ำดำ) ด้วยกัน
(4) ในส่วนของข้อเสนอทางการค้า (ข้อเสนอเชิงพาณิชย์) ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย งบประมาณทางการตลาดเงื่อนไขของสัญญา และข้อเรียกร้องอื่นของเป๊ปซี่ที่มิได้ระบุไว้ในข้อ (1) (3) หรือข้อ (5) ให้เป็นไปตามข้อเสนอของเป๊ปซี่
(5) ข้อกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ต้องสมเหตุสมผล เช่น ระยะเวลาบอกกล่าวเลิกสัญญา และจะต้องไม่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ไม่ใช่ประเด็นทางการค้าโดยตรงตามลักษณะของสัญญา เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของเป๊ปซี่ในการแต่งตั้งผู้บริหาร เป็นต้น หรือเป็นข้อกำหนดเงื่อนไขที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัท
หลังจากต่อสู้บนความขัดแย้งมานานระหว่างบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำอัดลมยี่ห้อ เป๊ปซี่ มิรินด้า และ เซเว่นอัพ หรือ บ๊อตเลอร์ กับ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เจ้าของแบรนด์เป๊ปซี่ ที่ต้องการเข้ามาเทกโอเวอร์เสริมสุข ตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ตระกูลบุลสุขต้องเทขายหุ้นทั้งหมด 20.61% ให้กับบริษัท เอสเอสเนชั่นแนล โลจิสติกส์ ซึ่งหลายฝ่ายก็คาดการณ์ว่า กลุ่ม “เจริญ สิริวัฒนภักดี” หรือไทยเบฟ จะเป็นผู้ซื้อหุ้น
กระทั่งเหตุการณ์บานปลาย เกิดการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 และศาลได้นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 17 ม.ค.2554 กระทั่งลากยาวมาจนถึงบริษัท เสริมสุข ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554 ซึ่งที่ประชุมของเสริมสุข มีมติเอกฉันท์ให้เสริมสุขดำเนินการตามแผนธุรกิจในอนาคตทันที หากทาง เป๊ปซี่-โค ไม่ดำเนินการตามแผนธุรกิจที่ได้เสนอไป 2 ส่วนหลัก คือ แผนการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินการเกี่ยวข้องกับสัญญา โดยมีสาระสำคัญ 5 ประการ
ทั้งนี้ ทางบริษัท เสริมสุข ได้ขีดเส้นตายระยะเวลาการตอบรับให้ทางเป๊ปซี่ โค ภายใน 15 วันหรือในวันที่ 2 มี.ค.2554 ซึ่งหากเป๊ปซี่-โคล่า ไม่ตกลง บริษัทบอกเลิกสัญญาระหว่างบริษัท กับเป๊ปซี่ โดยทันที และล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 บริษัท เสริมสุข ได้รับหนังสือจากเป๊ปซี่ลงวันที่เดียวกันอ้างถึงมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2554 ดังกล่าว
โดย เป๊ปซี่-โคล่า ยืนยันว่า ตกลงตามสาระสำคัญทั้ง 5 ประการของสัญญาที่จะมีการจัดทำขึ้นใหม่ระหว่างบริษัท กับเป๊ปซี่ ตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ “การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ระหว่างบริษัท และเป๊ปซี่” ของมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าว รวมทั้งได้ระบุว่า เป๊ปซี่ เชื่อมั่นว่า การจัดทำสัญญาจะสามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นในรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย และเป็นประกันความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจร่วมกันในประเทศไทย
(วานนี้) เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2554 ทางเสริมสุขแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับกรณีที่บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า ได้ยืนยันเกี่ยวกับสัญญาที่เสริมสุขต้องการดำเนินการตามแผนธุรกิจในอนาคต โดยจะเข้าทำสัญญาใหม่ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2554 โดยมีสาระสำคัญ 5 ประการ คือ
(1) กำหนดสูตรการคิดราคาค่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นผลให้ค่าหัวน้ำเชื้อลดลงประมาณ 9% ต่อปี จากราคาภายใต้สัญญา EBA ปัจจุบัน
(2) หากเป๊ปซี่ ยืนยันที่จะสงวนสิทธิ์เลิกสัญญาได้ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจควบคุม (Change of Control) ในบริษัทจะต้องไม่มีข้อกำหนดค่าปรับ หรือค่าเสียหายจากบริษัท และต้องมีคำจำกัดความของคำว่า “ควบคุม (Control)” ที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
(3) บริษัทจะต้องไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดการผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้สัญญากับเป๊ปซี่ ยกเว้นกรณีที่เป็นเครื่องดื่มชนิดและประเภทเดียวกัน และมีลักษณะเป็นการแข่งขันกัน เช่น ประเภทโคล่า (น้ำดำ) ด้วยกัน
(4) ในส่วนของข้อเสนอทางการค้า (ข้อเสนอเชิงพาณิชย์) ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย งบประมาณทางการตลาดเงื่อนไขของสัญญา และข้อเรียกร้องอื่นของเป๊ปซี่ที่มิได้ระบุไว้ในข้อ (1) (3) หรือข้อ (5) ให้เป็นไปตามข้อเสนอของเป๊ปซี่
(5) ข้อกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ต้องสมเหตุสมผล เช่น ระยะเวลาบอกกล่าวเลิกสัญญา และจะต้องไม่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ไม่ใช่ประเด็นทางการค้าโดยตรงตามลักษณะของสัญญา เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของเป๊ปซี่ในการแต่งตั้งผู้บริหาร เป็นต้น หรือเป็นข้อกำหนดเงื่อนไขที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัท