ทรูมูฟปลื้ม ผลประกอบการปี 52 โตสวนตลาด กวาดรายได้ 2.36 หมื่นล้าน ส่วนปี 53 ทุ่ม 4 พันล้านพัฒนาโครงข่าย หลังการแข่งขันเปลี่ยนรูปแบบจากสงครามราคาไปสู่บริการนอนวอยซ์
นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท ทรูมูฟ กล่าวว่า กลยุทธ์การตลาดในปีนี้ ทรูมูฟเน้นเป็นปีแห่งคุณภาพ โดยจะมุ่งพัฒนาโครงข่ายและการให้บริการ โดยเตรียมงบประมาณลงทุน 3-4 พันล้านบาท เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการและเพิ่มศักยภาพเครือข่าย 2G และเครือข่ายบริการ 3G ซึ่งปัจจุบันทดลองให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดรวม 600 สถานีฐาน ซึ่งมีผู้ทดลองใช้ 1 แสนราย ขณะเดียวกันก็เป็นการรองรับการนำระบบการคงสิทธิเลขหมาย หรือนัมเบอร์พอร์ตมาใช้ในปลายปีนี้ เพื่อไม่ให้ลูกค้าไหลออกจากระบบ และอาจเป็นการดึงลูกค้าเข้าสู่ระบบมากขึ้นด้วย
'สำหรับ3G เรามีโอกาสเป็นผู้นำตลาดได้ เพราะเริ่มพร้อมกัน เราจึงเน้นเรื่องของคุณภาพ และเรื่องของคอนเวอร์เจนซ์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้กลุ่มทรูประสบความสำเร็จ'
ในส่วนของด้านบริการทรูมูฟยังคงเดินหน้าเปิดบริการใหม่ๆ ตามยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ โดยนำศักยภาพของกลุ่มทรูที่แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น ทั้งในด้านเครือข่าย คอนเทนต์ และแอปพลิเคชัน ผนวกกับการเปิดตัวคอนเวอร์เจนซ์โฟนรุ่นใหม่ๆ เช่น โมโตโรล่า ไมล์สโตน ต่อเนื่องจากการนำเข้าแบล็กเบอร์รี่และไอโฟนเป็นรายแรกในไทยเพื่อเติมเต็มประสิทธิภาพการใช้งานบนเครือข่ายคอนเวอร์เจนซ์ของทรูมูฟ โดยทรูมูฟยังคงตั้งเป้ารักษาส่วนแบ่งตลาด 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้บริการใหม่
'การแข่งขันในตลาดมือถือเมื่อก่อนจะเป็นเรื่องสงครามราคา ส่วนปีที่ผ่านมาเป็นการรักษาฐานลูกค้า แต่ในปีนี้เชื่อว่าจะเป็นสงครามนอนวอยซ์ เพราะผู้บริโภคจะใช้การสื่อสารข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาโครงข่ายและมีดีไวซ์ที่เป็นสมาร์ทโฟนมากขึ้น'
นอกจากเรื่องนอนวอยซ์แล้ว สิ่งที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตได้จะเป็นเรื่องของอินบาวด์ โรมมิ่ง (ไออาร์) ที่นักท่องเที่ยว หรือนักธุรกิจต่างชาตินำโทรศัพท์มือถือมาใช้ในไทย ซึ่งเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น จากปีที่ผ่านมาตลาดไออาร์โดยรวมลดลง 23% และของทรูมูฟลดลง 25% เพราะเกิดปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจ ไข้หวัดนก
สำหรับผลประกอบการในปี 2552 ทรูมูฟโตสวนกระแสตลาดทุกด้าน โดยมีรายได้จากการให้บริการไม่รวมรายได้จากค่าเชื่อมโครงข่าย หรือไอซีอยู่ที่ 2.36 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 3.4% ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ของบริการแบบรายเดือน 17.8% และบริการนอนวอยซ์ที่เพิ่มขึ้น 17% โดยยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์และการเปิดตัวไอโฟนเป็นปัจจัยสำคัญ
ทั้งนี้ ทรูมูฟมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA เป็นมูลค่า 7.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% เนื่องจากความสำเร็จในการบริหารค่าไอซีที่ต้องจ่ายเพียง 32 ล้านบาท โดยเฉพาะแคมเปญโทร.ฟรียกก๊วนที่กระตุ้นการโทร.ในโครงข่ายเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าไอซีสุทธิลดลง 813 ล้านบาท นอกจากนี้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา ยังมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ โดยทรูมูฟได้ออกแบบซิมและแพกเกจใหม่ๆ เช่น ซิมอินเตอร์ ที่มุ่งเจาะตลาดโทร.ทางไกลต่างประเทศและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า
ด้านจำนวนผู้ใช้บริการสิ้นปี 2552 ทรูมูฟมียอดผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 15.8 ล้านราย มีลูกค้าแบบรายเดือนเพิ่มขึ้นถึง 26.3% และลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านราย ซึ่งทรูมูฟยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้บริการใหม่ไว้ได้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ทั้งนี้ จากยุทธศาสตร์ที่ทรูมูฟวางไว้คาดว่ารายได้รวมปีนี้จะโตไม่น้อยกว่าตลาดโดยรวมที่คาดว่าจะโตในปีนี้ 3-5%
นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท ทรูมูฟ กล่าวว่า กลยุทธ์การตลาดในปีนี้ ทรูมูฟเน้นเป็นปีแห่งคุณภาพ โดยจะมุ่งพัฒนาโครงข่ายและการให้บริการ โดยเตรียมงบประมาณลงทุน 3-4 พันล้านบาท เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการและเพิ่มศักยภาพเครือข่าย 2G และเครือข่ายบริการ 3G ซึ่งปัจจุบันทดลองให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดรวม 600 สถานีฐาน ซึ่งมีผู้ทดลองใช้ 1 แสนราย ขณะเดียวกันก็เป็นการรองรับการนำระบบการคงสิทธิเลขหมาย หรือนัมเบอร์พอร์ตมาใช้ในปลายปีนี้ เพื่อไม่ให้ลูกค้าไหลออกจากระบบ และอาจเป็นการดึงลูกค้าเข้าสู่ระบบมากขึ้นด้วย
'สำหรับ3G เรามีโอกาสเป็นผู้นำตลาดได้ เพราะเริ่มพร้อมกัน เราจึงเน้นเรื่องของคุณภาพ และเรื่องของคอนเวอร์เจนซ์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้กลุ่มทรูประสบความสำเร็จ'
ในส่วนของด้านบริการทรูมูฟยังคงเดินหน้าเปิดบริการใหม่ๆ ตามยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ โดยนำศักยภาพของกลุ่มทรูที่แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น ทั้งในด้านเครือข่าย คอนเทนต์ และแอปพลิเคชัน ผนวกกับการเปิดตัวคอนเวอร์เจนซ์โฟนรุ่นใหม่ๆ เช่น โมโตโรล่า ไมล์สโตน ต่อเนื่องจากการนำเข้าแบล็กเบอร์รี่และไอโฟนเป็นรายแรกในไทยเพื่อเติมเต็มประสิทธิภาพการใช้งานบนเครือข่ายคอนเวอร์เจนซ์ของทรูมูฟ โดยทรูมูฟยังคงตั้งเป้ารักษาส่วนแบ่งตลาด 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้บริการใหม่
'การแข่งขันในตลาดมือถือเมื่อก่อนจะเป็นเรื่องสงครามราคา ส่วนปีที่ผ่านมาเป็นการรักษาฐานลูกค้า แต่ในปีนี้เชื่อว่าจะเป็นสงครามนอนวอยซ์ เพราะผู้บริโภคจะใช้การสื่อสารข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาโครงข่ายและมีดีไวซ์ที่เป็นสมาร์ทโฟนมากขึ้น'
นอกจากเรื่องนอนวอยซ์แล้ว สิ่งที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตได้จะเป็นเรื่องของอินบาวด์ โรมมิ่ง (ไออาร์) ที่นักท่องเที่ยว หรือนักธุรกิจต่างชาตินำโทรศัพท์มือถือมาใช้ในไทย ซึ่งเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น จากปีที่ผ่านมาตลาดไออาร์โดยรวมลดลง 23% และของทรูมูฟลดลง 25% เพราะเกิดปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจ ไข้หวัดนก
สำหรับผลประกอบการในปี 2552 ทรูมูฟโตสวนกระแสตลาดทุกด้าน โดยมีรายได้จากการให้บริการไม่รวมรายได้จากค่าเชื่อมโครงข่าย หรือไอซีอยู่ที่ 2.36 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 3.4% ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ของบริการแบบรายเดือน 17.8% และบริการนอนวอยซ์ที่เพิ่มขึ้น 17% โดยยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์และการเปิดตัวไอโฟนเป็นปัจจัยสำคัญ
ทั้งนี้ ทรูมูฟมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA เป็นมูลค่า 7.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% เนื่องจากความสำเร็จในการบริหารค่าไอซีที่ต้องจ่ายเพียง 32 ล้านบาท โดยเฉพาะแคมเปญโทร.ฟรียกก๊วนที่กระตุ้นการโทร.ในโครงข่ายเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าไอซีสุทธิลดลง 813 ล้านบาท นอกจากนี้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา ยังมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ โดยทรูมูฟได้ออกแบบซิมและแพกเกจใหม่ๆ เช่น ซิมอินเตอร์ ที่มุ่งเจาะตลาดโทร.ทางไกลต่างประเทศและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า
ด้านจำนวนผู้ใช้บริการสิ้นปี 2552 ทรูมูฟมียอดผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 15.8 ล้านราย มีลูกค้าแบบรายเดือนเพิ่มขึ้นถึง 26.3% และลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านราย ซึ่งทรูมูฟยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้บริการใหม่ไว้ได้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ทั้งนี้ จากยุทธศาสตร์ที่ทรูมูฟวางไว้คาดว่ารายได้รวมปีนี้จะโตไม่น้อยกว่าตลาดโดยรวมที่คาดว่าจะโตในปีนี้ 3-5%