ไทยส่อเสียท่าฟิลิปปินส์อีกแล้ว หลังจ่อยอมรับข้อเสนอลดภาษีน้ำตาลทราย ทั้งๆ ที่ยังมีปัญหาเรื่องข้าวคาราคาซังอยู่ “พรทิวา” ลั่นจะไม่ยอมรับ หากยังหาบทสรุปเรื่องข้าวไม่ได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้ฟิลิปปินส์ได้ยื่นข้อเสนอการลดภาษีน้ำตาลทรายภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มาให้ไทยพิจารณาแล้ว โดยเสนอลดภาษีน้ำตาลเป็นขั้นบันได ปี 2009-2011 จะลดภาษีเหลือ 38% ปี 2012 ลดเหลือ 28% ปี 2013 ลดเหลือ 18% ปี 2014 ลดเหลือ 10% และปี 2015 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายจะลดเหลือ 5% จากที่ก่อนหน้านี้ ฟิลิปปินส์มีท่าทีที่จะไม่ยอมลดภาษีน้ำตาลทราย
ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ได้ขอบรรจุให้สินค้าน้ำตาลทรายเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง และได้ยืนยันที่จะไม่ลดภาษีมาโดยตลอด แต่ไทยได้มีการเจรจาเพื่อขอให้ฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราภาษีลงมาอย่างต่อเนื่อง เพราะฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกน้ำตาลทรายที่สำคัญของไทย จนล่าสุดในการประชุมผู้นำอาเซียน ไทยก็ได้มีการเจรจาเพื่อให้ฟิลิปปินส์ปรับลดภาษีลงมาอีกครั้ง
ล่าสุดฟิลิปปินส์ได้ยื่นข้อเสนอการลดภาษีมาแล้ว และขอให้ไทยยอมรับกับข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยจะยอมรับข้อเสนอ โดยยอมรับอัตราภาษีสุดท้ายที่ 5% ได้ และทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ก็ได้มีการเสนอเรื่องนี้ให้นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความเห็นชอบก่อนที่จะแจ้งความเห็นไปยังฟิลิปปินส์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่านางพรทิวาจะไม่ยอมรับกับข้อเสนอของฟิลิปปินส์ เพราะขณะนี้ไทยยังมีปัญหาในเรื่องข้าวกับทางฟิลิปปินส์อยู่ โดยไทยขอให้ฟิลิปปินส์ชดเชยกรณีที่ไม่ยอมลดภาษีข้าวที่เรียกเก็บสูงถึง 40% ด้วยการให้โควตานำเข้ากับไทยจำนวน 3.6 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นอัตราที่คำนวณเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี และฟิลิปปินส์ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ให้กับไทย
และหากไทยยอมรับกับข้อเสนอในเรื่องน้ำตาลทราย ก็เท่ากับว่าไทยปล่อยให้ผลประโยชน์ในเรื่องข้าวเสียหาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (22 ธ.ค.) กระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้ครม. พิจารณาอนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์รองรับการบริหารการนำเข้ากาแฟ ชา น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่มและนมผงขาดมันเนย ตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่จะมีการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี และลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ยกเว้นกาแฟเหลือ 5% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 เป็นต้นไป หลังจากครม.อนุมัติ กรมการค้าต่างประเทศจะมาออกประกาศกำหนดรายละเอียดการนำเข้า ซึ่งจะมีมาตรการรองรับ เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย การกำหนดด่านศุลกากรนำเข้า การตรวจสอบคุณภาพหรือมาตรฐานสินค้าที่นำเข้า รวมไปถึงการจัดทำระบบติดตามการนำเข้า
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้ฟิลิปปินส์ได้ยื่นข้อเสนอการลดภาษีน้ำตาลทรายภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มาให้ไทยพิจารณาแล้ว โดยเสนอลดภาษีน้ำตาลเป็นขั้นบันได ปี 2009-2011 จะลดภาษีเหลือ 38% ปี 2012 ลดเหลือ 28% ปี 2013 ลดเหลือ 18% ปี 2014 ลดเหลือ 10% และปี 2015 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายจะลดเหลือ 5% จากที่ก่อนหน้านี้ ฟิลิปปินส์มีท่าทีที่จะไม่ยอมลดภาษีน้ำตาลทราย
ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ได้ขอบรรจุให้สินค้าน้ำตาลทรายเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง และได้ยืนยันที่จะไม่ลดภาษีมาโดยตลอด แต่ไทยได้มีการเจรจาเพื่อขอให้ฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราภาษีลงมาอย่างต่อเนื่อง เพราะฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกน้ำตาลทรายที่สำคัญของไทย จนล่าสุดในการประชุมผู้นำอาเซียน ไทยก็ได้มีการเจรจาเพื่อให้ฟิลิปปินส์ปรับลดภาษีลงมาอีกครั้ง
ล่าสุดฟิลิปปินส์ได้ยื่นข้อเสนอการลดภาษีมาแล้ว และขอให้ไทยยอมรับกับข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยจะยอมรับข้อเสนอ โดยยอมรับอัตราภาษีสุดท้ายที่ 5% ได้ และทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ก็ได้มีการเสนอเรื่องนี้ให้นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความเห็นชอบก่อนที่จะแจ้งความเห็นไปยังฟิลิปปินส์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่านางพรทิวาจะไม่ยอมรับกับข้อเสนอของฟิลิปปินส์ เพราะขณะนี้ไทยยังมีปัญหาในเรื่องข้าวกับทางฟิลิปปินส์อยู่ โดยไทยขอให้ฟิลิปปินส์ชดเชยกรณีที่ไม่ยอมลดภาษีข้าวที่เรียกเก็บสูงถึง 40% ด้วยการให้โควตานำเข้ากับไทยจำนวน 3.6 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นอัตราที่คำนวณเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี และฟิลิปปินส์ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ให้กับไทย
และหากไทยยอมรับกับข้อเสนอในเรื่องน้ำตาลทราย ก็เท่ากับว่าไทยปล่อยให้ผลประโยชน์ในเรื่องข้าวเสียหาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (22 ธ.ค.) กระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้ครม. พิจารณาอนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์รองรับการบริหารการนำเข้ากาแฟ ชา น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่มและนมผงขาดมันเนย ตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่จะมีการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี และลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ยกเว้นกาแฟเหลือ 5% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 เป็นต้นไป หลังจากครม.อนุมัติ กรมการค้าต่างประเทศจะมาออกประกาศกำหนดรายละเอียดการนำเข้า ซึ่งจะมีมาตรการรองรับ เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย การกำหนดด่านศุลกากรนำเข้า การตรวจสอบคุณภาพหรือมาตรฐานสินค้าที่นำเข้า รวมไปถึงการจัดทำระบบติดตามการนำเข้า