คน ททท.ยันนัดชุมนุมต่อเนื่องเป้าหมายสูงสุด ต้องเปลี่ยนมติบอร์ด ททท.ให้จงได้ ระบุการเรียกร้องครั้งนี้เพื่อกู้ศักดิ์ศรีองค์กร สะสางระบบการเมืองล้วงลูก ฟากผู้บริหารเจ้ากระทรวงการท่องเที่ยว-ประธานบอร์ด ททท.คนใหม่ เมินเสียงร้อง กำหนดประชุมบอร์ด 21 ต.ค.เป็นปกติ ทั้งที่ลงนามแต่งตั้งแล้วเกือบครึ่งเดือน
วานนี้ (12 ต.ค.) ที่อาคารสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พนักงานและลูกจ้าง ททท.กว่า 200 คน นำโดยพนักงานระดับ 9 เพื่อร่วมชุมนุม พร้อมขึ้นป้าย “ททท....ต้องสู้” คัดค้านมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ททท.เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2552 กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท.รวมถึงการย้าย นายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าการท่องเที่ยว ททท.ขึ้นเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาระดับ 11 โดยการชุมนุมครั้งนี้ของพนักงานและลูกจ้าง ททท.ก็เพื่อขอให้บอร์ดยกเลิกมติดังกล่าวเสีย และในวันที่ 14 ต.ค.2552 พนักงานและลูกจ้าง ททท.ได้นัดชุมนุมอีกครั้งเพื่อกำหนดแนวทางอารยะขัดขืน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือ
***ยันต้องเปลี่ยนมติบอร์ดเท่านั้น*****
ทั้งนี้ นางอรุณศรี ศรีเมฆานนท์ ผู้อำนวยการภูมิภาคอีสาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า การเรียกร้องของเราเป็นการเรียกร้องของพนักงานและลูกจ้างของ ททท.ทั้งหมด ไม่ได้แบ่งแยกผู้บริหารหรือพนักงานระดับปฏิบัติการแต่เราเรียกร้องในนามของพนักงานทั้งองค์กร
“เราต้องการให้บอร์ดยกเลิกมติเมื่อวันที่ 15 ก.ย.2552 เรื่องการแต่งตั้งที่ปรึกษาระดับ 11 และการโยกย้ายรองผู้ว่าการ ททท.เพราะ ซี 11 ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างของ ททท.ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลมารับตำแหน่งก็ต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนว่าตั้งมาเพื่ออะไร และต้องการถามว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนมากแค่ไหน ขณะเดียวกัน การโยกย้ายตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท.ก็ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องมาทำในตอนนี้ สิ่งที่สำคัญควรจะดูในเรื่องของการหามาตรการกระตุ้นตลาด เพื่อส่งเสริมให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาให้ได้จำนวนมาก และ วางเรื่องการโยกย้ายให้เป็นหน้าที่ของผู้ว่าการททท.คนใหม่ที่จะเข้ามารับตำแหน่ง เพราะการโยกย้ายแล้วแต่งตั้งตำแหน่งรักษาการลักษณะการทำงานก็จะแตกต่างกัน”
นางอรุณศรี กล่าวอีกว่า การแสดงออกของพนักงานททท.ทุกคนในวันนี้ไม่ได้ทำเพื่อใคร แต่ทำเพื่ออนาคตระยะยาวขององค์กร ททท.ก่อตั้งมาครบ 50 ปีในปีหน้า ถ้าเห็นว่าเราทำไม่ถูกก็พร้อมให้ตรวจสอบ เราต้องการให้องค์กรมีความเข้มแข็ง การที่บอร์ดใช้วาระประชุมลับ เพื่อแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารองค์กร มีความเหมาะสมหรือไมการกระทำเช่นนี้เข้าข่ายการล้วงลูกทางการเมืองหรือไม่ก็ควรพิจารณา เพราะการที่บอร์ดมีมติใดๆออกมาต้องมีที่มาที่ไปชัดเจน ตรวจสอบได้ การชุมนุมของพนักงานททท.เราตั้งเป้าหมายว่าต้องให้บอร์ดเปลี่ยนมติบอร์ดดังกล่าว
***เจ้ากระทรวง-ประธานบอร์ดเมินเสียงร้อง****
อย่างไรก็ตาม จากการบอกกล่าวของพนักงาน ททท.ในระดับผู้บริหาร ระบุว่า ตั้งแต่ ททท.มีความเคลื่อนไหวคัดค้านมติบอร์ดททท.เรื่องคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานระดับรองผู้ว่าการ ททท.นั้นก็ยังไม่ได้รับการชี้แจงจากทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯเลยว่าจะมีทีท่าอย่างไร ขณะเดียวกัน นายวิชัย ศรีขวัญ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯเซ็นแต่งตั้งเป็นประธานบอร์ด ททท.เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีการเรียกประชุมบอร์ดเป็นวาระพิเศษ แม้เลขานุการบอร์ดททท.จะส่งหนังสือเสนอไปแล้วก็ตาม ยังคงกำหนดให้วันที่ 21 ต.ค.2552 เป็นการประชุมบอร์ด ททท.เช่นเดิม สะท้อนให้เห็นว่า การเรียกร้องของพนักงานและลูกจ้างของ ททท.ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่ได้อยู่ในความสนใจของคนที่อยู่ในระดับผู้บริหารเลย
****เอกชนภูเก็ตร้องนายกฯมาร์คตัดสิน*****
รายงานข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า นายสมบูรณ์ จิรายุส นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต ได้ส่งหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการ ททท.กรณีการโยกย้าย นายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการ ททท.ด้านสินค้าการท่องเที่ยวขึ้นเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาระดับ 11 เนื่องจากเห็นว่ามติดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยรวม แต่กลับทำให้ภาพลักษณ์และการดำเนินงานในการฟื้นฟูวิกฤติการท่องเที่ยวของประเทศต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ อันมีสาเหตุจากความไม่พอใจของหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำครั้งนี้ ประกอบกับ นายอักกพล เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ มีผลปฎิบัติงานเป็นที่พึงพอใจของภาคเอกชนท่องเที่ยว ซึ่งหากปล่อยให้เหตุการณ์ประท้วงดำเนินต่อไป อาจทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวทั้งในประเทสและต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของ ททท.เป็นผลให้ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยที่ตกต่ำอยู่แล้วยิ่งทรุดหนักลง อันนำมาซึ่งความล้มละลายทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จึงต้องการให้นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ทบทวนมติของบอร์ดททท.และให้ฝ่ายการเมืองที่เป็นผู้ดูแลควบคุมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ทบทวนบทบาทและยุติการครอบงำองค์กรแห่งนี้เพื่อให้ ททท.กลับไปทำหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพส่วนล่างของฟอร์ม
วานนี้ (12 ต.ค.) ที่อาคารสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พนักงานและลูกจ้าง ททท.กว่า 200 คน นำโดยพนักงานระดับ 9 เพื่อร่วมชุมนุม พร้อมขึ้นป้าย “ททท....ต้องสู้” คัดค้านมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ททท.เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2552 กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท.รวมถึงการย้าย นายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าการท่องเที่ยว ททท.ขึ้นเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาระดับ 11 โดยการชุมนุมครั้งนี้ของพนักงานและลูกจ้าง ททท.ก็เพื่อขอให้บอร์ดยกเลิกมติดังกล่าวเสีย และในวันที่ 14 ต.ค.2552 พนักงานและลูกจ้าง ททท.ได้นัดชุมนุมอีกครั้งเพื่อกำหนดแนวทางอารยะขัดขืน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือ
***ยันต้องเปลี่ยนมติบอร์ดเท่านั้น*****
ทั้งนี้ นางอรุณศรี ศรีเมฆานนท์ ผู้อำนวยการภูมิภาคอีสาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า การเรียกร้องของเราเป็นการเรียกร้องของพนักงานและลูกจ้างของ ททท.ทั้งหมด ไม่ได้แบ่งแยกผู้บริหารหรือพนักงานระดับปฏิบัติการแต่เราเรียกร้องในนามของพนักงานทั้งองค์กร
“เราต้องการให้บอร์ดยกเลิกมติเมื่อวันที่ 15 ก.ย.2552 เรื่องการแต่งตั้งที่ปรึกษาระดับ 11 และการโยกย้ายรองผู้ว่าการ ททท.เพราะ ซี 11 ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างของ ททท.ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลมารับตำแหน่งก็ต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนว่าตั้งมาเพื่ออะไร และต้องการถามว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนมากแค่ไหน ขณะเดียวกัน การโยกย้ายตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท.ก็ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องมาทำในตอนนี้ สิ่งที่สำคัญควรจะดูในเรื่องของการหามาตรการกระตุ้นตลาด เพื่อส่งเสริมให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาให้ได้จำนวนมาก และ วางเรื่องการโยกย้ายให้เป็นหน้าที่ของผู้ว่าการททท.คนใหม่ที่จะเข้ามารับตำแหน่ง เพราะการโยกย้ายแล้วแต่งตั้งตำแหน่งรักษาการลักษณะการทำงานก็จะแตกต่างกัน”
นางอรุณศรี กล่าวอีกว่า การแสดงออกของพนักงานททท.ทุกคนในวันนี้ไม่ได้ทำเพื่อใคร แต่ทำเพื่ออนาคตระยะยาวขององค์กร ททท.ก่อตั้งมาครบ 50 ปีในปีหน้า ถ้าเห็นว่าเราทำไม่ถูกก็พร้อมให้ตรวจสอบ เราต้องการให้องค์กรมีความเข้มแข็ง การที่บอร์ดใช้วาระประชุมลับ เพื่อแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารองค์กร มีความเหมาะสมหรือไมการกระทำเช่นนี้เข้าข่ายการล้วงลูกทางการเมืองหรือไม่ก็ควรพิจารณา เพราะการที่บอร์ดมีมติใดๆออกมาต้องมีที่มาที่ไปชัดเจน ตรวจสอบได้ การชุมนุมของพนักงานททท.เราตั้งเป้าหมายว่าต้องให้บอร์ดเปลี่ยนมติบอร์ดดังกล่าว
***เจ้ากระทรวง-ประธานบอร์ดเมินเสียงร้อง****
อย่างไรก็ตาม จากการบอกกล่าวของพนักงาน ททท.ในระดับผู้บริหาร ระบุว่า ตั้งแต่ ททท.มีความเคลื่อนไหวคัดค้านมติบอร์ดททท.เรื่องคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานระดับรองผู้ว่าการ ททท.นั้นก็ยังไม่ได้รับการชี้แจงจากทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯเลยว่าจะมีทีท่าอย่างไร ขณะเดียวกัน นายวิชัย ศรีขวัญ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯเซ็นแต่งตั้งเป็นประธานบอร์ด ททท.เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีการเรียกประชุมบอร์ดเป็นวาระพิเศษ แม้เลขานุการบอร์ดททท.จะส่งหนังสือเสนอไปแล้วก็ตาม ยังคงกำหนดให้วันที่ 21 ต.ค.2552 เป็นการประชุมบอร์ด ททท.เช่นเดิม สะท้อนให้เห็นว่า การเรียกร้องของพนักงานและลูกจ้างของ ททท.ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่ได้อยู่ในความสนใจของคนที่อยู่ในระดับผู้บริหารเลย
****เอกชนภูเก็ตร้องนายกฯมาร์คตัดสิน*****
รายงานข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า นายสมบูรณ์ จิรายุส นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต ได้ส่งหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการ ททท.กรณีการโยกย้าย นายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการ ททท.ด้านสินค้าการท่องเที่ยวขึ้นเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาระดับ 11 เนื่องจากเห็นว่ามติดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยรวม แต่กลับทำให้ภาพลักษณ์และการดำเนินงานในการฟื้นฟูวิกฤติการท่องเที่ยวของประเทศต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ อันมีสาเหตุจากความไม่พอใจของหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำครั้งนี้ ประกอบกับ นายอักกพล เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ มีผลปฎิบัติงานเป็นที่พึงพอใจของภาคเอกชนท่องเที่ยว ซึ่งหากปล่อยให้เหตุการณ์ประท้วงดำเนินต่อไป อาจทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวทั้งในประเทสและต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของ ททท.เป็นผลให้ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยที่ตกต่ำอยู่แล้วยิ่งทรุดหนักลง อันนำมาซึ่งความล้มละลายทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จึงต้องการให้นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ทบทวนมติของบอร์ดททท.และให้ฝ่ายการเมืองที่เป็นผู้ดูแลควบคุมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ทบทวนบทบาทและยุติการครอบงำองค์กรแห่งนี้เพื่อให้ ททท.กลับไปทำหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพส่วนล่างของฟอร์ม