ททท.ฉวยจังหวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกผู้คนหาที่พึ่งทางใจ จัดพิมพ์คู่มือ Meditation In Thailand เข็น 35 เส้นทาง ปฏิบัติธรรม เสนอขายนักท่องเที่ยวต่างชาติ ชูประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางด้านปฎิบัติธรรม หวังเจาะทั้งตลาดเอเชีย ยุโรป และอเมริกา เล็งทำข้อมูลภาษาอังกฤษใส่ในเว็บไซต์ ลั่นปีหน้า จัดแฟมทริป เจาะเกาหลี และ ญี่ปุ่น
นางกุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือ Meditation In Thailand จำนวน 1,000 เล่ม เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแจกจ่ายไปยังสำนักงาน ททท.ในต่างประเทศ รวมถึงตัวแทนการขายของ ททท.ในต่างประเทศ ใช้เป็นคู่มือ ในการให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิในประเทศไทย โดยคู่มือดังกล่าวจะรวบรวมสถานที่ปฏิบัติธรรมแบบสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน จำนวน 35 แห่งทั่วประเทศ ที่สามารถรองรับชาวต่างประเทศที่สนใจเดินทางเข้ามาปฎิบัติธรรม คาดว่า จะเสร็จให้ทันนำไปแจกในงาน เวิลด์ ทราเวล มาร์ท(WTM) ประเทศอังกฤษ เดือน พ.ย.นี้ จากนั้นจะต่อยอดด้วยการทำข้อมูลภาษาอังกฤษใส่ในเว็บไซต์ของ ททท.อนาคตก็จะเพิ่มภาษาอื่นๆ ด้วย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น เพราะพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้นิยมหาข้อมูลและเดินทางด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว ททท.มีจุดประสงค์เพื่อชูภาพลักษณ์ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง (เดสติเนชัน) ทางเมืองพุทธในภูมิภาคเอเชีย เจาะกลุ่มเป้าหมาย ตลาดจีน อินเดีย และประเทศในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนั้น จะขยายการรับรู้ไปยังภูมิภาคยุโรป และอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหาร ผู้ประกอบธุรกิจ กลุ่มประชุมสัมมนา กลุ่มนักวิชาการ คนทำงาน กลุ่มวัยเกษียณ และ นักศึกษา อันเป็นแนวทางกรอบความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน-ไทยและอินเดีย ในการที่จะร่วมมือกันนำการปฎิบัติทางศาสนาพุทธมาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย
“ท่องเที่ยวเชิงศาสนานี้จะเป็นที่นิยมมาก ในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือมีปัจจัยลบที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ แต่ต่อๆ มา ได้พัฒนา ท่องเที่ยวรูปแบบนี้ เพื่อการพักผ่อนจิตใจอย่างแท้จริง เป็นการปฎิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ดังนั้น ททท.จะใช้คู่มือ เมดิเตชั่น อิน ไทยแลนด์ นี้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ความพร้อมของประเทศไทยที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จากนานาประเทศ เพราะจุดได้เปรียบของไทยคือภาพของความเป็นเมืองพุทธศาสนา มีสถานที่ปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน และมีวัดที่เป็นศิลปะสถาปัตยกรรมสวยงานอยู่ทั่วประเทศ”
นางกุลปราโมทย์ กล่าวว่า แนวโน้นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่สนใจเข้ามาศึกษาด้านพุทธศาสนา และ ด้านสมาธิวิปัสสนา กรรมฐานในประเทศไทย มีแนวโน้มเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา คาดว่า จะโตปีละเกือบเท่าตัว จากฐานที่จำนวนไม่มากนักต่อปี เดี๋ยวนี้เราจะเห็นชาวต่างชาติเข้ามาปฏิบัติธรรม บางรายก็มาบวชเพื่อศึกษาพระธรรมอย่างจริงจังจำนวนมากขึ้น โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ยังมีความสนใจเรื่องธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน โดยจัดว่าเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ แม้จะใช้จ่ายต่อคนไม่มากนัก แต่ก็เป็นการเที่ยวแบบจรรโรงสังคม ช่วยด้านภาพลักษณ์ของประเทศไทย
สำหรับการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงศาสนานี้ ททท.แบ่งเป็น 3 ระดับ ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ได้แก่ 1.ท่องเที่ยวไหว้พระขอพร หรือไหว้พระ 9 วัด 2.ท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถาปัตยกรรม ปูชนียสถาน เช่น โบสถ์คริสต์ พุทธ อิสลาม และ 3.ท่องเที่ยวเชิงปฏิบัติธรรม อย่างไรก็ตาม ต้นปี 2553 จะจัดแฟมทริป เชิญสื่อมวลชน และบริษัทนำเที่ยวจากญี่ปุ่น และ เกาหลี เข้ามาสำรวจแส้นทางท่องเที่ยวปฏิบัติธรรม วิปัสสนากรรมฐาน
นางกุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือ Meditation In Thailand จำนวน 1,000 เล่ม เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแจกจ่ายไปยังสำนักงาน ททท.ในต่างประเทศ รวมถึงตัวแทนการขายของ ททท.ในต่างประเทศ ใช้เป็นคู่มือ ในการให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิในประเทศไทย โดยคู่มือดังกล่าวจะรวบรวมสถานที่ปฏิบัติธรรมแบบสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน จำนวน 35 แห่งทั่วประเทศ ที่สามารถรองรับชาวต่างประเทศที่สนใจเดินทางเข้ามาปฎิบัติธรรม คาดว่า จะเสร็จให้ทันนำไปแจกในงาน เวิลด์ ทราเวล มาร์ท(WTM) ประเทศอังกฤษ เดือน พ.ย.นี้ จากนั้นจะต่อยอดด้วยการทำข้อมูลภาษาอังกฤษใส่ในเว็บไซต์ของ ททท.อนาคตก็จะเพิ่มภาษาอื่นๆ ด้วย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น เพราะพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้นิยมหาข้อมูลและเดินทางด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว ททท.มีจุดประสงค์เพื่อชูภาพลักษณ์ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง (เดสติเนชัน) ทางเมืองพุทธในภูมิภาคเอเชีย เจาะกลุ่มเป้าหมาย ตลาดจีน อินเดีย และประเทศในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนั้น จะขยายการรับรู้ไปยังภูมิภาคยุโรป และอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหาร ผู้ประกอบธุรกิจ กลุ่มประชุมสัมมนา กลุ่มนักวิชาการ คนทำงาน กลุ่มวัยเกษียณ และ นักศึกษา อันเป็นแนวทางกรอบความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน-ไทยและอินเดีย ในการที่จะร่วมมือกันนำการปฎิบัติทางศาสนาพุทธมาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย
“ท่องเที่ยวเชิงศาสนานี้จะเป็นที่นิยมมาก ในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือมีปัจจัยลบที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ แต่ต่อๆ มา ได้พัฒนา ท่องเที่ยวรูปแบบนี้ เพื่อการพักผ่อนจิตใจอย่างแท้จริง เป็นการปฎิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ดังนั้น ททท.จะใช้คู่มือ เมดิเตชั่น อิน ไทยแลนด์ นี้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ความพร้อมของประเทศไทยที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จากนานาประเทศ เพราะจุดได้เปรียบของไทยคือภาพของความเป็นเมืองพุทธศาสนา มีสถานที่ปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน และมีวัดที่เป็นศิลปะสถาปัตยกรรมสวยงานอยู่ทั่วประเทศ”
นางกุลปราโมทย์ กล่าวว่า แนวโน้นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่สนใจเข้ามาศึกษาด้านพุทธศาสนา และ ด้านสมาธิวิปัสสนา กรรมฐานในประเทศไทย มีแนวโน้มเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา คาดว่า จะโตปีละเกือบเท่าตัว จากฐานที่จำนวนไม่มากนักต่อปี เดี๋ยวนี้เราจะเห็นชาวต่างชาติเข้ามาปฏิบัติธรรม บางรายก็มาบวชเพื่อศึกษาพระธรรมอย่างจริงจังจำนวนมากขึ้น โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ยังมีความสนใจเรื่องธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน โดยจัดว่าเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ แม้จะใช้จ่ายต่อคนไม่มากนัก แต่ก็เป็นการเที่ยวแบบจรรโรงสังคม ช่วยด้านภาพลักษณ์ของประเทศไทย
สำหรับการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงศาสนานี้ ททท.แบ่งเป็น 3 ระดับ ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ได้แก่ 1.ท่องเที่ยวไหว้พระขอพร หรือไหว้พระ 9 วัด 2.ท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถาปัตยกรรม ปูชนียสถาน เช่น โบสถ์คริสต์ พุทธ อิสลาม และ 3.ท่องเที่ยวเชิงปฏิบัติธรรม อย่างไรก็ตาม ต้นปี 2553 จะจัดแฟมทริป เชิญสื่อมวลชน และบริษัทนำเที่ยวจากญี่ปุ่น และ เกาหลี เข้ามาสำรวจแส้นทางท่องเที่ยวปฏิบัติธรรม วิปัสสนากรรมฐาน