ธ.ไทยพาณิชย์ คาดสินเชื่อปี 52 โตเฉลี่ย 3% จากเป้าที่ตั้งไว้ 3-5% ส่วนเอ็นพีแอล ยังคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 5% คาดไตรมาส 4 สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน และสินเชื่อระยะสั้นเริ่มฟื้นตัว
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวถึงธุรกิจสินเชื่อของธนาคารในปีนี้ โดยคาดว่า มีแนวโน้มที่จะเติบโตในระดับ 3% ซึ่งเป็นขั้นต่ำที่ได้วางเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 3-5% เนื่องจากในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้สินเชื่อยังอยู่ในภาวะติดลบ
นางกรรณิกา คาดหวังว่า ในช่วงที่เหลือของปีคือในไตรมาส 4 ปี 2552 สินเชื่อจะฟื้นตัวขึ้นได้มาก โดยเฉพาะสินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียนและสินเชื่อระยะสั้น รวมทั้งโครงการลงทุนภาครัฐ
ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งทรงตัวอยู่ที่ 4.7-5% ธนาคารก็มีเป้าหมายที่จะดูแลให้ NPL อยู่ในระดับไม่เกิน 5% ในสิ้นปีนี้ จากสิ้นปี 2551 ที่ NPL อยู่ในระดับ 5.1% โดยธนาคารสนใจที่จะขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แต่ยอมรับว่าหาผู้สนใจซื้อยากในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวและมีความไม่แน่นอนสูง
ส่วนในปี 2553 ธนาคารคาดว่า เศรษฐกิจของไทยจะเติบโตประมาณ 3-4% แต่ธนาคารยังไม่ได้จัดทำแผนและเป้าหมายธุรกิจในปีหน้า ซึ่งโดยปกติการตั้งเป้าหมายสินเชื่อของธนาคารจะตั้งไว้สูงกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ประมาณ 1.5-2.0 เท่า
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวถึงธุรกิจสินเชื่อของธนาคารในปีนี้ โดยคาดว่า มีแนวโน้มที่จะเติบโตในระดับ 3% ซึ่งเป็นขั้นต่ำที่ได้วางเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 3-5% เนื่องจากในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้สินเชื่อยังอยู่ในภาวะติดลบ
นางกรรณิกา คาดหวังว่า ในช่วงที่เหลือของปีคือในไตรมาส 4 ปี 2552 สินเชื่อจะฟื้นตัวขึ้นได้มาก โดยเฉพาะสินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียนและสินเชื่อระยะสั้น รวมทั้งโครงการลงทุนภาครัฐ
ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งทรงตัวอยู่ที่ 4.7-5% ธนาคารก็มีเป้าหมายที่จะดูแลให้ NPL อยู่ในระดับไม่เกิน 5% ในสิ้นปีนี้ จากสิ้นปี 2551 ที่ NPL อยู่ในระดับ 5.1% โดยธนาคารสนใจที่จะขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แต่ยอมรับว่าหาผู้สนใจซื้อยากในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวและมีความไม่แน่นอนสูง
ส่วนในปี 2553 ธนาคารคาดว่า เศรษฐกิจของไทยจะเติบโตประมาณ 3-4% แต่ธนาคารยังไม่ได้จัดทำแผนและเป้าหมายธุรกิจในปีหน้า ซึ่งโดยปกติการตั้งเป้าหมายสินเชื่อของธนาคารจะตั้งไว้สูงกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ประมาณ 1.5-2.0 เท่า