พิษเศรษฐกิจพ่นธุรกิจร้านหนังสือภาษาอังกฤษ 2,000 ล้านบาท โตเพียง 10% หลังนักท่องเที่ยววูบไม่ต่ำกว่า 30% เอเชียบุ๊คส์ ปรับแผนระมัดระวังขยายสาขา-ใช้งบตลาด ลดความเสี่ยงลุยขยายร้านหนังสือเอเชียบุ๊คส์ เจาะกลุ่มคนไทย เปิดขายหนังสือออนไลน์ หวังสิ้นปีรักษารายได้ 1,000 ล้านบาท
นายภูเมธ มณูพิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียบุ๊คส์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านจำหน่ายหนังสือภาษาอังกฤษนำเข้า เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจร้านหนังสือภาษาอังกฤษ มูลค่า 2,000 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่าเติบโต 10% เมื่อเทียบกับช่วงภาวะเศรษฐกิจดี ตลาดมีอัตราการเติบโตมากกว่า 10% เนื่องจากปีนี้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก กระทบกลุ่มนักท่องเที่ยวลดลงไม่ต่ำกว่า 30% ทำให้ยอดขายธุรกิจร้านหนังสือภาษาอังกฤษหดตัวลง ซึ่งการเติบโตของร้านหนังสือภาษาอังกฤษมาจากคนไทยที่มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มหนังสือสำหรับเด็กอย่างไรก็ตาม คาดว่า สถานการณ์เริ่มฟื้นดีขึ้นในช่วงปลายปี เพราะเป็นช่วงไฮซีซันของธุรกิจ
สำหรับนโยบายการดำเนินธุรกิจในปีนี้และปีหน้า บริษัทเน้นการระมัดระวังทั้งการใช้งบการตลาด และการลงทุนขยายสาขา จากปกติขยาย 10 แห่งต่อปี มาเป็น 4-5แห่งต่อปี เช่น ปีนี้เปิดร้านเอเชียบุ๊คส์ ที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว และปลายปีนี้เปิดสาขาเพิ่มที่ภาคอีสาน ภายใต้การใช้งบ 5-10 ล้านบาท และบุ๊คกาซีน ที่ จ.เชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม บริษัทตั้งเป้า 5 ปี ขยายสาขาให้ครบ 100 แห่ง ในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก จากปัจจุบันมี 67 แห่ง โดยมุ่งเน้นขยายร้านหนังสือเอเชียบุ๊คส เป็นหลัก เนื่องจากวางตำแหน่งร้านหนังสือสำหรับครอบครัว เจาะกลุ่มเป้าหมายคนไทย แตกต่างจากร้านหนังสือบุ๊คกาซีน เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
แผนการตลาดของบริษัทในปีนี้ที่บริษัทโฟกัสร้านเอเชียบุ๊คส์ เนื่องจากปีนี้กลุ่มนักท่องเที่ยวสัดส่วน 40% ลดลง ขณะที่กลุ่มคนไทยสัดส่วน 60% มีการเติบโตมากขึ้น จากการที่พ่อแม่มีการศึกษาดีขึ้น และมีสถานการศึกษานานาชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กลุ่มหนังสือสำหรับเด็กโต 15% อย่างไรก็ตามผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้ความถี่ในการเข้าร้านลดลง แต่ยอดการซื้อต่อบิลไม่ได้ลดลง คือ ร้านเอเชียบุ๊คส์ 800 บาทต่อบิลต่อครั้ง และร้านบุ๊คกาซีน 400-500 บาทต่อบิลต่อครั้ง
ล่าสุดบริษัทได้เปิดบริการ “เวิล์ดไวด์ ออร์เดอร์ริ่ง เซอร์วิส” รับสั่งหนังสือทางออนไลน์ ซึ่งสามารถรองรับปริมาณหนังสือ 3 ล้านเล่ม จากปกติภายในร้านมีหนังสือจำหน่าย 1.5 ล้านเล่ม แม้ว่าพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ของคนไทยยังไม่มีมากนักก็ตาม พร้อมกันนี้ ได้ทุ่มงบ 20 ล้านบาท เปิดตัวแคมเปญ “บันทึกบทที่ 40 ของเอเชียบุ๊คส์” เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 40 ปี จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสะสมสแตมป์ เพื่อรับส่วนลด 40% จัดทำหนังสือเสียงภาษาอังกฤษให้กับโรงเรียนตาบอด และจัดประกวดเล่านิทานภาษาอังกฤษ
สำหรับผลประกอบการปีนี้ บริษัทตั้งเป้าไม่มีการเติบโต หรือมีรายได้ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูสถานการณ์ปลายปีนี้ หากสถานการณ์ท่องเที่ยวกลับฟื้นดีขึ้น นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวยังประเทศไทย แนวโน้มผลักดันให้ในช่วงปลายปีนี้มีการเติบโตไม่ถึง 20-30% จากปัจจุบันบริษัทเป็นผู้นำตลาดร้านหนังสือภาษาอังกฤษ ครองส่วนแบ่ง 50% จากการมีร้านหนังสือ 3 แบรนด์ ได้แก่ เอเชียบุ๊คส์ บุ๊คกาซีน และ บุ๊ค เอาท์เลท
นายภูเมธ มณูพิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียบุ๊คส์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านจำหน่ายหนังสือภาษาอังกฤษนำเข้า เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจร้านหนังสือภาษาอังกฤษ มูลค่า 2,000 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่าเติบโต 10% เมื่อเทียบกับช่วงภาวะเศรษฐกิจดี ตลาดมีอัตราการเติบโตมากกว่า 10% เนื่องจากปีนี้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก กระทบกลุ่มนักท่องเที่ยวลดลงไม่ต่ำกว่า 30% ทำให้ยอดขายธุรกิจร้านหนังสือภาษาอังกฤษหดตัวลง ซึ่งการเติบโตของร้านหนังสือภาษาอังกฤษมาจากคนไทยที่มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มหนังสือสำหรับเด็กอย่างไรก็ตาม คาดว่า สถานการณ์เริ่มฟื้นดีขึ้นในช่วงปลายปี เพราะเป็นช่วงไฮซีซันของธุรกิจ
สำหรับนโยบายการดำเนินธุรกิจในปีนี้และปีหน้า บริษัทเน้นการระมัดระวังทั้งการใช้งบการตลาด และการลงทุนขยายสาขา จากปกติขยาย 10 แห่งต่อปี มาเป็น 4-5แห่งต่อปี เช่น ปีนี้เปิดร้านเอเชียบุ๊คส์ ที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว และปลายปีนี้เปิดสาขาเพิ่มที่ภาคอีสาน ภายใต้การใช้งบ 5-10 ล้านบาท และบุ๊คกาซีน ที่ จ.เชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม บริษัทตั้งเป้า 5 ปี ขยายสาขาให้ครบ 100 แห่ง ในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก จากปัจจุบันมี 67 แห่ง โดยมุ่งเน้นขยายร้านหนังสือเอเชียบุ๊คส เป็นหลัก เนื่องจากวางตำแหน่งร้านหนังสือสำหรับครอบครัว เจาะกลุ่มเป้าหมายคนไทย แตกต่างจากร้านหนังสือบุ๊คกาซีน เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
แผนการตลาดของบริษัทในปีนี้ที่บริษัทโฟกัสร้านเอเชียบุ๊คส์ เนื่องจากปีนี้กลุ่มนักท่องเที่ยวสัดส่วน 40% ลดลง ขณะที่กลุ่มคนไทยสัดส่วน 60% มีการเติบโตมากขึ้น จากการที่พ่อแม่มีการศึกษาดีขึ้น และมีสถานการศึกษานานาชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กลุ่มหนังสือสำหรับเด็กโต 15% อย่างไรก็ตามผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้ความถี่ในการเข้าร้านลดลง แต่ยอดการซื้อต่อบิลไม่ได้ลดลง คือ ร้านเอเชียบุ๊คส์ 800 บาทต่อบิลต่อครั้ง และร้านบุ๊คกาซีน 400-500 บาทต่อบิลต่อครั้ง
ล่าสุดบริษัทได้เปิดบริการ “เวิล์ดไวด์ ออร์เดอร์ริ่ง เซอร์วิส” รับสั่งหนังสือทางออนไลน์ ซึ่งสามารถรองรับปริมาณหนังสือ 3 ล้านเล่ม จากปกติภายในร้านมีหนังสือจำหน่าย 1.5 ล้านเล่ม แม้ว่าพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ของคนไทยยังไม่มีมากนักก็ตาม พร้อมกันนี้ ได้ทุ่มงบ 20 ล้านบาท เปิดตัวแคมเปญ “บันทึกบทที่ 40 ของเอเชียบุ๊คส์” เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 40 ปี จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสะสมสแตมป์ เพื่อรับส่วนลด 40% จัดทำหนังสือเสียงภาษาอังกฤษให้กับโรงเรียนตาบอด และจัดประกวดเล่านิทานภาษาอังกฤษ
สำหรับผลประกอบการปีนี้ บริษัทตั้งเป้าไม่มีการเติบโต หรือมีรายได้ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูสถานการณ์ปลายปีนี้ หากสถานการณ์ท่องเที่ยวกลับฟื้นดีขึ้น นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวยังประเทศไทย แนวโน้มผลักดันให้ในช่วงปลายปีนี้มีการเติบโตไม่ถึง 20-30% จากปัจจุบันบริษัทเป็นผู้นำตลาดร้านหนังสือภาษาอังกฤษ ครองส่วนแบ่ง 50% จากการมีร้านหนังสือ 3 แบรนด์ ได้แก่ เอเชียบุ๊คส์ บุ๊คกาซีน และ บุ๊ค เอาท์เลท