“ออลเทอร์” โอด แอร์อุตสาหกรรมของต่างประเทศตีตลาดเมืองไทย อาศัยต้นทุนต่ำภาษีน้อย กวาดลูกค้า
นายสรศักดิ์ วงศ์ชินศรีสกุล กรรมการผู้บริหาร บริษัท ออลเทอร์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศแอร์อุตสาหกรรมออลเทอร์ ของไทย กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดแอร์อุตสาหกรรมในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 200-300 ล้านบาท โดยในปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้รวมประมาณ 30 ล้านบาท และในปี 2552 ครึ่งปีแรกทีผ่านมานี้ (เดือนมกราคม-มิถุนายน 52) มีรายได้รวมประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งตลอดทั้งปี 2552 คาดว่าจะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10 ล้านบาท
ทั้งนี้ผู้นำตลาดแอร์อุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเป็นสินค้าที่ผลิตมาจากประเทศเยอรมัน และญี่ปุ่น เพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ของที่นำเข้าจากต่างประเทศ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Electronic ในเมืองไทยส่วนใหญ่ก็เป็นของชาวญี่ปุ่น ซึ่งนิยมที่จะใช้ของที่ผลิตจากชาวญี่ปุ่นด้วยกันเอง นอกจากนี้ลูกค้าในกลุ่มโรงพยาบาลที่เติบโตมากขึ้น ตามมาด้วยโรงงานประกอบหรือผลิตอาหารต่างๆ ที่ ต้องมีระบบการฟอกอากาศปลอดเชื้อโรค ทำให้ตลาดรวมเติบโตด้วย
“ตลาดของแอร์อุตสาหกรรมเป็นลักษณะเฉพาะ กลุ่มเป้าหมายค่อนข้างเล็ก ต้องทำการตลาดแบบ Direct เข้าถึงลูกค้าโดยตรง ซึ่งแบรนด์ของคนไทยค่อนข้างจะเสียเปรียบ เพราะมีปัญหาหลายอย่าง อาทิ เจ้าของกิจการที่เป็นคนไทยส่วนใหญ่ มักคิดว่าเครื่องปรับอากาศที่มาจากต่างประเทศทั้งเยอรมันและญี่ปุ่นจะมีคุณภาพดีกว่าของไทย, ราคาของสินค้าที่ใกล้เคียงกันกับแอร์อุตสาหกรรมที่มาจากต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนทางด้านภาษีของคนไทยจะสูงกว่า และยังมีเรื่องข้อตกลงจาก WTO ในการเสียภาษีของแอร์อุตสาหกรรมแค่ 1 ไม่เกิน 5% ทำให้เขามีต้นทุนน้อยกว่าเรา และยังมีปัญหาความเข้าใจผิดในเรื่องการใช้เครื่องปรับอากาศที่ผิดทั้งประเภทและมาตรฐาน โดยส่วนใหญ่มักนำแอร์ที่ติดตั้งตามบ้านมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น”
สำหรับลูกค้าของบริษัทฯที่ผ่านมาเช่น การผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในห้องปฎิบัติการเคลื่อนที่ Mobile Lab ในภาคอีสาน จากสถานการณ์การระบาดเชื้อไข้หวัดนก, การผลิตเครื่องปรับอากาศให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน อาทิ สถาบันบำราษฎร์นราดูร, โรงพยาลบาลศิริราช, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และบริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ ไทย จำกัด เป็นต้น
นายสรศักดิ์ วงศ์ชินศรีสกุล กรรมการผู้บริหาร บริษัท ออลเทอร์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศแอร์อุตสาหกรรมออลเทอร์ ของไทย กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดแอร์อุตสาหกรรมในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 200-300 ล้านบาท โดยในปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้รวมประมาณ 30 ล้านบาท และในปี 2552 ครึ่งปีแรกทีผ่านมานี้ (เดือนมกราคม-มิถุนายน 52) มีรายได้รวมประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งตลอดทั้งปี 2552 คาดว่าจะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10 ล้านบาท
ทั้งนี้ผู้นำตลาดแอร์อุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเป็นสินค้าที่ผลิตมาจากประเทศเยอรมัน และญี่ปุ่น เพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ของที่นำเข้าจากต่างประเทศ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Electronic ในเมืองไทยส่วนใหญ่ก็เป็นของชาวญี่ปุ่น ซึ่งนิยมที่จะใช้ของที่ผลิตจากชาวญี่ปุ่นด้วยกันเอง นอกจากนี้ลูกค้าในกลุ่มโรงพยาบาลที่เติบโตมากขึ้น ตามมาด้วยโรงงานประกอบหรือผลิตอาหารต่างๆ ที่ ต้องมีระบบการฟอกอากาศปลอดเชื้อโรค ทำให้ตลาดรวมเติบโตด้วย
“ตลาดของแอร์อุตสาหกรรมเป็นลักษณะเฉพาะ กลุ่มเป้าหมายค่อนข้างเล็ก ต้องทำการตลาดแบบ Direct เข้าถึงลูกค้าโดยตรง ซึ่งแบรนด์ของคนไทยค่อนข้างจะเสียเปรียบ เพราะมีปัญหาหลายอย่าง อาทิ เจ้าของกิจการที่เป็นคนไทยส่วนใหญ่ มักคิดว่าเครื่องปรับอากาศที่มาจากต่างประเทศทั้งเยอรมันและญี่ปุ่นจะมีคุณภาพดีกว่าของไทย, ราคาของสินค้าที่ใกล้เคียงกันกับแอร์อุตสาหกรรมที่มาจากต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนทางด้านภาษีของคนไทยจะสูงกว่า และยังมีเรื่องข้อตกลงจาก WTO ในการเสียภาษีของแอร์อุตสาหกรรมแค่ 1 ไม่เกิน 5% ทำให้เขามีต้นทุนน้อยกว่าเรา และยังมีปัญหาความเข้าใจผิดในเรื่องการใช้เครื่องปรับอากาศที่ผิดทั้งประเภทและมาตรฐาน โดยส่วนใหญ่มักนำแอร์ที่ติดตั้งตามบ้านมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น”
สำหรับลูกค้าของบริษัทฯที่ผ่านมาเช่น การผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในห้องปฎิบัติการเคลื่อนที่ Mobile Lab ในภาคอีสาน จากสถานการณ์การระบาดเชื้อไข้หวัดนก, การผลิตเครื่องปรับอากาศให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน อาทิ สถาบันบำราษฎร์นราดูร, โรงพยาลบาลศิริราช, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และบริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ ไทย จำกัด เป็นต้น