รีแบรนดิ้งมิสเตอร์บันครั้งใหญ่ หลังศิษย์เก่ายัมผนึกโรตีบอยเทกโอเวอร์ ปรับใหม่ 5 ปัจจัยหลัก หลังหมดยุคเม็กซิกันบันฟีเวอร์ อัดงบ 200 กว่าล้านบาท ปูพรม 230 แห่ง ยอดขาย 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2554
นายอนุสรณ์ ตันยากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัน จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านเบเกอรี่ขนมปังอบ “มิสเตอร์บัน” เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเองได้ร่วมกับ นายฮีโร ตัน เจ้าของโรตีบอยในมาเลเซีย และพาร์ทเนอร์อื่นอีกราย เข้าซื้อกิจการมิสเตอร์บันในไทยจากเจ้าของเดิมที่เป็นชาวต่างชาติเมื่อประมาณปี 2550 ซึ่งได้ทำกิจการมาประมาณ 4 ปี และบริษัทได้ทำการปรับใหม่หมดด้วยการรีแบรนด์ มิสเตอร์บันเพื่อหวังยกระดับให้เป็นแบรนด์ระดับโลก ใน 5 ประเด็นหลัก คือ 1.โลโก้ให้สดใสขึ้น 2.รูปแบบร้านและการบริการ ให้ลูกค้าเลือกสินค้าได้เอง 3.พัฒนาสินค้าต่อเนื่อง ซึ่งได้ออกเมนูใหม่มาแล้ว 25 รายการ 4.ลงทุน 10 ล้านบาท พัฒนาศูนย์ผลิตสินค้า และ 5.การขยายสาขาต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ 360 องศา
“ตลาดเม็กซิกันบัน เป็นกระแสฮอตฮิตในไทยเมื่อช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบหลายรายกระโดดลงมาเล่นในตลาดนี้ แต่ก็ค่อยๆ หายไป ส่วนโรตีบอยที่เปิดขายก่อนมิสเตอร์บันก็หยุดไปและได้มาร่วมกับเราเทกโอเวอร์มิสเตอร์บันด้วย ซึ่เรามองเห็นว่า มิสเตอร์บันยังมีเสน่ห์ที่ยังสามารถสร้างการเติบโตได้อีก แต่ต้องมีการปรับใหม่ โดยเฉพาะเรื่องของอาหาร
เพื่อให้เข้ากับตลาดคนไทย ที่สำคัญคือ รสชาติ และความหลากหลลย เพราะว่าส่วนใหญ่มีเพียงเมนูเดียวเป็นหลัก คือ เม็กซิกันบัน เราต้องเพิ่มเมนู เช่น มีบันวิช และตั้งแต่ที่เราปรับเปลี่ยนมาทำให้มียอดลูกค้าเข้าร้านเพิ่ม 94% และการใช้จ่ายต่อบิลสูงขึ้น 65%”
บริษัทวางเป้าหมายจะมีสาขา 230 แห่งภายในปี 2554 ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 200 ล้านบาท จากปัจจุบัน 54 สาขา และตั้งแต่พฤษภาคมปี 2551 ถึงขณะนี้เปิดสาขาใหม่แล้ว 32 แห่ง ครึ่งปีหลังนี้จะเปิดอีก 21 แห่ง งบลงทุนกว่า 20 ล้านบาท จะทำให้สิ้นปีนี้มีสาขารวม 75 แห่ง แต่เป็นการลดเป้าลงจากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 95 สาขา เพราะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี
รูปแบบของร้านมี 3 แบบ คือ 1.เอ็กซ์เพรส พื้นที่ 6 ตารางเมตร ลงทุน 6 แสนบาท สัดส่วนร้านแบบนี้ประมาณ 30% 2.แบบเอ็กไซส์ พื้นที่ 25 ตารางเมตร ลงทุน 1 ล้านบาท สัดส่วน 60% และ 3.แบบเอ็กซ์ตรีม พื้นที่ 40 ตารางเมตรขึ้นไป ลงทุน 1.5 ล้านบาท สัดส่วน 10% ซึ่งจะเป็นร้านที่มีที่นั่งทานด้วย ซึ่งปลายปีนี้จะเปิดที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า โดยขณะนี้บริษัทมีแฟรนไชส์ 10 สาขาของเดิม และอยู่ระหว่างการศึกษาความพร้อมใหม่ ก่อนที่จะเปิดขายแฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบในปลายปีหน้า และจะขายแฟรนไชสไปต่างประเทศด้วย
ส่วนเป้าหมายยอดขายนั้น คาดว่า จะมีถึง 1,000 ล้านบาทในปี 2554 จากปีที่แล้วมียอดขาย 150 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะเติบโตกว่า 200% เพราะขยายสาขาเพิ่มและมีเมนูใหม่ออกมาต่อเนื่องเฉลี่ย 21 ชนิดต่อปี เพื้อกระตุ้นการซื้อ ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณลูกค้า 350,000 ทรานแซคชั่นต่อเดือนทุกสาขารวมกัน ยอดซื้อต่อบิล 50 บาท เพราะสินค้าราคไม่แพง เริ่มต้นที่ 5 บาทต่อชิ้น เนื่องจากต้นทุนต่ำเป็นของคนไทยไม่ต้องเสียค่ารอยัลตี้ ค่าแฟรนไชส์ โดยสัดส่วนยอดขายจาก เม็กซิกันบัน 25%, สติ๊กดั้งเดิม 25%, เบโคริง 15%, สินค้าใหม่ 15% เฟรนช์สตีก 1% ที่เหลืออื่นๆ รวมกัน แต่ถ้าแยกเป็นประเภท คือ ประเภทมีล 40%, ประเภพสแน็ค 30% และประเภท ของหวาน 30% ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาเคร่องดื่มของบริษัทเองด้วย
สำหรับแผนงานปีหน้า บริษัทจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตอีกเป้น 15 ล้านชิ้นต่อเดือน จากเดิม 2 ล้านชิ้นต่อเดือน และเตรียมลงทุนสร้างครัวกลาง 4 แห่งในแต่ละภูมิภาคเพื่อรองรับการขยายตัว งบลงทุนเฉลี่ย 5-10 ล้านบาทต่อจุด เพราะเริ่มขยายสาขาออกต่างจังหวัดด้วย จากขณะนี้ที่มีใน 9 จังหวัดแล้ว
สำหรับ นายอนุสรณ์ นี้ มีประสบการณ์ช่ำชองบริหารธุรกิจอาหารอย่างมาก ตั้งแต่ ที่พิซซ่าฮัทอเมริกา ฮาร์ดร็อกคาเฟ่กรุงเทพฯ เคเอฟซีของกลุ่มเซ็นทรัล เอ็มเคสุกี้ และล่าสุด คือ บริหารเคเอฟซีและพิซซ่าฮัทของยัม
นายอนุสรณ์ ตันยากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัน จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านเบเกอรี่ขนมปังอบ “มิสเตอร์บัน” เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเองได้ร่วมกับ นายฮีโร ตัน เจ้าของโรตีบอยในมาเลเซีย และพาร์ทเนอร์อื่นอีกราย เข้าซื้อกิจการมิสเตอร์บันในไทยจากเจ้าของเดิมที่เป็นชาวต่างชาติเมื่อประมาณปี 2550 ซึ่งได้ทำกิจการมาประมาณ 4 ปี และบริษัทได้ทำการปรับใหม่หมดด้วยการรีแบรนด์ มิสเตอร์บันเพื่อหวังยกระดับให้เป็นแบรนด์ระดับโลก ใน 5 ประเด็นหลัก คือ 1.โลโก้ให้สดใสขึ้น 2.รูปแบบร้านและการบริการ ให้ลูกค้าเลือกสินค้าได้เอง 3.พัฒนาสินค้าต่อเนื่อง ซึ่งได้ออกเมนูใหม่มาแล้ว 25 รายการ 4.ลงทุน 10 ล้านบาท พัฒนาศูนย์ผลิตสินค้า และ 5.การขยายสาขาต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ 360 องศา
“ตลาดเม็กซิกันบัน เป็นกระแสฮอตฮิตในไทยเมื่อช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบหลายรายกระโดดลงมาเล่นในตลาดนี้ แต่ก็ค่อยๆ หายไป ส่วนโรตีบอยที่เปิดขายก่อนมิสเตอร์บันก็หยุดไปและได้มาร่วมกับเราเทกโอเวอร์มิสเตอร์บันด้วย ซึ่เรามองเห็นว่า มิสเตอร์บันยังมีเสน่ห์ที่ยังสามารถสร้างการเติบโตได้อีก แต่ต้องมีการปรับใหม่ โดยเฉพาะเรื่องของอาหาร
เพื่อให้เข้ากับตลาดคนไทย ที่สำคัญคือ รสชาติ และความหลากหลลย เพราะว่าส่วนใหญ่มีเพียงเมนูเดียวเป็นหลัก คือ เม็กซิกันบัน เราต้องเพิ่มเมนู เช่น มีบันวิช และตั้งแต่ที่เราปรับเปลี่ยนมาทำให้มียอดลูกค้าเข้าร้านเพิ่ม 94% และการใช้จ่ายต่อบิลสูงขึ้น 65%”
บริษัทวางเป้าหมายจะมีสาขา 230 แห่งภายในปี 2554 ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 200 ล้านบาท จากปัจจุบัน 54 สาขา และตั้งแต่พฤษภาคมปี 2551 ถึงขณะนี้เปิดสาขาใหม่แล้ว 32 แห่ง ครึ่งปีหลังนี้จะเปิดอีก 21 แห่ง งบลงทุนกว่า 20 ล้านบาท จะทำให้สิ้นปีนี้มีสาขารวม 75 แห่ง แต่เป็นการลดเป้าลงจากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 95 สาขา เพราะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี
รูปแบบของร้านมี 3 แบบ คือ 1.เอ็กซ์เพรส พื้นที่ 6 ตารางเมตร ลงทุน 6 แสนบาท สัดส่วนร้านแบบนี้ประมาณ 30% 2.แบบเอ็กไซส์ พื้นที่ 25 ตารางเมตร ลงทุน 1 ล้านบาท สัดส่วน 60% และ 3.แบบเอ็กซ์ตรีม พื้นที่ 40 ตารางเมตรขึ้นไป ลงทุน 1.5 ล้านบาท สัดส่วน 10% ซึ่งจะเป็นร้านที่มีที่นั่งทานด้วย ซึ่งปลายปีนี้จะเปิดที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า โดยขณะนี้บริษัทมีแฟรนไชส์ 10 สาขาของเดิม และอยู่ระหว่างการศึกษาความพร้อมใหม่ ก่อนที่จะเปิดขายแฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบในปลายปีหน้า และจะขายแฟรนไชสไปต่างประเทศด้วย
ส่วนเป้าหมายยอดขายนั้น คาดว่า จะมีถึง 1,000 ล้านบาทในปี 2554 จากปีที่แล้วมียอดขาย 150 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะเติบโตกว่า 200% เพราะขยายสาขาเพิ่มและมีเมนูใหม่ออกมาต่อเนื่องเฉลี่ย 21 ชนิดต่อปี เพื้อกระตุ้นการซื้อ ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณลูกค้า 350,000 ทรานแซคชั่นต่อเดือนทุกสาขารวมกัน ยอดซื้อต่อบิล 50 บาท เพราะสินค้าราคไม่แพง เริ่มต้นที่ 5 บาทต่อชิ้น เนื่องจากต้นทุนต่ำเป็นของคนไทยไม่ต้องเสียค่ารอยัลตี้ ค่าแฟรนไชส์ โดยสัดส่วนยอดขายจาก เม็กซิกันบัน 25%, สติ๊กดั้งเดิม 25%, เบโคริง 15%, สินค้าใหม่ 15% เฟรนช์สตีก 1% ที่เหลืออื่นๆ รวมกัน แต่ถ้าแยกเป็นประเภท คือ ประเภทมีล 40%, ประเภพสแน็ค 30% และประเภท ของหวาน 30% ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาเคร่องดื่มของบริษัทเองด้วย
สำหรับแผนงานปีหน้า บริษัทจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตอีกเป้น 15 ล้านชิ้นต่อเดือน จากเดิม 2 ล้านชิ้นต่อเดือน และเตรียมลงทุนสร้างครัวกลาง 4 แห่งในแต่ละภูมิภาคเพื่อรองรับการขยายตัว งบลงทุนเฉลี่ย 5-10 ล้านบาทต่อจุด เพราะเริ่มขยายสาขาออกต่างจังหวัดด้วย จากขณะนี้ที่มีใน 9 จังหวัดแล้ว
สำหรับ นายอนุสรณ์ นี้ มีประสบการณ์ช่ำชองบริหารธุรกิจอาหารอย่างมาก ตั้งแต่ ที่พิซซ่าฮัทอเมริกา ฮาร์ดร็อกคาเฟ่กรุงเทพฯ เคเอฟซีของกลุ่มเซ็นทรัล เอ็มเคสุกี้ และล่าสุด คือ บริหารเคเอฟซีและพิซซ่าฮัทของยัม